สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก
นิพนธ์ แรมวิโรจน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิพนธ์ แรมวิโรจน์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก (2) การใช้เทคโนโลยีผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก (3) สภาพปัญหาและความต้องการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้เทคโนโลยีผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกจำนวน 109 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.71 ปี จบการศึกษาภาคบังคับเป็นส่วนใหญ่ มีการจ้างแรงงานในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 3.99 คน ส่วนมากประกอบอาชีพหลักทำสวนมะม่วง ผลผลิตมะม่วงเฉลี่ย 784.04 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,235.32 บาทและรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 20,568.26 บาท ส่วนมากมีหนี้สินแต่เป็นหนี้สินในระบบ สภาพพื้นที่ปลูกมะม่วงเป็นพื้นที่ไร่ไม่ยกร่อง ลักษณะดินเป็นดินลูกรัง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน พันธุ์ที่นิยมปลูก พันธุ์รับประทานสุกได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และพันธุ์รับประทานดิบได้แก่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น โชคอนันต์ มีน้ำใช้ตลอดปี ใช้สารเคมีปราบวัชพืชและป้องกันกำจัดโรค-แมลง การได้รับความรู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นสำคัญ ส่วนมากทำการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกในฤดูและทำการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว การห่อผลส่วนมากใช้ถุงห่อผลไม้ ระยะเวลาห่อผลเมื่ออายุ 50-70 วันหลังดอกบาน การใช้ปุ๋ยเคมีใช้หว่านรอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตามส่วนใหญ่จะเป็นปุ๋ยเม็ดที่จำหน่ายโดยทั่วไป อาหารเสริมที่ใช้เป็นปุ๋ยเกร็ดสูตรต่างๆและน้ำหมักชีวภาพจำนวนที่ใกล้เคียงกันซึ่งใช้โดยวิธีการฉีดพ่นทางใบ ปัญหาโรค-แมลงที่สำคัญ ได้แก่ โรคแอนแทรคโนส โรคราแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงใช้เมื่อพบการระบาดเพียงเล็กน้อยและได้รับการเรียนรู้วิธีการใช้ด้วยตนเองและจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่การจำหน่ายผลผลิตผ่านกลุ่ม การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเก็บเกี่ยวเองเป็นส่วนใหญ่ การเก็บผลผลิตให้ได้คุณภาพคือ นับอายุผลหลังดอกบาน สังเกตสีผิว การจำหน่ายผลผลิตแยกตามชั้นคุณภาพ มีตลาดคู่ค้าประจำ ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปัจจัยการผลิตมีราคาแพง และสิ่งที่ต้องการสนับสนุนที่สำคัญคือวิธีการคัดคุณภาพผลผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงของเกษตรกรอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกกและทอเสื่อของเกษตรกรในภาคตะวันออก โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก โครงการวิจัยการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การใช้เทคโนโลยีการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในเขตกรุงเทพมหานคร การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวสาลีของเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก