สืบค้นงานวิจัย
การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเล ซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบการที่จังหวัดระยอง : รายงานผลการวิจัย
สุดาศิริ วศวงศ์ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเล ซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบการที่จังหวัดระยอง : รายงานผลการวิจัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดาศิริ วศวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุดาศิริ วศวงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: แรงงานประมงทะเลเป็นแรงงานเกษตรสาขาหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศมากไม่น้อยกว่าแรงงานประเภทอื่น แต่แรงงานประมงทะเลยังมิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนแรงงานประเภทอื่น ทั้งๆ ที่แรงงานประมงทะเลต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยวห่างไกลจากครอบครัวมีสภาพการทำงานที่ตรากตรำ ได้รับค่าจ้างน้อย ไม่มีสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงานต้องเสี่ยงต่อภัยอันตราต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติจากเครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ ภัยจากโจรสลัด เรืออับปาง การถูกจับกุมและการรับโทษในต่างแดนเมื่อเกิดการละเมิดน่านน้ำขึ้น ซึ่งเมื่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น มักถูกปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือทำให้ไม่มีใครอยากมาทำงานประมงทะเล เพราะขาดหลักประกันและความมั่นคงในการทำงาน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมง มีการลักลอบนำแรงงานต่างชาติมาใช้ในกิจการประมงทะเลมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาด้วย ดังนั้นจึงควรกำหนดกฎหมายในการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในกิจการประมงทะเลอย่างเท่าเทียมกับลูกจ่างในกิจการประเภทอื่น เพื่อให้ลูกจ้างในกิจการประมงทะเลมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เหมาะสม และเป็นธรรมจึงจะเป็นการจุงใจให้คนมารับจ้างแรงงานในกิจการประมงทะเลมากขึ้น แต่กฎหมายที่กำหนดขึ้นมานี้ยังมิได้มีผลบังคับใช้ เนื่องจากการคัดค้านอย่างรุนแรงของผู้ประกอบกิจการประมงทะเลว่า บทบัญญัติไม่เหมาะสม ไม่อาจปฏิบัติตามได้ งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้กฎหมายยังไม่มีสภาพบังคับ โดยศึกษาวิเคราะห์สภาพและปัญหาของการทำงานในกิจการประมงทะเล ตลอดจนทัศนคติจากผู้เกี่ยวข้องทั้งสามฝ่าย เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยฉบับปัจจุบัน อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งทำให้ได้ทราบถึงสภาพการจ้างและการทำงานในกิจการประมงทะเลอย่างแท้จริง ยังมีปัญหาในการใช้แรงงานประเภทนี้อยู่มากทั้งทางฝ่ายน่ยจ้างและลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำสัญญาจ้างแรงงาน การจ่ายค่าจ้างสวัสดิการ และความปลอดภัยในการทำงาน จึงสมควรให้ความคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเบไว้เป็นพิเศษ รวมทั้งได้แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเลได้ถูกต้องตรงต่อสภาพของการประกอบกิจการประมงทะเลอย่างแท้จริง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2539
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2539
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1802
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเล ซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบการที่จังหวัดระยอง : รายงานผลการวิจัย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2539
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การทาประมงโป๊ะเชือกในจังหวัดระยองระหว่างปี 2555-2556 และปี 2556-2557 กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมง การศึกษา Subtype ของเชื้อไวรัสAvian Influenza A จากสัตว์ปีกในประเทศไทย การประมงปลิงทะเลในเขตจังหวัดระนองและจังหวัดพังงาตอนบน อนุกรมวิธานของฟิล์มมี่เฟิร์นสกุล Hymenophyllum s.l. (Hymenophyllaceae) ในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก