สืบค้นงานวิจัย
ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830
นงลักษณ์ สำราญราษฎร์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830
ชื่อเรื่อง (EN): Concentration of dietary carotenoid from zooplankton collected from shrimp cultured ponds on growth survival coloration and metabolism in clown anemonefish Amphiprion ocellaris (Cuvier, 1830)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นงลักษณ์ สำราญราษฎร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nonglak Somranrat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาระดับแพลงก์ตอนสัตว์ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสี และเมทาบอลิซึม ในอาหารปลาการ์ตูนส้มขาว ดำเนินการโดยเตรียมอาหารสำเร็จรูปที่ใช้แพลงก์ตอนสัตว์ในปริมาณ 0, 20, 40, 60 และ 80 % โดยกำหนดให้เป็นชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม), 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ นำไปเลี้ยงปลาการ์ตูนส้มขาว ขนาดน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.33 ± 0.02 กรัม ในตู้กระจกขนาด 30x60x30 เซนติเมตร ใช้ระบบน้ำหมุนเวียนแบบกึ่งปิด ตู้ละ10 ตัว ด้วยอาหารทดลองแต่ละสูตร สูตรละ 3 ซ้ำ แบบให้กินจนอิ่ม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง วัดสีบริเวณลำตัวปลา พบว่าค่าของ b* (เฉดสีเหลือง) ในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ซึ่งมีค่าสูงสุดเท่ากับ 14.82 ± 1.10 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับค่าของ b* (เฉดสีเหลือง) ของปลาการ์ตูนส้มขาวในชุดการทดลอง 2, 3, 4 และ 5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 11.77 ± 4.64, 11.03 ± 3.75 11.60 ± 4.12 และ 11.77 ± 9.29 ตามลำดับ ส่วนค่า a* (เฉดสีแดง) พบว่าในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.70 ± 0.33 ไม่แตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่ 2, 3, 4 และ 5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.43 ± 1.64, 6.02 ± 1.75, 5.73 ± 1.12 และ 5.58 ± 1.29 ตามลำดับ ชนิดคาร์โรทีนอยด์ มีค่าไม่แตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างชุดการทดลอง ปริมาณคาร์โรทีนอยด์รวมบริเวณผิวหนัง พบว่าในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 20.97 ± 0.33 พีพีเอ็ม ไม่แตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่ 2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 21.07 ± 1.95 พีพีเอ็ม แต่ปริมาณคาร์โรทีนอยด์รวมในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) และ 2 มีค่าสูงกว่าในชุดการทดลองที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18.07 ± 0.96 15.84 ± 1.72 และ 12.38 ± 1.32 พีพีเอ็ม ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) อัตราการรอดตายในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 93.33 ± 5.77 % มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับอัตราการรอดตายในชุดการทดลอง 5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 80.00 ± 10.10 แต่ไม่แตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) กับอัตราการรอดตายในชุดการทดลองที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 90.00 ± 10.00, 90.00 ± 10.00 และ 90.00 ± 0.00 % ตามลำดับ ส่วนอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาการ์ตูนส้มขาวในชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.78 ± 0.33 ไม่แตกต่างในทางสถิติ (P>0.05) กับชุดการทดลองที่ 2 มีค่าเท่ากับ 3.07 ± 0.26 แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) กับชุดการทดลองที่ 3, 4 และ 5 มีค่าเท่ากับ 3.31 ± 0.33, 3.34 ± 0.10 และ 3.35 ± 0.79 ตามลำดับ ขณะที่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลาการ์ตูนส้มขาว พบว่ามีค่าไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างชุดการทดลอง จากผลการศึกษาครั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ อาจกล่าวได้ว่าโปรตีนจากแพลงก์ตอนสัตว์ยังไม่เหมาะสมที่จะใช้แทนที่ปลาป่นในอาหารปลาการ์ตูนส้มขาว อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการแทนที่ปลาป่นด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ในระดับที่ต่ำกว่า 20%
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
กรมประมง
ระดับความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ จาก แพลงก์ตอนสัตว์ที่รวบรวมได้ในบ่อเลี้ยงกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การเพิ่มสีและเมตาโบลิซึมในปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830 ชนิดและความเข้มข้นของคาร์โรทีนอยด์ และวิตามิน ในแพลงก์ตอนสัตว์โดยมวลรวมที่รวบรวมได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง การศึกษาชนิดอาหารเพื่อทดแทนโรติเฟอร์ในการอนุบาลลูกปลาการ์ตูนที่เลี้ยงในเชิงพาณิชย์ ผลของแคโรทีนอยด์จากแหล่งธรรมชาติต่อการเพิ่มสีและการเจริญเติบโตของปลาการ์ตูนส้มขาว (Amphiprion ocellaris Cuvier, 1830) การเจริญเติบโตและการพัฒนาแถบสีของปลาการ์ตูนลูกผสม (Amphiprion percula (Lacepede, 1802) X A. ocellaris Cuvier, 1830) ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาหมอ “ชุมพร 1” อัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra Jaeger, 1833 และ H. atra Jaeger, 1833) ที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) ผลของแพลงก์ตอนสัตว์แช่แข็งที่เป็นอาหารต่อความสมบูรณ์พันธุ์และการเจริญเติบโตในกุ้งสีเครย์ฟิช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก