สืบค้นงานวิจัย
คุณภาพข้าวปทุมธานี 1 เมื่อเก็บรักษาในสภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร
กัญญา เชื้อพันธุ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: คุณภาพข้าวปทุมธานี 1 เมื่อเก็บรักษาในสภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร
ชื่อเรื่อง (EN): Quality of Pathumthani 1 in paddy and milled rice storage
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัญญา เชื้อพันธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kunya Cheaupun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาคุณภาพข้าวปทุมธานี 1 เมื่อเก็บรักษาในสภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร ดำเนินการที่ศูนย์ วิจัยข้าวปทุมธานี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2548-กุมภาพันธ์ 2549 โดยการกองข้าวเปลือกขนาด 600 กก.บนพื้นซีเมนต์ ส่วนข้าวสารเก็บในถุงพลาสติกสาน ขนาด 1 ตัน เก็บรักษาในสภาพ อุณหภูมิห้อง บันทึกการเข้าทำลายของแมลง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความชื้น ข้าว คุณภาพการสี ความขาวข้าวสาร สีข้าวสาร ปริมาณข้าวเหลือง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี ได้แก่ ค่าความเป็นกรดของไขมัน พบว่าในข้าวเปลือก เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้น การ เปลี่ยนแปลงความชื้น คุณภาพการสี และสีของข้าวสาร สอดคล้องกับการเข้าทำลายของแมลง โดย ความชื้นของข้าวเปลือกมีแนวโน้มลดลง ข้าวสารมีสีคล้ำขึ้น (โดยค่าความขาว ลดลง ค่า a และค่า b เพิ่มขึ้น) ค่าความเป็นกรดของไขมันทั้งในข้าวกล้อง และข้าวสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พบข้าวเหลืองใน เดือนที่ 9 ของการเก็บรักษา ส่วนการเข้าทำลายของแมลง พบมอดข้าวเปลือก (Rhyzopertha dominica) ด้วงงวง (Sitophillus spp.) และผีเสื้อข้าวเปลือก (Sitrotoga cerealella) เข้าทำลาย ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา เป็นสาเหตุให้เกิดแมลงเข้าทำลายในระยะที่ 2 (secondary insect) ได้แก่ มอดสยาม (Lophocateres pusillus) มอดฟันเลื่อย (Oryzaephilus surinamensis) มอดหนวดยาว (Cryptolestes spp.) และ มอดแป้ง (Tribolium castaneum) ในข้าวสารก็เช่น เดียวกัน เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้น ความชื้นของข้าวสารเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ข้าวสารมีสี คล้ำขึ้น (โดยค่าความขาวลดลง ค่า a และค่า b เพิ่มขึ้น) ค่าความเป็นกรดของไขมันในข้าวสารมี แนวโน้มเพิ่มขึ้น เริ่มพบข้าวเหลืองในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา ส่วนการเข้าทำลายของแมลง พบ มอดฟันเลื่อย มอดแป้ง และมอดหนวดยาว ซึ่งเป็น secondary insect เข้าทำลายตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา
บทคัดย่อ (EN): Quality of Pathumthani1 in paddy and milled rice storage was conducted at Pathumthani Rice Research Center during February 2005-February 2006. At ambient temperature, the 600 kg. of paddy on cement floor and 1 ton of milled rice in plastic bag were investigated. The result shown that, moisture content and milling quality are fluctuated depend on stored insect infestation. The milled rice color, a and b value, was increased, thus whiteness of milled rice decreased. The fat acidity was increased during 12 months. The stored insect are Rhyzopertha dominica, Sitophillus spp., Sitrotoga cerealella, Lophocateres pusillus, Oryzaephilus surinamensis, Cryptolestes spp. and Tribolium castaneum.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155750
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 8 ill.
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
คุณภาพข้าวปทุมธานี 1 เมื่อเก็บรักษาในสภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเก็บรักษาข้าวสารและข้าวกล้องระยะยาว การใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อการเก็บรักษาข้าวสาร แนวทางปรับปรุงการตรวจวัดคุณภาพเพื่อการรับซื้อข้าวเปลือก คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 การใช้สารรมฟอสฟีนเพื่อการเก็บรักษาข้าวระยะยาว แนวทางปรับปรุงการตรวจวัดคุณภาพเพื่อการรับซื้อข้าวเปลือก การเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดเมื่อเก็บในลักษณะข้าวกล้องและข้าวสาร การศึกษารอยเท้าน้ำของข้าวใน 3 จังหวัด ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก