สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา
พนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing Analysis System and Network Markets of Smallholder Rubber Farms in Chiang Rai and Phayao Provinces
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พนิตพิมพ์ สิทธิศักดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิต ส่วนเหลื่อมการตลาดและมูลค่าส่วนเหลื่อมการตลาดยางพารา และการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราทั้งสิ้นจำนวน 409 ราย ทั้งหมดขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางจังหวัดเชียงรายและพะเยา ผลการศึกษา พบว่า การผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกรมีต้นทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.79 บาท และขายผลผลิตได้กิโลกรัมละ 27.15 บาท กำไรสุทธิเท่ากับ 0.36 บาท ส่วนการผลิตน้ำยางมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.01 บาท และขายผลผลิตได้ในราคากิโลกรัมละ 34.71 บาท มีกำไรสุทธิเท่ากับ 5.70 บาท เกษตรกรผลผลิตในรูปของยางก้อนถ้วย (83.23) และน้ำยาง (16.77) โดยยางก้อนถ้วยเกษตรกรให้กับพ่อค้าเร่ร้อยละ 12.15 เกษตรขายผลผลิตโดยตรงให้กับพ่อค้าคนกลางรับซื้อในท้องถิ่นร้อยละ 20.00 และขายผ่านการประมูลอิเลคทรอนิคส์ร้อยละ 51.08 โดยผู้ที่ให้ราคาสูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูล ในด้านการตลาดพ่อค้าเร่มีส่วนเหลื่อมกิโลกรัมละ 5.29 ขณะที่พ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อจากพ่อค้าเร่ไปขายตลาดปลายทางระยองมีส่วนเหลื่อมการตลาดกิโลกรัมละ 1.90 บาท ส่วนที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรงไปขายตลาดกลางปลายทางมีส่วนเหลื่อมเท่ากับ 8.56 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการขายน้ำยางนั้นมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 13.55 บาท ในปี 2558 พื้นที่ศึกษามีผลผลิตยางพาราทั้งยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบทั้งสิ้น 56,189 ตัน มีมูลค่าส่วนเหลื่อมรวมทั้งสิ้น 339,498,832 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนรวมทางการตลาดและกำไรของพ่อค้าเท่ากับ 76,714,375 และ 262,784,457 บาท ตามลำดับ การศึกษานี้ได้จัดตั้งเครือข่ายขึ้นเป็นเครือข่ายการตลาดแบบหลวมๆ สามารถสื่อสารได้ทั้งในระดับแนวราบและแนวตั้ง คือ ในระดับแนวราบเกษตรกรภายในกลุ่มสามารถแจ้งข่าวสารการตลาดได้แบบปากต่อปาก หรือใช้โทรศัพท์มือถือ ส่วนการสื่อสารในระดับแนวตั้งเป็นการสื่อสารระหว่างสมาชิกกลุ่มหรือหัวหน้ากลุ่ม คำสำคัญ: ระบบตลาดยางพารา ส่วนเหลื่อมการตลาด เกษตรกรรายย่อย และเครือข่าย
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study were to analysis marketing system and network markets of smallholder rubber farms in Chiang Rai and Phayao Provinces. The sample were 409 households who resisted membership Office of the Rubber Replanting Aid Fund Ching Rai and Phayao provinces. The result found that an average cost cup lump of rubber and price for sale of 26.79 and 27.15 baht per kilogram. From research finding, it was found that the farmer was benefited from cup lump of rubber as 0.36 baht per kilogram. For the latex had an average cost and price for sale of 29.01 and 34.71 baht per kilogram. They were benefited in the latex as 5.70 baht per kilogram. The smallholder rubber farms were a 83.23 percent sale in form cup lump of rubber and latex of 16.77 percent. The cup lump of rubber, the farmer sale to travelers’ merchant at the village level of 12.15 percent and the farmer was direct sale to the local middleman in the village of 20.00 percent. For the farmer was engaged with the electronic auction of 51.08. For the cup lump, the farmer group was auction by the middleman which was given high price as the winner. The cup lump of rubber, the travelers’ merchant was marketing margin of 5.29 baht and the middleman was marketing margin from the destination market of 1.90 baht. Meanwhile, the middleman was marketing margin between direct sale from farmer and destination market of 8.56 baht. For the latex was marketing margin of 13.55 baht. In 2015, in Ching Rai and Phayao provinces were a total rubber yield of 56,189 tons. There gave marketing margin of 339,498,832 baht divided into marketing cost and merchant benefit of 76,714,375 and 262,784,457 baht respective. In this study establishing the marketing network, that established had loose which communicated both vertical and horizontal. In the horizontal, the farmers would be communicated marking report between the membership by months and telephone for report news. For the vertical would be communicated between the member and the leadership of groups. Keywords: Marketing System of Rubber, Marketing Margin, Smallholder and Network
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงรายและพะเยา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2559
การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การศึกษาวิธีการปรับปรุงพันธุ์ปลานิลของเกษตรกรรายย่อยใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์ระบบการตลาดปลาช่อนในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การพัฒนาระบบตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา กลยุทธ์ความสำเร็จของการบริหารจัดการตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษา ตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราหนองคายที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ และตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราบุรีรัมย์ท การศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน ประเมินความสำเร็จตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก