สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินอุบลบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้
วิรัช สุขสราญ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินอุบลบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้
ชื่อเรื่อง (EN): Response of Panicum maximum TD.58 to Nitrogen and Phosphorus Fertilizers on Ubon Soil Series in Thung Kula Ronghai*
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิรัช สุขสราญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการตอบสนองต่อปุ้ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของหญ้ากินนีสีม่วง (Panicum maximum TD. 58) ในดินทรายชุดอุบล บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือน เมษายน 2537 ถึงเดือนธันวาคม 2539 โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 x 4 Factorial in randomized complete block มี 4 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 ประกอบด้วยอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ คือ 0 20 40 และ 60 กิโลกรัม N ต่อไร่ต่อปี ส่วนปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วยอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัส 4 ระดับ คือ 0 10 20 และ 30 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่ต่อปี ผลการทดลองปรากฏว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 20 40 และ 60 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งของหญ้ากินนีสีม่วง 2,281.4 2.325.5 และ 2,193.2 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ สูงกว่าหญ้าที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งให้ผลผลิต 1,948.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราเพิ่มขึ้นจาก 0 กิโลกรัม P2O5 เป็น 10 และ 20 กิโลกรัม P2O5 ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นจาก 1,905.5 กิโลกรัม เป็น 2,209.7 และ 2,360.0 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะลดลงถ้าใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราสูงกว่านี้ อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 40 กิโลกรัม N ต่อไร่ และปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 20 กิโลกรัม P2O5 มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนมากที่สุด การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราเพิ่มขึ้นจาก 0 กิโลกรัม J ต่อไร่ เป็น 20 40 และ 60 กิโลกรัม N ต่อไร่ต่อปี ทำให้โปรตีนในหญ้าเพิ่มขึ้นจาก 84 เปอร์เซต์ เป็น 90 10.4 และ 113 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ แต่เปอร์เซนต์ NDS NDF ADF ฟอสฟอรัส และแคลเซียมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราเพิ่มขึ้นไม่ทำให้เปอร์เซนต์โปรตีน และเยื่อใยต่าง ๆ ในพืชเปลี่ยนแปลง แต่เปอร์เซนต์ฟอสฟอรัสและแคลเซียมในพืชเพิ่มขึ้นตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): This study was conducted to investigate the response of Purple guinea (Panicum maximum T'D. 58) to nitrogen and phosphorus fertilizers on Ubon soil series at Tung Kula Ronghai area, Roi-Et province, during April 1994 to December 1996. The experimental design was 4 x 4 factorial in randomized complete block with 4 replications. Factor A consisted of 4 nitrogen fertilizer rates viz 0, 20, 40 and 60 kg./rai/year and factor B was 4 phosphorus fertilizer rates viz 0, 10, 20 and 30 kg P2O5/rai/year. The result of this experiment indicated that dry mather yield (average 2 years) of Purple guinea grass that were applied 20 40 and 60 kg N/rai were 2,281.4, 2,325.5 and 2,193.2 kg/rai, respectively and each yield was higher than the yield of non-nitrogen application (1,948.1 kg/rai/year). Average dry matter yield were increased from 1,905.5 to 2,209.7 and 2,360.0 kg/rai by increasing phosphorus fertilizers from 0 to 10 and 20 kg P2O5/rai respectively and the yield tended to decline when the higher phosphorus rate was applied. However, the higher net profit tended to be obtained from application of 40 kg N/rai and 20 kg P2O5/rai/year. For forage nutritive value, the increasing of nitrogen fertilizer rates application from 0 to 20, 40 and 60 kg N/rai had affected forage protein percentage which increased from 8.4 to 9.0, 10.4 and 11.3 respectively, but there was no changes in NDS, NDF, ADF, phosphorus and calcium percentage. The increased phosphorus fertilizer rate had not affected the protein and fibers content except phosphorus and calcium.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2540
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2540
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/LIBRARY/LIBRARY3_2540.htm
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินอุบลบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้
กองอาหารสัตว์
2540
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดหญ้ากินนีสีม่วง(3) อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดหญ็กินนีสีม่วง โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่มีต่อผลผลิตหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินหุบกะพง อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตหญ้าซิกแนลนอนในชุดดินปากช่อง อิทธิพลของปุ๋ยคอกและปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินหุบกะพง อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจน และระยะปลูกต่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วงในดินชุดหุบกระพง ความถี่ของการตัดและอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วง คุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วง อัตราปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้า Paspalum atratum ของชุดดินเรณู ในพื้นที่จังหวัดลําปาง การสนองตอบต่อปุ๋ยบางชนิดของพืชอาหารสัตว์ 7 ชนิด ในดินชุดบ้านทอน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก