สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ
อรวินทินี ชูศรี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Technology to Increase Fruit Yield Quality of Rambutan (Nephelium lappaceum Linn.)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรวินทินี ชูศรี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของเงาะ 14 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน สีชมพู สีทอง น้ำตาลกรวด บางยี่ขัน และเจ๊ะมง และพันธุ์ลูกผสมพลิ้ว 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 และ 8 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จ.จันทบุรี ระหว่าง ปี 2554-2558 ศึกษาทั้งลักษณะทางปริมาณและคุณภาพ พบว่า ลักษณะรูปร่างใบของเงาะทุกพันธุ์เป็นแบบ Elliptic ส่วนปลายใบเป็นแบบ Acuminate และ Acute ฐานใบเป็นแบบ Cuneate และ Acute ใบมีสีเขียว G137A และ G139A ส่วนลักษณะทรงผลพันธุ์สีทอง น้ำตาลกรวด ลูกผสมพลิ้ว 5 และ 7 มีทรงผลแบบ Globose ขณะที่พันธุ์โรงเรียน สีชมพู ลูกผสมพลิ้ว 1, 2, 3, 4, 6 และ 8 มีทรงผลแบบ Ovoid และ พันธุ์บางยี่ขัน และเจ๊ะมง มีทรงผลแบบ Oblong สีผิวผลอยู่ในกลุ่มสีเหลืองส้ม และสีส้ม ส่วนลักษณะสีขนอยู่ในกลุ่มสีแดงชมพู ยกเว้น พันธุ์น้ำตาลกรวดที่มีผิวผลสีเหลือง ส่วนสีปลายขนอยู่ในกลุ่มสีเหลืองเขียว ลักษณะเนื้อเงาะสีขาวขุ่น ความล่อนของเนื้อจากเมล็ดอยู่ในระดับน้อย-มาก ลักษณะเมล็ดเป็น Obovoid และ Obovoid elongate สีเมล็ดด้านในอยู่ในกลุ่มสีเหลืองเขียว ดังนั้นพันธุ์ลูกผสมพลิ้ว3 จึงเป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับผลิตเพื่อการรับประทานผลสด เนื่องจากสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนพันธุ์โรงเรียน 14-20 วัน ติดผลได้ดี และให้ผลผลิตเท่ากับ 170.2 กิโลกรัม/ต้น ลักษณะรูปร่างผล และมีสีผล คล้ายพันธุ์โรงเรียน มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวซึ่งยังด้อยกว่าพันธุ์โรงเรียน ขณะที่พันธุ์สีทอง ลูกผสมพลิ้ว 4 และ 7 เหมาะสำหรับการแปรรูปเนื่องจากมีเนื้อหนา และเปลือกบาง สำหรับการทดสอบพันธุ์เงาะในภาคเหนือ จ.เชียงราย พบว่า เงาะพันธุ์สีทองมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด รองมาคือ พันธุ์โรงเรียน และแดงจันทบูร ส่วนพันธุ์พลิ้ว3 มีอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่ำสุด เริ่มออกดอกครั้งแรกหลังปลูก 4 ปี และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งจะไม่ตรงกับแหล่งผลิตในภาคตะวันออกและภาคใต้ จึงเป็นพื้นที่ที่สามารถกระจายการผลิตเงาะได้ การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อควบคุมการออกดอกของเงาะพันธุ์โรงเรียน ในจังหวัดจันทบุรี จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดเชียงราย พบว่า การใช้สารเมบิควอทคลอไรด์ เอทธีฟอน และพาโคลบิวทราโซล ป้ายที่กิ่งหลักของเงาะในช่วงก่อนการออกดอก 2 เดือน มีผลในการควบคุมการออกดอกของเงาะเพียงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยจะออกดอกก่อนกรรมวิธีที่ไม่ป้ายสาร 4-8 วัน และในบางปีก็ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่ไม่ป้ายสารฯ ส่วนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การใช้สารเมบิควอทคลอไรด์ที่ 3% มีแนวโน้มช่วยทำให้เงาะออกดอกก่อนการไม่ป้ายสาร โดยเปอร์เซ็นต์การออกดอก ผลผลิตและคุณภาพผลของทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน การจัดการช่อและการตัดแต่งช่อผลให้เหลือ 8 ผล/ช่อ ให้ผลเงาะที่มีน้ำหนักมากที่สุด มีจำนวนผล 25 ผล/กิโลกรัม จัดอยู่ในขนาดที่ 1 การตัดแต่งช่อผลให้เหลือ 12 และ 15 ผล/ช่อ และตัดช่อผล 1/3 ของความยาวช่อ มีจำนวนผล 27 ผล/กิโลกรัม จัดอยู่ในขนาดที่ 2 ในขณะที่กรรมวิธีควบคุมมีจำนวนผล 30 ผล/กิโลกรัม จัดอยู่ในขนาดที่ 3 ดังนั้นการจัดการช่อโดยการตัดแต่งช่อผลให้ผลผลิตเงาะที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการส่งออกสูงกว่าการไม่มีการจัดการช่อผล การศึกษาการตัดแต่งกิ่งเงาะพันธุ์โรงเรียนในปี 2555 พบว่า ต้นเงาะที่ตัดแต่งกิ่งแบบหนักและควบคุมความสูงต้น 3 เมตร และการตัดแต่งกิ่งตามวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติ ต้นเงาะสามารถแทงช่อดอกได้เร็ว และมีปริมาณผลผลิตเท่ากับ 124.0 และ 120.0 กก./ต้น แต่การตัดแต่งกิ่งตามวิธีที่เกษตรกรปฏิบัติ มีเปอร์เซ็นต์ผลผลิตตกเกรดสูงกว่าเท่ากับ 34.8 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในปี 2556 พบว่า การตัดแต่งกิ่งที่ความสูง 3 เมตร ให้ผลผลิตสูงสุด 117.20 กิโลกรัม/ต้น โดยแบ่งมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติของเงาะ ตามชั้นคุณภาพเป็น 3 ชั้น คือ เป็นผลผลิตชั้นพิเศษ ชั้นหนึ่ง และชั้นสอง เท่ากับ 32.22, 33.79 และ 24.97 กิโลกรัม/ต้น และไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้ (TSS) และความหนาเนื้อ
บทคัดย่อ (EN): The study on 14 varieties of rambutan including Rongrien (RR), Seechompoo (SC), Seethong (ST), Namtankraud (NT), Bangyeekhan (BK), Jaemong (JM) and 8 of F1 hybrids namely Plew 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 and 8. The result on qualitative characteristic showed that, the shape of leaflet was defined in an elliptic, the apex was an acuminate and acute. The basal was a cuneate and acute. The color of leaves was detected in the group of G137A and G139A. For fruit shape, ST NT Plew 5 and 7 were defined in a globose, RR SC Plew1, 2, 3, 4, 6 and 8 were an ovoid, while BK and JM were an oblong. Most of varieties revealed red color of fruit with red-pink and yellow-green spintern tip, except NT that appeared yellow fruit with yellow-green spintern tip. The aril color was showed in dull white with soft and crispy texture, moreover an adherence of testa to aril are intermediate–tight. The shape of seeds an obovoid and obovoid elongate with yellow-green color of endosperm. Therefore, Plew 3 is suitable for fresh production, an average harvesting index is about 14-20 days earlier than RR. while, ST Plew 4 and 7 were suitable for processing industry, because of high value of aril’s thickness and pericarp was thin. The seasonal of rambutan were conducted at Chiengrai Horticultural Research Center. The results were found that See-thong had the highest growth among Rongrien, Daeng Chantabune and Pleaw No.3 cultivars. These cultivars were flowering after plantinting for 4 years and in 2015, they were harvested in December. So, the north is one of the suitable planting areas to distribute production of rambutan. This research was conducted to study the PGR to control flowering of rambutan. There PGRs, namely mepiquat chloride, ethephon and paclobutrazol were use to control flowering of rambutan in Chanthaburi, Srisaket and Chaingrai provinces. The PGRs were applied to the main branches of rambutan trees before flowering 2 months. The results showed that all PGRs can induce flowering of rambutan 4-8 days earlier than control but no effect on flowering percentage, yield quality. The maximum rate of the PGRs has more effectiveness than the lower rate. To thinning fruits, The results showed that fruit thinning with 8 fruit/panicle gave highest weight and biggest size of fruit and gave 25 fruit/kg in size code 1. While, fruit thinning with 12 and 15 fruits/panicle remained, trimming 1/3 of a panicle gave 27 fruit/kg in size code 2, but control gave 30 fruit/kg in size code 3. It can increase income of grower 2-5 times. A study of hard pruning rambutan cv. ‘Rong Rien’ in 2012 at Chanthaburi Horticultural Research Center, (Chanthaburi). The result showed that after hard pruning and control plant height at 3 m. and farmers pruning practical showed that an earlier than other treatments with higher yield 124.0 and 120.0 Kg./tree. In 2013, 3 meter height pruning showed that higher yield 117.20 kg /tree. For rambutan fruit quality are classified in three classes defined by the National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standard (ACFS), with an Extra class, Class I and Class II at 32.22, 33.79. and 24.97 Kg./tree and no statistical difference in TSS and the fresh thickness.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
ทดสอบและขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตเงาะคุณภาพ โครงการวิจัยการทดสอบและขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตเงาะคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ. นครศรีธรรมราช การเปลี่ยนแปลงสีและผลของเคลือบผิวด้วย Sucrose fatty acid ester ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขิงคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตพืชในโรงเรือน โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตกล้วยเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตกาแฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก