สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
สิทธิเดช ร้อยกรอง, พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Arabica Coffee Extension Pattern and Process in Royal Project and Expansion Royal Project Area
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการ “โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพของการส่งเสริมและพัฒนาการปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง 2) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางที่ดีที่เหมาะสม (รูปแบบและกระบวนการ) ในการส่งเสริมการปลูกกาแฟดีที่เหมาะสมสำหรับมูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยในพื้นที่การส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าโครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 12 แห่ง/ศูนย์ และพื้นที่ส่งเสริมอื่นๆ 3 แห่ง ระหว่างเดือนธันวาคมพ.ศ. 2558 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรที่ปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง 12 แห่ง/ศูนย์ และพื้นที่ส่งเสริมอื่นๆ 3 แห่ง จำนวน 209 คน และเจ้าหน้าที่ 30 คน ที่มาจากโครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 12 แห่ง/ศูนย์ และพื้นที่ส่งเสริมอื่นๆ 3 แห่ง เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โดยมีประเด็นในการสนทนาครอบคลุมถึงรูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้า และแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการดำเนินงานส่งเสริมและการจัดการผลผลิตกาแฟอราบิก้า รวมไปถึงการจัดสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแต่ละศูนย์ วิเคราะห์การส่งเสริมผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิเพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการผลิตกาแฟอราบิก้า วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการส่งเสริมการปลูกกาแฟดีที่เหมาะสม (GAEP: Good Agricultural Extension Practice) โดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลข้อมูลปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร จากการสัมภาษณ์เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ และการสนทนากลุ่ม (Focus group) เกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการปลูกกาแฟดีที่เหมาะสม ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินงานการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าของโครงการหลวง และพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบว่า ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟ ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คือ มีความรู้ในการส่งเสริมการปลูกกาแฟในระดับมาก ร้อยละ 45.0 การสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง การให้ความรู้ การฝึกอบรม และการให้คำปรึกษา คำแนะนำในระดับมาก ร้อยละ 50.2 ด้านการส่งเสริมการปลูกกาแฟ และการตลาด การรับซื้อผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมในระดับมาก ร้อยละ 38.8 และการสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพในระดับมาก ร้อยละ 29.7 ความต้องการการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟของเกษตรกรในพื้นที่ คือการเข้าไปตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำ ปรึกษาในพื้นที่ปลูก ระดับมาก ร้อยละ 72.7 ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกและผลิตกาแฟและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือปัญหาด้านโรค-แมลงในระดับมาก ร้อยละ 60.8 การวิเคราะห์กระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟ หลักสำคัญ คือ แหล่งที่มาของวิชาการ มาจากนักวิชาการเกษตร และนักส่งเสริมในระดับมาก ร้อยละ 56.9 ด้านการดำเนินการส่งเสริมการปลูกกาแฟ คือการสร้างความตระหนัก และสนใจ จากโครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงในระดับมาก ร้อยละ 72.2 ด้านการพัฒนาการปลูกและการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ คือการตลาดกาแฟในระดับมาก ร้อยละ 73.2 ด้านการให้คำแนะนำ ปรึกษา และนิเทศ โดยเจ้าหน้าที่หรือนักวิจัย คือ ความรู้ด้านการปลูกและการผลิตกาแฟในภาพรวม แล้วจัดอยู่ ระดับมาก ร้อยละ 53.1 เงื่อนไขและปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริม คือ การส่งเสริมสนับสนุน โครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒานาพื้นที่สูง ในระดับมากร้อยละ 80.9 รูปแบบการส่งเสริมการปลูกกาแฟ คือ การส่งเสริมปลูกในรูปแบบการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และป่าไม้ ในระดับมากร้อยละ 70.3 ผลจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการปลูกกาแฟกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ส่วนใหญ่เป็นการส่งเสริมปลูกในรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และการส่งเสริมปลูกในรูปแบบการปฏิบัติการที่ดีทางการเกษตร (GAP) ร้อยละ 80.0 สนับสนุนด้านวิชาการ โดยมีแหล่งที่มาจากข้อมูลวิชาการ เอกสาร คู่มือ นักวิชาการเกษตร และนักส่งเสริม ร้อยละ 46.7 มีการแนะนำการปลูกจากโครงการหลวงและพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ร้อยละ 80.0 การพัฒนาการปลูกและการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ด้านการดำเนินการเก็บเกี่ยวในระดับมาก ร้อยละ 93.3 การให้คำแนะนำ ปรึกษา และนิเทศ โดยเจ้าหน้าที่หรือนักวิจัยในการพัฒนาผลผลิต ในระดับมากร้อยละ 90.0 รูปแบบการส่งเสริมการปลูกกาแฟบนพื้นที่สูง คือ การปลูกในรูปแบบอนุรักษ์ร้อยละ 83.3
บทคัดย่อ (EN): A study of Arabica Coffee Extension Pattern and Process in Royal Project and Expansion Royal Project Area Highland Development using Royal Project system aim to 1) Status of Arabica Coffee extension and development in the highland area 2) Analyze the best practice of extension development that appropriate for Royal Project (Pattern and Process). This research had done in the Royal Project and Highland Development Project using Royal Project system (Expansion of Royal Project Areas) which including 12 development centers and other 3 Arabica Coffee Extension development areas. Population and sample was selected by purposive sampling in the areas mention for 209 farmers and 30 extension personal. Research instrument for information and data gathering included questionnaire for farmers who grow coffee under the Pattern and Process of extension was interviewed and discussed and the questionnaire for the extension personal who responsible for coffee production extension and development and also the focus group discussion of the Pattern the Process. Data analyzes was done with the primary and secondary information which shown the coffee extension pattern and process. The Good Agricultural Extension Practice (GAEP) and the description statistics analyses are included. More detail will included the data analyses of the farmer’s background of socio-economic information and data analyses of the farmer and extension personal who was interviewed and also participated in focus group meeting had done for the discussion to confirm extension and development Pattern and Process. Research included from data analysis of the coffee extension development pattern and process in Royal Project areas and Highland Development using the Royal Project system (Expansion Royal Project Area). Farmers show their knowledge and opinions for the extension process with the extension personal guidelines 45% of the high level of knowledge of coffee growing from the Royal Project Development Center and Highland Development using Royal Project system (Expansion Royal Project Area). For the technical support with the knowledge from training and advisement was stated of high land (50.2 %) Marketing management system expectedly buying with the good and appropriate price and accepted at (38.8%) and Coffee quality development is high level (29.7%). Farmers demand for the coffee production development in the farmer’s area by visiting and experience are highly needed (72.2%) and less problem in the pest and disease control by famer and technical extension for controlling in high at (60.8%) Analysis of coffee extension process, main elements is the academic knowledge from the researcher and extension personal with the high level (56.9%). For the coffee extension process, the first stage in awareness and interest come from Royal Project and Highland Development using Royal Project system (Expansion Areas) with high level (72.2%). For the cultivation and production development of the farmers mainly so to the marketing management high level (73.2%). And for the advisement, recommendation and supervise for the total development for coffee quality production was also high (53.1%). For condition and factor that highly affected on increasing the effective was of extension activities are included Royal Project and Highland Research and Development intuition with 80.9%. Coffee extension pattern, the suitable for highland was the natural resource conservation 70.3%. From extension officer interviewed, the opinion of coffee cultivation pattern in natural resource conservation and The Good Agriculture Practice (GAP) were 80.0% For coffee extension process, the research found that source of technical knowledge from manual of this coffee cultivation technical advice by researches and extension personal are accepted 46.7%. Advisement from Royal Project and Highland Development using Royal Project system are highly need with 80%. For the cultivation and production development with post-harvest management with 93.3%. And for the test coffee extension process highly need of the advisement and supervise by extension and researchers from Royal Project and Highland Development using Royal Project for the quality coffee production is 90%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษารูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล การประเมินและเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูกาแฟอราบิก้าในพื้นที่การส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลโครงการหลวง การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธการส่งเสริมการปลูกและผลิตกาแฟอราบีก้าของโครงการพัฒนาที่สูง ไทย-นอรเว และโครงการพัฒนาเขตพื้นที่สูงไทย-ออสเตรเลีย โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการพัฒนากระบวนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง โครงการสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SMEs เกษตร ตอน กาแฟดอยช้าง การทดสอบพันธุ์กัญชงในพื้นที่โครงการหลวงที่มีระดับความสูงแตกต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก