สืบค้นงานวิจัย
การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์
รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์
ชื่อเรื่อง (EN): Control of rice blast disease with powder formulation of antagonistic bacteria
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Russamee Thitikiatpong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคไหม้ของข้าวเกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea (Cooke) Sacc. (Rossman et al, 1990; Syn.P. oryzae Cav.) เป็นโรคที่มีความสำคัญและทำความเสียหายให้กับผลผลิตของข้าวในแหล่งปลูกข้าวทั่วโลก (Ou,1985) รวมทั้งในประเทศไทย เชื้อราเข้าทำลายดันข้าวได้ตั้งแต่ระยะกล้า ระยะแตกกอ และระยะคอรวงทำให้เกิดอาการใบไหม้ (leaf blast) ข้อต่อใบเน่า (collar rot) และเน่าคอรวง (neck blast) มีการศึกษาถึงผลกระทบของโรคไหม้ต่อผลผลิตของข้าวในประเทศไทย พบว่า เปอร์เซ็นต์การถดลงของผลผลิตข้าวพันธุ์กข 23 เพิ่มขึ้น เมื่อเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคไหม้ระยะใบหรือโรคเน่าคอรวงเพิ่มขึ้น ( รัศมี และคณะ,2529 และ 2530) โรคไหม้ของข้าวพบระบาตทำความเสียหายเป็นประจำทุกฤดูกาล ในปี 2535 เกิดการระบาดโรคไหม้ครั้งสำคัญในเขตปลุกข้าว 12 จังหวัด ทางภาคเหนือ และกาดตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเนื้อที่กว่า 1.2 ล้านไร่ จากพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 59.5 ถ้านไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวเปลือกลดลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 6 แสน 5 หมื่นตัน (Disthaporn,1994) การป้องกันกำจัดโรคไหม้ที่ได้ผลคือการใช้พันธุ์ค้านทานเช่น กข 11, สุพรรณบุรี 1 และคลองหลวง 1 และการใช้สารป้องกันกำจัดโรคไหม้ของข้าว เช่น ไตรไซ -คลาโซล (บีม), อีดิเฟนฟอส (ฮิโนซาน) และคาร์เบนดาซิม (บาวิสติน เอฟแอล) แต่การใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องหรือใช้เกินความจำเป็นก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร และทำให้เชื้อสาเหตุโรคสามารถปรับตัวต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดโรคพืชได้ดังนั้นในปัจจุบัน การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biological control of plant disease) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นักโรคพืชให้การยอมรับเพื่อลคการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลในระยะยาว ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดสัยม และเชื้อสาเหตุต้านทานสารป้องกันกำจัดโรคพืช รวมทั้งปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้การกำจัดโรคพืชโคยชีววิธี เป็นการลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคหรือลดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดโรคของเชื้อสาเหตุโรคโคยสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 1 ชนิด หรือมากกว่าโดยเกิดตามธรรมชาติหรือมีการจัดการกับพืชอาศัยสภาพแวดล้อม หรือจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (antagonistic microorganisms) ร่วมด้วย หรือนำจุลินทร์ทรีปฏิบักษ์จากที่อื่น 1 ชนิด หรือมากกว่ามาใช้ (Cook and Baker, 1983) มีผลงานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประชากรของแบคที่เรียที่อาศัยอยู่กับพืช (epiphytic bacteria) จะมีแบคทีเรียปฏิปักษ์ (bacterial antagonists)ร่วมอยู่ด้วยบริเวณเนื้อเยื่อของใบพืชที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค ซึ่งแบคทีเรียปฏิปักษ์เหล่านี้มีความสามารถต่อต้านและควบคุมเชื้อสาเหตุโรคบริเวณใบพืชได้ดี (Sleesman and Leben, 1976 ; Leben, 1963 และ Andrews, 1992) เช่น มีผลงานนำแบคทีเรียที่แยกได้จากส่วนของใบข้าวโพดที่เป็นโรคใบไหม้ (Southern maize leaf bight) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Bipolaris maydis มาทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคไหม้ของข้าวโพดในเรือนปฏิบัติการ พบว่าสามารถควบคุมโรคได้ (Sleesman and Leben, 1976) ในประเทศไทยมีการศึกษาการป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้งของข้าวโดยชีววิธีโดยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ ที่แยกได้จากส่วนของตันข้าว ดินนา และเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา Rhizoctonia solani สาเหตุโรคกาบใบแห้งของข้าวจากการศึกษาพบว่าแบคที่เรียเรืองแสง (fluorescent bacteria) และชนิดไม่เรืองแสง (non-fluorescent bacteria) มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคในห้องปฏิบัติการ และมีผลยับยั้งการลุกลามของโรคกาบใบแห้งของข้าวในเรือนทดลอง (รัศมี และคณะ, 2532 ; รัศมี และสมมาต, 2533 และรัศมี และคณะ, 2534) ต่อมามีการพัฒนางานทางด้านนี้มากขึ้น โดยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบนโนมิลเพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว ผลการทคลองพบว่าสามารถควบคุมโรค ใด้ต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (พากเพียร และคณะ , 2544) สำหรับการควบคุมโรคไหม้ของข้าวโดยชีววิธีมีรายงานว่าแบคทีเรีย Pseudomonas fluorescens สายพันธุ์ 7-14 ผลิตสารปฏิชีวนะ AB1 และ AB2 สามารถยับยั้งการงอกของโคนิเดียของเชื้อรา Pyricularia oryzae และลดการเกิดโรคไหม้ของข้าวในระยะกล้าไส้ 90-92 เปอร์เซ็นต์ (Gnanamanickam and Mew, 1990) นอกจากนี้มีงานทคลองที่แยกเชื้อราจากต้นข้าว ฟางข้าวบาร์เลย์ และตัวอย่างดิน มาทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคไหม้ของข้าว พบว่าเชื้อรา Trichothecium roseum, Chaetomium globosum, Micromonospora sp. และ Trichoderma harzianum สามารถลดการเกิดโรคไหม้ของข้าวได้ 77.5 เปอเซ็นต์ ถึง 91.6 เปอร์เซ็นต์ (Sy et al., 1994) ในประเทศไทยมีรายงานการใช้รา Chaetomium cupreum เพื่อควบคุมโรคไหม้ของข้าวพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการเกิดโรคไหม้ของข้าวในระยะต้นกล้ำ โดยการใช้สปอร์และสารสกัดของรา Ch. cupreum คลุกเมล็ดข้าวสายพันธ์ IR 442-2-58 สามารถช่วยลดการเกิดโรคได้ใกล้เดียงกับการใช้สารป้องกันกำจัดราประเภท captan (เกษม, 2532)สำหรับการควบคุมโรคไหม้ของข้าวโดยชีววิธี ได้ทำการศึกษาโดยแยกและคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ไว้ จำนวน 3 ไอโซเลท คือหมายเลข B-059 หมายเลข B-097 และหมายเลข B-125 ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อาศัยร่วมกับต้นข้าว (rice-associated bacteria) แบคทีเรีบปฏิปักษ์ทั้ง 3 ไอโซเลทนี้ ได้ผ่านการตัดเลือกในระดับ in Vitro และ in Vivo จากห้องปฏิบัติการแล้วว่ามีประสิทธิภาพในการขับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. grisea โดยใช้วิธี dual culture test และมีประสิทธิภาพควบคุมโรคไหม้บนใบข้าว โดยใช้ detached Leaf method แล้วนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 3 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไหม้ของ ข้าวในสภาพแปลงนา โคยใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในรูปของเซลล์แขวนลอย (bacterial suspension) ผลการทดลองพบว่า แบทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง 3 ไอโซเลต มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคข้อต่อใบเน่าและเน่าคอรวงได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบ (รัศมี และกณะ, 2546) อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการผลิตเป็นชีวภัณฑ์ เช่นผลิตเป็นรูปผง (powder formulation) และศึกษาถึงวิธีการใช้ (มapplication) เพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการนำไปใช้ควบคุมโรค ไหม้ในสภาพแปลงนา (Mew et al., 1994) จากงานวิจัยดังกล่าวข้างต้น สามารถคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ได้ 3 ไอโซเลท คือหมายเลข B-059, B-097, และ B-125 ที่มีแนวโน้มควบคุมโรคไหม้ของข้าวในสภาพแปลงนาได้ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้สะควก เพราะต้องเตรียมแบที่เรียปฏิปักษ์ในสภาพเซลล์แขวนลอยก่อนนำไปพ่นในแปลงข้าว จึงทำการทคลองนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ ผลิตแบคทีเรียปฏิปักษ์ หมายเลข B-059, B-097, และ B-125 เป็นชีวภัณฑ์รูปผง (powder formulation) สามารถเก็บได้นานและเกษตรกรหรือผู้ใช้นำไปละลายน้ำฉีดพ่นต้นข้าวเพื่อควบคุมโรคไหม้ของข้าวได้สะดวก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/2405/1/RIC020398a.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 ill., 3 tables
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การควบคุมโรคไหม้ของข้าวด้วยผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าว การใช้ผงเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารจากพืชบางชนิดในการควบคุมโรคเมล็ดด่างของข้าว การใช้จุลินทรีย์ที่อาศัยร่วมกับต้นข้าวเพื่อควบคุมโรคไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อรา การควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคใบไหม้ข้าว การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก