สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม
ปราณี สีหบัณฑ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม
ชื่อเรื่อง (EN): A study on effects of saline water on growth performance of Nile tilpia (Oreochromis niloticus) and Pla-Mong (Pangasius bocourti) cultured in differently saline
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปราณี สีหบัณฑ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อศึกษาผลกระทบของความเค็มต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของ ปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pangasius bocourti) โดยเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ เลี้ยงที่ หมวดประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างเดือนธันวาคม 2556-กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อหาแนวทางการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในฤดูแล้งทำการเลี้ยงปลาทั้งสองชนิด ปลานิลขนาด 30.0+1.0 กรัมต่อตัวและปลาโมงขนาด 81+1.5 กรัมต่อตัว ในกระชังในบ่อของเกษตรกร พื้นที่หมู่ 11 และหมู่ 4 ตำบล เมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ระดับความเค็มสูงสุดที่วัดได้เท่ากับ 6.5 และ 1.5 ส่วนในพันส่วน ในพื้นที่ทดลองหมู่ 11 และหมู่ 4 ตำบลเมืองเพีย ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบน้ำหนัก ความ ยาว FCR และอัตราการรอดตาย เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ด้านน้ำหนัก เมื่อสิ้นสุดการทดลองและ FCR ในการเลี้ยงปลานิลและปลาโมง โดยกลุ่มทดลองใน พื้นที่หมู่ 11 ตำบลเมืองเพีย มีน้ำหนักปลานิลและปลาโมง ต่ำกว่ากลุ่มอื่น และมี FCR สูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งมี ความสอดคล้องกับระดับความเค็มของน้ำที่สูงกว่ากลุ่มอื่น อัตราการรอดตายของปลาทั้งสองชนิดในพื้นที่ ทดลองมีสูงกว่าร้อยละ 80 จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สัตว์น้ำที่ใช้ในการทดลองสามารถอยู่รอด และเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ดังกล่าว
บทคัดย่อ (EN): This research was to study on effects of saline water on growth performance of Nile tilpia (Oreochromis niloticus) and Pla-Mong (Pangasius bocourti) cultured in differently saline areas in Khon Kean province between December, 2013 and February, 2014. Nile tilpia (initial body weight = 30.0+1.0 g/fish) and Pla-Mong (initial body weight = 81t1.5 g/fish) were conducted in differently saline areas in Khon Kean including: Fisheries Station, Faculty of Agriculture, KhonKaen University, MuangKhonKaen District; Moo 11; and Moo 4, Muang Pea, Ban Phai District, for eight weeks. Detected salinities of Fisheries Station, Moo 11 and Moo 4 were 0 (control), 6.5 and 1.5 ppt, respectively. The results showed that body weight and feed conversion ratio (FCR) of both Nile tilapia and Pla-Mong were statistically different (P<0.05). Furthermore, both fishes cultured in Moo 11 showed the lowest body weights and the highest FCR than others that corresponded with the highest salinity level. However, survival rate of both fishes cultured in all areas were over 80%. This research indicates that experimental fishes are able to survival and grow up in those saline areas.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การจัดการดินเค็มในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลานิลที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์ ระดับโปรตีนในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโมง(Pangasius bocourtir Sauvage, 1830) การเจริญเติบโตของปลานิลที่อนุบาลด้วยอาหารผสมสาหร่ายเกลียวทองในระดับที่ต่างกัน ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก