สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต
สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต
ชื่อเรื่อง (EN): Development of oil palm micropropagation by liquid culture to increase the efficiency for oil palm propagation in the future
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq,) เป็นพืชน้ำมันที่มีความต้องการเป็นอันดับสอง ของโลก และ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมากในประเทศไทย เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันที่สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ หลากหลาย จึงทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น อย่างมากและผลผลิตน้ำมัน ปาล์มก็เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี แต่การผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีนั้นขึ้นกับ ขบวนการผสมระหว่างพันธุ์แม่ (Dura) กับพันธุ์พ่อ (Pisifera ) ซึ่งมีข้อจำกัดในลักษณะทางพันธุกรรม ที่ไม่สม่ำเสมอถึงแม้จะเป็นลูกผสมเดียวกัน รวมถึงปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของ เกษตรกรอีกด้วย ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการขยายต้น กล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ดี (Tenera) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยใช้ระบบการพัฒนาต้นอ่อนใน อาหารแข็ง แต่วิธีการนี้ก็ยังมีจุดอ่อนใน การใช้ต้นทุนและแรงงานในการย้ายเนื้อเยื่อสูง ดังนั้น การนำเอา วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยระบบ อาหารเหลวจึงเป็นทางเลือกที่นำมาแก้ปัญหาต้นทุนและแรงงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จากผลงาน วิจัยในปีแรกนี้ พบว่า ระบบอาหารเหลวในระยะการพัฒนาและเพิ่มจำนวนแคลลัส สามารถเพิ่มจำนวน embryogenic callus ได้ในปริมาณที่เร็วและมากกว่าอาหารแข็ง โดยสูตรอาหารที่ พัฒนาขึ้นมาใหม่ เพิ่มจำนวนแคลลัสได้มากกว่า 4 6 เท่า ขึ้นกับพันธุกรรมของสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันตัวอย่าง อีกทั้ง embryogeic callus จากอาหารเหลวยังสามารถพัฒนาเป็นต้นบนอาหารแข็งได้เร็วกว่าถึง 3 เท่า ปัจจุบันได้มีการใช้ระบบการเพาะเลี้ยงโดยใช้ Bioreactor ควบคู่ไปด้วย ซึ่งคาดว่า เมื่อพัฒนาระบบ Bioreactor ได้สำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีในระดัu large scale ใน อนาคต
บทคัดย่อ (EN): Oil palm (Elaeis guineensis Jacq.) is one economic crop in Thailand. The value of oil palm is due to its widen utilization in industrial level. The plantation of oil palm is expanded to large area in country. However, the large scale production of elite oil palm for farmer still needs to be developed for the high efficient method. Although, large scale propagation of elite oil palm clones through solid culture showed successful production, some limitation still remains. Standard micropropagation system was based on solid media. This protocol did not only show small somaclonal variation rate, but it took a long period of plant regeneration which was costly in man hours for subculture. Moreover, the improvement of the consistency among clonal plants is very important for oil palm micropropagation. Developing a liquid system for oil palm micropropagation is an efficient method which is helpful for management because the elite line of oil palm can be largely propagation in a short period of time, contributing to reduce almost all the laboratory operation cost. Furthermore, liquid culture can increase the consistency rate of tissue culture between lines and reduce the possibility of somaclonal variation. Developing a bioreactor system for large scale production of oil palm is also in progress and can be the most effective way to generate the mass oil palm clone using Bioreactor in the near future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์พันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2557
การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การพัฒนาการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารเหลว (liquid culture) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันในอนาคต การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อการขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง ศึกษาการขยายพันธุ์ผักย่านางด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร การพัฒนาระบบการเลี้ยงกล้วยไม้สิงโตหัวเข็มหมุดในอาหารเหลวเพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ การคัดเลือกและขยายพันธุ์กล้วยทนเค็มด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก