สืบค้นงานวิจัย
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียเศษเปลือกมะม่วงสุกจากโรงงานอุตสาหกรรม
ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียเศษเปลือกมะม่วงสุกจากโรงงานอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่อง (EN): Composting of industrial ripen mango peel waste
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนผสมเหมาะสมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ระหว่างเปลือก มะม่วงสุกของโรงงานบริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ กับเศษใบไม้ และมูลโค ด้วย ระบบกองเติมอากาศขนาดกองละ 3 ตันมีความยาวกอง 11 เมตร แต่เนื่องจากผู้วิจัยได้มีการพัฒนาต่อยอดระบบ กองเติมอากาศมาเป็นวิธีวิศวกรรมแมโจ้ 1 ที่ไม่จำเป็นต้องอัดอากาศเข้ากองปุ๋ยอีกต่อไป โดยอาศัยหลักการของ การพาความร้อนทำให้มีการไหลเวียนของอากาศเข้าไปในกองปุ๋ยตามธรรมชาติ จึงได้ปรับการทดลองแบ่ง ออกเป็น 9 ตำรับที่แปรผันสัดส่วนผสมระหว่างเศษเปลือกมะม่วงสุก เศษใบไม้ และมูลโคโดยปริมาตร คือ A1 1:0:1. A2 2:0:1. A3 3:0:1, B1 1:1:1, B2 2::1, B3 3:1:1, C1 1:2:1 C2 2:2:1 และ C3 3:2:1 ตามลำดับ ขนาด ของกองปุ๋ยแต่ละกองคือ 2.5 x 1.5 x 4.0 เมตร (กว้าง x สูง x ยาว) ผลการทดลองพบว่า การย่อยสลายใช้เวลา ในกระบวนการประมาณ 60 วัน ตำรับ C8 2:2:1 มีการย่อยสลายที่ดีที่สุด มีค่ความเป็นกรดด่าง 6.90 ค่าการนำ ไฟฟ้า 2.67 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ด่าอินทรีย์วัตถุร้อยละ 40.16 มีค่า N ร้อยละ 2.47 P.0, ร้อยละ 0.94 และ K.O ร้อยละ 1.14 และมีค่า N P.0s และ K:0 รวมกันมีค่ร้อยละ 4.55 มีค่าการย่อยสลายสมบูรณ์ร้อยละ 120 โดย ค่าคุณภาพของตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์จากทุกตำรับมีคำผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ จำนวนจุสินทรีย์ ทั้งหมดของตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์มีค่าอยู่ในช่วง 10 - 10 โคโลนีต่อกรัม จำนวนยีสต์และราอยู่ในช่วง 105 - 10 โคโลนีต่อกรัม และจำนวนแอคติโนมัยชีสอยู่ในช่วง 10 5 - 10 8 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างอันเนื่องมาจาก อัตราส่วนผสมระหว่างเศษเปลือกมะม่วงสุก ใบไม้ กับมูลโค ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้คือ ควรมีการศึกษา เพิ่มเติมถึงการใช้ประโยชน์จากแกนมะม่วงที่ยังไม่ถูกย่อยสลาย
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study at first was to study the suitable ratio in composting between ripen mango peel from Lanna Agro Industry co. Ltd., Chiangmai province, leaves and cow manure by Aerated Static Pile (ASP) System. The size of the 3 metric ton compost pile was 11 meter in length. But since the Author has developed the ASP system to Maejo Engineering 1 method which needs no forcing air into the piles but rely only on the naturally passive aeration from the effect of Chimney Convection so the study was divided into 9 treatments by varied the ratio between ripen mango peel, leaves and cow manure as A1 1:0:1, A2 2:0:1. A3 3:0:1, B1 1:1:1, B2 2:1:1, B3 3:1:1, C1 1:2:1, C2 2:2:1 and C3 3:2:1 by volume, respectively. The size of each compost pile was 2.5 x 1.5 x 4.0 meter (width x height x length). The results showed that the decomposition process took 60 days to finish without turning. The C8 treatment (2:2:1) had the most decomposed and had the pH of 6.90, electrical conductivity 2.67 dS/m, organic matter 40.16%, N 2.47%, P.Os 0.94%, KO 1.14% and altogether of N P.Os K,O was 4.55% and seed germination was 120%. Every sample from each treatment met the Compost Standard of Thailand. The amount of total microorganisms. yeasts and fungi, and actinomycetes of the samples were in the range of 106 - 10%, 105 - 10* and 105 - 10 colonies per gram, respectively, which had no different despite the varied ratio between ripen mango peel. leaves and cow manure. The recommend from this study was a further study in utilization of mango seed left from the shredder should be conducted.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากของเสียเศษเปลือกมะม่วงสุกจากโรงงานอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2554
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผักและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดปทุมธานี ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผัก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดนครนายก การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี ผลของการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาในจังหวัดขอนแก่น การผลิตมะม่วงนอกฤดูอย่างยั่งยืน ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การจัดการธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านโคกตาอิ่ม ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก