สืบค้นงานวิจัย
แนวทางพัฒนายางพาราไทย
สมพร กฤษณะทรัพย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: แนวทางพัฒนายางพาราไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Development Approaches for the Thai Rubber Industry
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมพร กฤษณะทรัพย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญอาจ กฤษณะทรัพย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อทราบสภาพการผลิตยางในประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติที่สำคัญ ๆ รูปแบบชั้นยางที่ส่งออก แนวโน้มของการส่งออก และความนิยมของประเทศผู้ใช้ยางที่มีต่อยางรูปแบบและชั้นต่าง ๆ ในรายงานนี้ได้ชี้ให้เห็นจุดเด่นของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ยังคงยึดมั่นอยู่ในการผลิตและส่งออกยางแผ่นรมควันรูปแบบเดิมออกขายแข่งกับยางแท่งสมัยใหม่ ซึ่งอินโดนีเซีย และมาเลเซียผลิตออกขายมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เน้นถึงข้อได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพของยางแผ่นรมควันชั้นสามที่เหนือกว่ายางแท่งชั้น 20 ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ ๆ ของโลก แต่อย่างไรก็ตามมีสิ่งชี้ให้เห็นว่ายางแผ่นรมควันชั้นหนึ่ง ชั้นสอง กำลังลดความสำคัญลงมาเรื่อย ๆ เพราะผู้ใช้ได้หันไปให้ความนิยมยางแท่งชั้น CV ยางแท่งชั้น 5L, L และชั้น 10 ทดแทนมากขึ้น ส่วนยางแผ่นรมควันชั้นสี่และห้านั้น ถึงแม้ว่าจะยังคงเป็นที่ต้องการของประเทศจีน ญี่ปุ่น และอุตสาหกรรมที่ใช้ยางคุณภาพต่ำก็ตาม ประเทศไทยก็ไม่ควรผลิตเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีทางเลือกซื้อยางราคาต่ำได้ อันจะส่งผลให้ยางชั้นดีและคุณภาพสูงกว่าขายยากยิ่งขึ้น ในรายงานได้เสนอว่าควรจะได้เริ่มเบนทิศทางการผลิตยางคุณภาพปัจจุบันไปเป็นยางใส่สารเคมีปรุงแต่งคุณภาพ เพื่อตรึงการเปลี่ยนแปลงความหนืด เติมสารและเพิ่มกระบวนการแปรรูปให้เป็นยางวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอุตสาหกรรมสูงกว่าเดิมมากชนิดขึ้น ให้ได้ยางที่อยู่ในรูปกึ่งผลิตภัณฑ์พร้อมใช้มากขึ้นเพื่อที่จะให้มูลค่ายางส่งออกสูงขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
แนวทางพัฒนายางพาราไทย
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาแนวทางพัฒนาระบบการส่งออกยางพารา ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา การศึกษาวิจัยแนวทางการพัฒนายางพาราจังหวัดกาฬสินธุ์ การพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกยางพารา การวิจัยและพัฒนาหุ่นจำลองยางพาราเชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก