สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์
ประภา ศรีพิจิตต์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Mutation Breeding of Aromatic Rice (Oryza sativa L. var. KDML 105) for Photoperiod Insensitivity by Chemical Mutagen
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประภา ศรีพิจิตต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prapa Sripichitt
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรอนงค์ นัยวิกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Onanong Naivikul
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์ ethyl methanesulfonate (EMS) ได้นำเมล็ดมาแช่ในสารละลาย EMS ที่มีความเข้มข้น 0.75 , 1.0 และ 1.25% เป็นเวลานาน 12 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดมาปลูกเป็นต้น M1 เมื่อแก่เก็บเกี่ยวเมล็ด นำไปปลูกลูกชั่ว M2 ตรวจสอบความไวต่อช่วงแสงในสภาพที่มีช่วงแสงยาว พบว่า ลูกชั่ว M2 ทั้งหมด 3,320 ต้น มีต้นกลายพันธุ์ที่แสดงลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 5 ต้น หรือมีอัตราการกลายพันธุ์ของลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสงเกิดขึ้น 0.15% คัดเลือกต้นที่ไม่ไวต่อช่วงแสง นำไปปลูกเป็นลูกชั่ว M3 เพื่อตรวจสอบการถ่ายทอดลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสงในสภาพที่มีช่วงแสงสั้น พบว่า ลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสงของลูกชั่ว M2 ทั้งหมดสามารถถ่ายทอดสู่ลูกชั่ว M3 นอกจากนั้นในชั่วนี้ยังได้ตรวจสอบคุรภาพเมล็ดทางกายภาพ และคัดเลือกต้นลูกชั่ว M3 ที่มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย และเมล็ดมีคุณภาพทางกายภาพใกล้เคียงหรือเท่ากับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ไว้จำนวน 64 ต้น นำเมล้ดไปปลูกเป็นลูกชั่ว M4 ภายใต้สภาพที่มีช่วงแสงยาว สายพันธุ์ทั้งหมดแสดงลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดแล้วนำมาวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ คุณภาพหุงต้มและรับประทานซึ่งรวมทั้งความหอมด้วย คัดเลือกสายพันธุ์ที่เมล็ดมีคุณภาพดีไว้ได้ 11 สายพันธุ์ ในระหว่างสายพันธุ์คัดเลือกต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี คัดเลือกไว้ 25 ต้น นำเล็ดไปปลูกเป็นลูกชั่ว M5 ภายใต้สภาพที่มีช่วงแสงสั้นลูกชั่ว M5 ทุกสายพันธุ์จากทั้งหมด 25 สายพันธุ์ แสดงลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง จึงเก็บเกี่ยวเมล็ดจากทุกสายพันธุ์มาวิเคราะห์คุรภาพทางกายภาพ คุณภาพหุงต้มและรับประทานซึ่งรวมถึงความหอมด้วย คัดเลือกสายพันธุ์ที่เมล็ดมีคุรภาพดีใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 และมีลักษระทางเกษตรที่ดี ไว้จำนวน 8 สายพันธุ์ จากการทดสอบผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของสายพันธุ์ดังกล่าวในฤดูนาปี 2538 พบว่า ผลผลิตของสายพันธุ์ชั่ว M5 แตกต่างกันตั้งแต่ 715 ถึง 1,194 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ กข23 ซึ่งไม่ไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิต 1,185 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดของทุกสายพันธุ์มีคุณภาพทางกายภาพ คุณภาพหุงต้มและรับประทาน ซึ่งรวมถึงความหอมค่อนข้างด้อยกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
บทคัดย่อ (EN): Mutation breding of aromatic rice variety KDML 105 for photoperiod insensitive character was conducted by using chemical mutagen ethyl methanesulfonate (EMS). Seeds were soaked in EMS solution at the concentrations of 0.75, 1.0 and 1.25% for 12 hrs. The treated seeds were then grown into M1 plants and M2 progenies. The M2 progenies were determined for photoperiod sensitivity under long daylength condition. five plants among 3,320 M2 plants was inherited to the M3 progenies when grown under exhibiting photoperiod insensitive character, short culm and physical grain quality similar to KDML 105 were selected. All of the 64 M4 lines wee photoperiod insensitive when grown under long daylength condition. Grain physical quality, cooking and eating quality including aroma of the M4 lines were analysed. Eleven M4 lines possessing grain quality similar to KDML 105 were selected and 25 plants showing good agronomic characters were chosen from these lines. All of the 25 M5 lines showed photpperiod insensitive character when grown under short daylenght condition. Seeds of each line were analysed for grain physical quality, cooking and eating quality including aroma, Eight M5 lines having grain qualigy similar to KDML 105 and good agronomic performance were selected. Yield test and grain
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงข้าวหอมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้มีลักษณะไม่ไวต่อช่วงแสง โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อการกลายพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวกล้องงอกนึ่งสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 งาขาวสายพันธุ์กลายไม่ไวต่อช่วงแสง การปรับปรุงพันธุ์พืชสกุลดราเซียน่า โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย การรวบรวมข้อมูลข้าวขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลายเพื่อการขอรับรองพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก