สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลต่อการดูดซึมสารอาหารไขมันของสารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกผลทุเรียนในหลอดทดลอง
สุนันท์ พงษ์สามารถ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลต่อการดูดซึมสารอาหารไขมันของสารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกผลทุเรียนในหลอดทดลอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนันท์ พงษ์สามารถ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: มณีวรรณ สุขสมทิพย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพของเจลโพลีแซคคาไรด์ (PG) สกัดจากเปลือกของผลทุเรียน (Durio zibethinus L.) เพื่อประเมินคุณสมบัติการทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์อัลฟาอมัยเลสและคุณสมบัติการเก็บกักเก็บสารลิปิด โดยทำการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า ผงเจลโพลีแซคคาไรด์พองตัวในน้ำจับเป็นชั้นข้นหนืด 2% ของสารละลาย PG มีค่าความหนืดเท่ากับ 279.36 +-25.87 cps. PG ทนต่อการถูกย่อยด้วยเอนไซม์อัลฟาอมัยเลสซึ่งถูกย่อยได้เพียงส่วนน้อยโดยที่โครงสร้างอัลฟาฮิลิคของ PG หายไปจากการตรวจสอบด้วยน้ำยาไอโอดีน หลังการย่อยด้วยเอนไซม์อัลฟาอมัยเลส พบปริมาณน้ำตาลรีดิวส์น้อยมาก ไม่พบน้ำตาล monosaccharides จากการตรวจสอบด้วย O-toluidine test เทียบกับ standard maltose และเทคนิค Thin Layer Chromatography ยังพบว่า PG ทนต่อการไฮโดรไลส์ในกรดเกลือเจือจาง คุณสมบัติการกักเก็บลิปิดของ PG ทำการตรวจสอบในหลอดทดลอง โดยใช้เทคนิค semipermeable membrane dialysis ทดสอบกับลิปิด โคเลสเตอรอล กรดโอเลอิค และกรดสเตียริค โดยใช้ PG ในความเข้มข้น 0-2% ใช้เกลือน้ำดีเป็นสารช่วยลดแรงตึงผิวให้ลิปิดผสมเข้ากันได้ดียิ่งขึ้นกับน้ำและ PG หลังการ dialysis 4-16 ชั่วโมง นำสารละลายลิปิดภายในและภายนอกถุง dialysis membrane มาวิเคราะห์หาปริมาณลิปิดโดยเทคนิค HPLC พบว่า การกักเก็บลิปิดอยู่ภายในเมมเบรนเพิ่มขึ้น และการปลดปล่อยลิปิดออกมาภายนอกเมมเบรนลดลง เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ PG ที่ความเข้มข้น 2% PG กักเก็บสารโคเลสเตอรอลได้ประมาณ 80-90% ผลการทดลองเปรียบเทียบได้กับผลการทดลองเมื่อใช้กลูโคแมนแนนเป็น standard polysaccharide ความหนืดของ PG มีผลต่อการกักเก็บลิปิด การกักเก็บลิปิดใน PG เพิ่มขึ้นเมื่อความหนืดของ PG เพิ่ม การศึกษาผลของ PG ในการกักเก็บโคเลสเตอรอลในไข่แดง พบว่า ให้ผลการทดลองที่คล้ายกัน ส่วนการศึกษาในลำไส้เล็กของหนูขาว ตรวจสอบการปลดปล่อยโคเลสเตอรอลจาก mixture ของ PG กับโคเลสเตอรอลที่ผ่านจากออกจากผนังลำไส้หนูในหลอดทดลองโดยเทคนิค membrane dialysis พบว่า ได้ผลที่คล้ายกันโดยพบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของ PG มีผลให้ลดการปลดปล่อยโคเลสเตอรรอลออกจากผนังลำไส้หนู จากผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า PG มีผลลดการปลดปล่อยลิปิดผ่านออกมาจากผนังลำไส้เล็กของหนู จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้คาดว่า PG อาจจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์อาหารควบคุมน้ำหนัก การศึกษาในหลอดทดลองเพื่อตรวจสอบผลของเส้นใยอาหารค่อการดูดซึมขันโดยใช้เทคนิค semipermeable membrane dialysis อาจจะนำมาใช้เป็นวิธีการทดลองเพื่อประเมินเบื้องต้นถึงผลของสารโพลีแซคคาไรด์เจลที่มีต่อการดูดซึมอาหารพวกลิปิด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2173
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลต่อการดูดซึมสารอาหารไขมันของสารโพลีแซคคาไรด์จากเปลือกผลทุเรียนในหลอดทดลอง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2546
เอกสารแนบ 1
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ สารอาหารให้พลังงาน การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง แอพพลิเคชั่นสารอาหารไทย การศึกษาประสิทธิภาพสารดูดซับสารพิษอะฟลาท็อกซินจากแหล่งดิน ในประเทศไทยในอาหารปลานิล การพัฒนาวิธีแยกสารสกัดโพลีแซคคาไรด์เพื่อการขยายขนาดการผลิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก