สืบค้นงานวิจัย
การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา
สมนึก คงชู - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมนึก คงชู
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในจังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานในพื้นที่ตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล การวิเคราะห์ผลใช้โปรแกรม SPSS for Windows หาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าฐานนิยม ผลการวิจัยมีดังนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 ดำรงตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 41.2 มีอายุ 41-45 ปี ร้อยละ 55.9 อายุราชการ 21-25 ปี ร้อยละ 64.7 รับผิดชอบตำบล 2 ตำบล การทำงานในพื้นที่พบว่า 1) การทำงานในระดับอำเภอ เกษตรอำเภอทุกคนให้การสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอประจำเดือนและสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนากลุ่ม/องค์กรเกษตรกร ร้อยละ 87.5 มีการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอและจัดทำแผนปฏิบัติงาน ประจำปีและแผนปฏิบัติงาน ประจำเดือน ร้อยละ 25 ได้ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบงาน ร้อยละ 62.5 มีการประสานงานและให้บริการเกษตรกรแบบเบ็ดเสร็จ 2) กระบวนการทำงานกับชุมชน พบว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนมีการจัดแบบมีส่วนร่วม ร้อยละ 41.2 ใช้กระบวนการที่ประยุกต์จากกระบวนการตามโครงการ UNDP และ AIC ร้อยละ 94.1 ได้นำผลจากการจัดเวทีชุมชนไปดำเนินการต่อ ร้อยละ 70.6 จัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรระดับตำบลโดยใช้ข้อมูลจากผลการจัดเวทีชุมชน 3) ศูนย์บริการและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ทุกตำบลจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯและนำผลการประชุมไปปฏิบัติ ร้อยละ 82.4 มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน ศูนย์ฯ มีการบริการเกษตรกรหลายกิจกรรม กิจกรรมที่ทุกศูนย์ฯให้บริการคือ การถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร ร้อยละ 79.4 วิทยากรคือเจ้าหน้าที่ร่วมกับเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เจ้าหน้าที่ ทุกคนสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการศูนย์ฯ กิจกรรมที่ทุกคนสนับสนุนคือ การประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ 4) บทบาทที่ปฏิบัติงานจริงของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดโดยเฉลี่ยเปรียบเทียบสัดส่วนร้อยละ 100 พบว่า สัดส่วนร้อยละ 23.8 มี บทบาทเป็นผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ร้อยละ 79.4 มีความพึงพอใจระบบส่งเสริม การเกษตร ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานพบว่า ร้อยละ 75 ของเกษตรอำเภอและร้อยละ 88.2 ของเจ้าหน้าที่มีปัญหาการปฏิบัติงานในจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ทุกคนเสนอแนะการปฏิบัติงาน คือควรสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดยะลา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา
สมนึก คงชู
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดจันทบุรี การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตที่ 2 (ภาคตะวันตก) ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2545 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต่อระบบส่งเสริมการเกษตร ที่ปรับปรุงใหม่ ปี 2551 การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานการเกษตรและการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศึกษาปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคใต้ ปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก