สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ระพีพรรณ ประจันตะเสน - มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Research and Develop of Organic Farming System in Kalasin Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ระพีพรรณ ประจันตะเสน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชุดโครงการการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยที่ใช้ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) และการวิจัยเชิง ทดลอง เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างคณะผู้วิจัยกับกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนสวรรค์ ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2553 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ในจังหวัด กาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาวิธีการและแนวทางพัฒนาระบบการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และ3) เพื่อ ศึกษากลไกสนับสนุนพัฒนาและสร้างเครือข่ายของระบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดกาพสินธุ์ ชุดโครงการวิจัยพบว่า เกษตรกรได้พัฒนาการผลิตสารอินทรีย์สำหรับใช้ในการผลิตผักปลอดสารพิษ ได้แก่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจาก ผักและผลไม้ และสารสกัดไล่แมลงจากสมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชน ซึ่งเกษตรกรใช้ป้องกันแมลงโดยผสม สารสกัดไล่แมลงพร้อมปุยน้ำหมักชีวภาพผ่านระบบการให้น้ำ ส่งผลให้ผักได้รับสารอินทรีย์ที่ใช้ไล่แมลง และปุยน้ำหมักชีวภาพอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอทำให้สามารถผลิตผักปลอดสารพิษได้โดยปราศจากการใช้ สารเคมี อีกทั้งเกษตรกรยังได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำแบบประหยัด การผลิตสารสกัดไล่แมลง การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ และด้านการจัดการตลาด นอกจากนี้กลุ่มเกษตรกรยังเป็นต้นแบบในการถ่ายทอด องค์ความรู้ด้านการผลิตผักปลอดสารพิษ และการผลิตสารอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการผลิตผักปลอดสารพิษ ให้กับกลุ่มเกษตรกรอื่นที่สนใจ รวมทั้งสร้างเครือข่ายของระบบเกษตรอินทรีย์
บทคัดย่อ (EN): The Study of Research and Develop of Organic Farming System in Kalasin Province is Participatory Action Research (PAR) and experimental research. This research is a collaboration of the research groups of Donsawans farmers in Kalasin . The duration of the study one year between October 1, 2552 to September 30, 2553. The purposes of this research were 1) To study local knowledge about organic farming in Kalasin. 2)To learn how to approach and develop organic farming in Kalasin and 3) To study the mechanisms to support and develop a network of organic farms in Kalasin province.The findings revealed that the farmers develop organic compounds for use in the production of organic vegetables. Along with fertilizer fermented from fruits and vegetables. Including fertilizer fermented from fruits and vegetables. Extracts from herbs and insects that are readily available in the community. Which farmers used insect repellent insecticide by mixing the extract with bio fertilizer through the irrigation system. Cause organic vegetables have been used insect repellent and fertilizer fermented thoroughly and regularly can produce organic vegetables without using chemicals. Moreover, the farmers have also developed knowledges of water use efficiency, producing extracts insect repellent, bio fertilizer production, and the management and marketing. In addition, the farmers have a model to convey the knowledge to produce organic vegetables and the production of organic compounds are suitable for the production of organic vegetables to other farmers interested and including the creation of a network of organic farms.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
30 กันยายน 2553
การวิจัยและพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองของชุมชนด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในระบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มวิจัยพริกเพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตมะละกอในระบบเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านลาด จ. มหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก