สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า
อนุชิต ฉ่ำสิงห์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of cassava digger with pick up and tools to cut cassava root off from stem
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุชิต ฉ่ำสิงห์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อนุชิต ฉ่ำสิงห์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวหมันสำปะหลังออกจากเหง้า เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดในระบบการผลิตมันสำปะหลัง อันเนื่องมากจากต้องใช้แรงงานคนเป็นหลักและประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 กิจกรรม คือ 1) วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดและเก็บหัวมันสำปะหลังแบบพ่วงติดท้ายรถแทรกเตอร์ ขนาด 50 แรงม้า เพื่อให้สามารถทำการขุดและเก็บรวมกองเหง้ามันสำปะหลังในคราวเดียวกัน ดำเนินการโดยสร้างชุดทดสอบ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบ สร้างและปรับปรุงแก้ไขเครื่องต้นแบบ มีส่วนประกอบหลักคือส่วนผาลขุด ส่วนการหนีบลำเลียง และกระบะบรรทุกชนิดลากพ่วง ทำงานโดยเหง้ามันสำปะหลังจะถูกขุดด้วยส่วนผาลขุด แล้วจะถูกหนีบจับและลำเลียงส่งมายังส่วนกระบะบรรทุก เพื่อนำมาเทรวมกองสำหรับการตัดหัวออกจากเหง้า และลำเลียงขึ้นรถบรรทุกต่อไป ผลการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 5.76 ตัน/ไร่ พบว่า เครื่องต้นแบบมีประสิทธิภาพการหนีบจับเฉลี่ยร้อยละ 88.38 ประสิทธิภาพการทำงาน ร้อยละ 67.13 อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน 4.31 ลิตร/ไร่ และมีการสูญเสียหัวมันรวมร้อยละ 3.47 โดยสูญเสียอยู่ในดิน และใต้ดินคิดเป็นร้อยละ 1.53 และ 1.94 ตามลำดับ ทั้งระบบการเก็บเกี่ยวมีอัตราการทำงาน 0.39 ไร่/ชั่วโมง สามารถลดแรงงานได้ 4.5 เท่า ของระบบการเก็บเกี่ยวเดิมที่ใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน ผลการวิเคราะห์การลงทุนที่อายุการใช้งาน 7 ปี เพื่อทดแทนระบบการเก็บเกี่ยวแบบใช้แรงงานคนทั้งหมด แบบใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังร่วมกับการใช้แรงงานคน และการจ้างเหมาขุด มีจุดคุ้มทุนหรือที่ 83.75, 121.39 และ 95.07 ไร่/ปี ตามลำดับ และ 2) วิจัยและพัฒนาเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้า เพื่อลดการใช้แรงงาน และเพิ่มความสามารถในการตัดตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้าภายหลังการขุดหัวและเหง้ามันสำปะหลังขึ้นมาจากดิน ซึ่งเป็นปัญหาลักษณะคอขวดที่สำคัญในระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ดำเนินการโดยศึกษา เลือกใช้ และพัฒนาส่วนการตัดและส่วนการขับใบตัด ผลการศึกษาและพัฒนาได้เครื่องมือตัดแบบใบเลื่อยชักระบบนิวแมติกส์ มีความสามารถในการตัด 615 กิโลกรัม/ชั่วโมง ใกล้เคียงกับการตัดด้วยแรงงานหญิงในระบบการตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้าของระบบปฏิบัติเดิม ช่วยลดความเหนื่อยยากของแรงงาน แต่ต้นทุนสูงกว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาต่อเพื่อเพิ่มความสมารถในการทำงานและมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The research project was carried out to support the solving problems on a high production cost and labor shortage in cassava harvesting. Two research project activities were conducted. First, the research and development of cassava digger and catcher machine attached to 50 hp tractor with three points hitched system was carried out to solve the problems of Fabrication of testing units, study on related factors, design and fabrication of prototype were conducted. The machine comprises of three major units, namely digging unit, catching and conveying unit and a collector or trailer unit. In operation, the tractor was driven and moved forward for pulling the machine along the planting furrows. The cassava-root clusters are dig and lifted up. In the same time, the cassava-root clusters are automatically gripped and conveyed by the conveyor unit to the collector unit. The testing results of a prototype for harvesting of Kasetsart 50 variety with yield of 5.76 t/Rai showed that field efficiency, fuel consumption, percentage of cassava-root catching, and percentage of yield loss were 67.13%, 4.13 l/Rai, 88.38% and 3.47%, respectively. For the harvesting system, working capacity was 0.39 Rai/hr, resulting a labor saving of 4.5 compared to that of the conventional harvesting system. Based on 7 years of economic life, break even point cross to harvesting system of using all labor, cassava digger combined with labor and using of custom service were 83.75, 121.39 and 95.07 Rai/year, respectively. The second activity was research and development of tools for cutting of cassava roots from the cassava rhizome after they were dug and lifted up from the soil. It is an importance problem as the bottle neck problem of the cassava harvesting system. Increasing of working capacity and reducing of number of are major purpose. Study on related factors and selection of appropriated cutting blade and driving unit as development of them were conducted. A prototype tool which is reciprocation type of cutting powered by pneumatic system was developed and tested. The working capacity of the tool to cut off cassava tubers from the rhizome is 615 kg/h which similar to working capacity of female labor in current harvesting system. Although, the drudgery of worker was relaxed but not significant different and tool’s cost is relative high. However, the tool has a potential to develop for increasing of working capacity and easy using.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดเก็บมันสำปะหลังและเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังจากเหง้า
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู อาหารจากมันสำปะหลัง สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลิดและขนย้ายหัวมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุก การพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาวิธีการเขตกรรมมันสำปะหลัง การออกแบบและสร้างเครื่องปลิดหัวมันสำปะหลัง โครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืชในมันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก