สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
จำลอง กกรัมย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Farmers’ Adoption of Crop Production Technologies in the Lower Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำลอง กกรัมย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จำลอง กกรัมย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย พริก มันสำปะหลัง และถั่วลิสง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของกรมวิชาการเกษตรของเกษตรกรและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพริกของเกษตรกร เกษตรกร 2,400 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2552 ผลการศึกษา พบว่า เทคโนโลยีการผลิตพริกที่เกษตรกรยอมรับระดับมาก ได้แก่ การอารักขาพืช ยอมรับร้อยละ 62 รองลงมา ได้แก่ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว การเตรียมพื้นที่ การดูแลรักษา และพันธุ์ โดยมีการยอมรับร้อยละ 49 41 41 31 และ 19 ตามลำดับ เทคโนโลยีที่เกษตรกรยอมรับระดับปานกลาง ได้แก่ พันธุ์ ยอมรับร้อยละ 81 รองลงมา ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ การดูแลรักษา การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การปลูก และการเก็บเกี่ยว ยอมรับร้อยละ 53 52 18 11 และ 3 ตามลำดับ การยอมรับชุดเทคโนโลยีการผลิตพริกของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรมีการยอมรับระดับมาก และระดับปานกลาง มีการยอมรับใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 34 และ 33 ตามลำดับ ประสบการณ์ในการปลูกพริก มีผลต่อการยอมรับด้านการเตรียมพื้นที่ และการดูแลรักษา เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่เกษตรกรยอมรับระดับมาก ได้แก่ ด้านพันธุ์ โดยมีการยอมรับที่ร้อยละ 99.9 รองลงมา ได้แก่ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว การอารักขาพืช การเตรียมพื้นที่ และการดูแลรักษาโดยมีการยอมรับ ร้อยละ 99.6 96.9 69.8 61.6 และ 40.4 ตามลำดับ เทคโนโลยีที่เกษตรกรยอมรับระดับปานกลาง ได้แก่ การปลูก ยอมรับร้อยละ 50.0 การยอมรับชุดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรมีการยอมรับระดับมาก และระดับปานกลางร้อยละ 80.6 และ 19.4 ตามลำดับ และประสบการณ์ในการปลูกมันสำปะหลังมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีด้านการเตรียมพื้นที่ การดูแลรักษา และการอารักขาพืช เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงที่เกษตรกรยอมรับระดับมาก ได้แก่ การเก็บเกี่ยว พันธุ์ การเตรียมพื้นที่ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ร้อยละ 99.9 94.2 68.1 58.7 และ 37.3 ตามลำดับ เทคโนโลยีที่เกษตรกรยอมรับระดับปานกลาง ได้แก่ การดูแลรักษา ยอมรับร้อยละ 43.4 เทคโนโลยีที่เกษตรกรยอมรับระดับน้อย ได้แก่ การปลูก ยอมรับร้อยละ 44.8 การยอมรับชุดเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสงของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรยอมรับระดับมาก ร้อยละ 48.3 ยอมรับระดับปานกลาง ร้อยละ 42.4 และยอมรับระดับน้อย ร้อยละ 9.3 และจำนวนพื้นที่ปลูกมีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง
บทคัดย่อ (EN): Crop production technology adoption of farmers in the lower northeast was investigated in chili, cassava and peanut. The study was conducted in order to find out the farmer’s adoption and factors affecting adoption. It was carried out between October, 2007 and September, 2009 by interviewing 800 farmers, each crop. The results of chili production showed that technologies which farmers adopted at high level were plant protection and harvesting. Technologies which farmers adopted at medium level were land preparation and post harvest. In the whole, farmers adopted DOA technology at high and medium levels only 34 and 33 %, respectively. Chili production experience had effects on the adoption of land preparation and cultivation. In cassava, it was found that technologies which farmers adopted at high level were variety, post harvest, harvesting, plant protection, land preparation and cultivation. Planting method was a technology which farmers adopted at medium level. In the whole, farmers adopted DOA technology at high level 80.6 % and at medium level 19.4 %. The experience of farmers had effects on the adoption of land preparation, cultivation and plant protection. In peanut, it was concluded that harvesting, variety, land preparation, plant protection and post harvest were adopted at high level. Whereas, cultivation and planting method were adopted at medium level and low level, respectively. It was found that plantation area influenced peanut production technology adoption of the farmers.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรรับรู้ในเขตโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก