สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย
วสันต์ จารุชัย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Yield potential and agronomic traits of indigenous upland rice grown under upland rice preceding sugarcane cropping system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วสันต์ จารุชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wasan Jaruchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พื้นที่ดอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย ประมาณ 2.5 ล้านไร่ อ้อยที่ปลูกมักไว้ตอได้เพียง 1 ปี เมื่อเก็บเกี่ยวอ้อยตอ ประมาณปลายเดือนเมษายน เกษตรกรจะทิ้งแปลงให้ว่าง ระหว่างเดือนเมษายน จนกระทั่ง ปลายเดือนตุลาคม เกษตรกรสามารถปลูกพืชไร่อายุสั้นได้ เช่น ข้าวไร่ แต่ข้าวไร่ที่เกษตรกรใช้ปลูกในระบบดังกล่าว ของเขตอำเภอบ้านแฮด จ.ขอนแก่น เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ทำการรวบรวมข้าวไร่พื้นเมือง ที่มีการปลูกแพร่หลายจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวม 37 พันธุ์ แล้วทำการปลูกทดสอบในสภาพไร่ หลังจากปลูกอ้อยที่ บ้านวังหว้า อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น เพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกร่วมกับอ้อย ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2552 โดยใช้แผนการทดลอง randomized complete block design 3 ซ้ำ บันทึกลักษณะทางการเกษตร และผลผลิต ผลการทดลองพบว่า ข้าวพันธุ์ซิวขน 1 ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 578 กก.ต่อไร่ รองลงมา คือ ข้าวพันธุ์เข็กน้อย 2 และพันธุ์กะแสน ซึ่งให้ผลผลิต เท่ากับ 531 และ 493 กก.ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนข้าวพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบให้ผลผลิต 428 กก.ต่อไร้และยังมีพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองอีก คือ พันธุ์เจ้าม้ง 3 ลืมนา ชิวทอง 2 มังกันจุดขาว แม่วิน 1 เหนียวม้ง 4 ซิวทอง 1 เข็กน้อย 1 เหนียวม้ง 1 และพันธุ์แม่วิน 2 อย่างไรก็ตาม พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงบางพันธุ์เมื่อทดสอบการยอมรับของเกษตรกร พบว่า มีเพียงบางพันธุ์ เท่านั้น ที่ผ่านการทดสอบ คือ พันธุ์เข็กน้อย 2 เหนียวม้ง 4 และลืมนาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพการผลิตของ อ.บ้านแฮด และเกษตรกรยอมรับ
บทคัดย่อ (EN): The upland area of 400,000 ha. in the northeast Thailand is occupied by rain fed sugarcane which can produce up to 1 ratoon crop. After ratoon sugarcane harvest period land is abanduned during April to October. That area is available for annual crop such as upland rice. The rice breeding project has collected upland indigenous rice cultivars and the 37 cultivars were subsequently grown at Ban Haet district, Khon Kaen to evaluate yield potential and adaptability in a randomized complete block with three replications in the year 2009 wet season Data were recorded for agronomic traits, yield and farmer preference. Sew Kon 1 gave the highest yield with 578 kg/rai followed by Khek Noi 2 and Kasaen( 531 and 493 kg/rai) and some more cultivars which yield comparalte to Sew Mae chan, a check variety. However, after participatory varietal selection, only Neiw Monk 4, Khek Noi 2 and Luem Na were selected as promising cultivar for upland rice
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=15-Wasan.pdf&id=303&keeptrack=98
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต สถานการณ์ข้าวไร่กับการเกษตรที่สูง สมรรถนะในการผสมพันธุ์เพื่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตระหว่างข้าวไร่และข้าวนาสวน สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ผลของการพ่นสังกะสีที่ใบต่อผลผลิตและการสะสมธาตุสังกะสีในข้าวกล้องของข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ปรับปรุง การผสมเมล็ดพันธุ์เพื่อการจัดการโรคไหม้ในข้าวไร่ ระดับปุ๋ยและช่วงเวลาการกำจัดวัชพืชที่มีต่อผลผลิตข้าวไร่ ผลของยิปซัมและเบนทอไนต์ต่ออ้อยพันธุ์ K 95-84 ที่ปลูกในดินสตึก ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ผลของแคฝรั่งและปุ๋ยไนโตรเจนต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวไร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก