สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาและพัฒนาแนวทางการป้องกันและกำจัดโรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อบักเตรีโดยวิธีผสมผสาน
อรพิน ถิระวัฒน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและพัฒนาแนวทางการป้องกันและกำจัดโรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อบักเตรีโดยวิธีผสมผสาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรพิน ถิระวัฒน์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ปัจจุบันขิงเป็นสินค้าออกที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มที่จะทำรายได้ให้แก่ประเทศสูง แต่อุปสรรคที่สำคัญในการปลูกขิงคือ โรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อบักเตรี (Pseudomonas solanacearum) ระบาด ทำให้เกษตรกรต้องรีบเก็บขิงอ่อนขาย จึงทำให้ได้ขิงที่ไม่มีคุณภาพ และสภาพการปลูกขิงของเกษตรกรในปัจจุบันมีปัจจัยหลายประการที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่ระบาดของโรค วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อหาวิธีการลดความเสียหายอันเนื่องมาจากโรค โดยเน้นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพื่อกำหดนแนวทางในการส่งเสริมการป้องกันและกำจัดโรคโดยวิธีผสมผสานต่อไป โดยจัดทำแปลงศึกษา จำนวน 7 แปลง ในท้องที่จังหวัด จังหวัดละ 3 ไร่ (ยกเว้นจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 2 แปลง 6 ไร่) ผลจากการศึกษาครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรข้างเคียงปรากฏว่า แปลงวิจัยให้ผลผลิตสูงกว่า และราคาก็สูงกว่าแปลงเกษตรกร ระดับการเป็นโรคในแปลงวิจัย สามารถที่จะควบคุมการแพร่ระบาดได้ ตลอดจนการใช้สารเคมีก็ใช้น้อยกว่าแปลงเกษตรกกร ดังนั้นแนวทางในการป้องกันและกำจัดโรคขิงเน่าโดยวิธีผสมผสานควรปฏิบัติ ดังนี้ 1.ให้มีการปรับปรังดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปูนขาวก่อนปลูก 2.ให้มีการคัดท่อนพันธุ์ของที่ใช้ปลูกให้เป็นท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากโรค 3.ให้มีการพูนโคนเมื่อขิงอายุ 2 และ 3 เดือนพร้อมกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และมีการติดตามสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขิงเริ่มแสดงอาการโรคให้ถอนทิ้งพร้อมขุดดินบริเวณหลุมนั้นออกจากแปลงแล้วรดด้วยน้ำปูนใสติดต่อกัน 2-3 ครั้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาและพัฒนาแนวทางการป้องกันและกำจัดโรคขิงเน่าที่เกิดจากเชื้อบักเตรีโดยวิธีผสมผสาน
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาผลตอบแทนที่ได้รับจากการป้องกันและกำจัดโรคถั่วลิสงโดยวิธีผสมผสาน การศึกษาผลตอบแทนที่ได้รับจากการป้องกันและกำจัดโรคถั่วลิสงโดยวิธีผสมผสาน โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนบนพื้นที่สูง แนวคิดและแนวทางการส่งเสริมการบริหารศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน การศึกษาป้องกันและกำจัดตั๊กแตนไฮโรไกลฟัสโดยวิธีผสมผสานในไร่อ้อย ปัญหาและแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาสาขาประมงใน รายวิชา10-121-101และ03-041-101 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา: ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน การศึกษาแนวทางของการพัฒนาความรู้ในการป้องกันกำจัดโรคของเกษตรกร วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคข้าว รายงานการศึกษาความชุกและการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์เชื้อก่อโรคในผู้ป่วยโรคท้องร่วงเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก