สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
นรินทร์ ภูศรีฐาน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นรินทร์ ภูศรีฐาน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลท่าค้ออำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ศึกษาสภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรคของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเกษตรกรจากบัญชีสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี 2546 ในเขตพื้นที่ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ให้ข้อมูล ร้อยละ 75.25 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อ่านหนังสือไทยได้ดี ร้อยละ 60.68 มีรายได้ของครัวเรือนต่อปีอยู่ระหว่าง 10,001- 15,000 บาท มีจำนวนแรงงานในภาคเกษตรเฉลี่ย ครอบครัวละ 3 คน ร้อยละ 34.57 มีพื้นที่ทำนาอยู่ระหว่าง 10-20 ไร่ สภาพดินเป็นร่วนปนทราย ระยะเวลาที่เกษตรกรปลูกข้าวมาเฉลี่ย 31 ปี ร้อยละ 90.84 เกษตรกรไม่เคยได้รับการฝึกอบรม เรื่องการปลูกข้าวและได้เคยได้รับเอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกข้าว สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ร้อยละ 100 เกษตรกรเจาะจงตราหรือยี่ห้อของปุ๋ยเคมีที่ต้องการ ร้อยละ 85.76 จะเลือกซื้อปุ๋ยเคมีตามสภาพของดิน ร้อยละ 90.51 เกษตรกรไม่สามารถควบคุมระดับน้ำก่อนใส่ปุ๋ยได้ ร้อยละ 78.31 เกษตรกรจะใส่ปุ๋ยในอัตรา 21-25 กิโลกรัม/ไร่ ใส่โดยวิธีหว่านหลังปักดำประมาณ 14 วัน ร้อยละ 1.02 เกษตรกรใส่ปุ๋ยแต่งหน้าสูตร 46-0-0 ในอัตราน้อยกว่า 5 กิโลกรัม/ไร่ ในการเก็บรักษาปุ๋ยเคมี ร้อยละ 93.56 เกษตรกรใช้วัสดุหรือไม้รองก้นกระสอบและมัดปากกระสอบ สำหรับปัญหาอุปสรรคของเกษตรกร ร้อยละ 99.33 มีปัญหาเรื่องปุ๋ยเคมีราคาแพง แรงานไม่เพียงพอในการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยเคมี ร้อยละ 39.32 เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีไม่ถึง 2 ครั้งต่อฤดู และร้อยละ 66.77 มีปัญหามากในการควบคุมระดับน้ำก่อนการใส่ปุ๋ย ร้อยละ 66.77 เกษตรกรไม่ทราบช่วงเวลาที่ถูกต้องในการใส่ปุ๋ย ส่วนสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องเกษตรกรมีปัญหาน้อย ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรแนะนำ ให้เกษตรกรจัดทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง เพื่อลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงและแนะนำให้เกษตรกรให้เห็นความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำก่อนการใส่ปุ๋ย ตลอดจนการใส่ปุ๋ยให้ถึง 2 ครั้ง โดยเฉพาะปุ๋ยแต่งหน้าเพื่อ เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร : กรณีศึกษาตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2546 ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546/2547 ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีเพาะปลูก 2546 สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีเพาะปลูก 2546 สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปีเพาะปลูก 2546 ตำบลนาคู กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกร ปี 2546 ตำบลสงเปือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรในเขตลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก