สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชและการผลิตพืชอินทรีย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับชาติและระดับภูมิภาค
ทอม เตียะเพชร, สุธาทิพย์ การรักษา, จงรักษ์ จารุเนตร, สุวิภา คำแหง, ศรีเวียง มีพริ้ง, คณพศ โกสินทร์วิกรม, ทอม เตียะเพชร, สุธาทิพย์ การรักษา, จงรักษ์ จารุเนตร, สุวิภา คำแหง, ศรีเวียง มีพริ้ง, คณพศ โกสินทร์วิกรม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชและการผลิตพืชอินทรีย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับชาติและระดับภูมิภาค
ชื่อเรื่อง (EN): Study and Development of Good Agricultural Practice and Organic Crop Certification in According to National and Regional Standards
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ระบบนิเวศน์ เทคโนโลยีในการผลิตไม้ผลและพืชผักอินทรีย์ เพื่อนำไปสนับสนุนการจัดทำมาตรฐาน จากการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากการผลิตเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตไม้ผลอินทรีย์ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พืชลำไย และจังหวัดจันทบุรี ดำเนินการในพืชมังคุด ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2557 กิจกรรมที่ 2 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืชผักอินทรีย์ ดำเนินการพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสุพรรณบุรีและลพบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 ทั้งสองกิจกรรมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณสมบัติดิน (ธาตุอาหาร ความหนาแน่นดิน จุลินทรีย์ดิน โลหะหนัก) คุณสมบัติน้ำ (จุลินทรีย์ที่เป็นโทษ) ปริมาณผลผลิตและสารพิษตกค้าง สำรวจแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติ ผลการทดลองพบว่า กิจกรรมที่ 1 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตไม้ผลอินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิตไม้ผลอินทรีย์ เช่น ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงและความหนาแน่นดินรวม ส่วนค่าอื่นๆทั้งปริมาณโลหะหนักในดิน น้ำหมัก พบแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน พบจุลินทรีย์ E. Coli และ Salmonella spp. ในน้ำ แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน และไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต ส่วนกิจกรรมที่ 2 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืชผักอินทรีย์ พบมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการผลิตพืชผักอินทรีย์ได้แก่ ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง จุลินทรีย์ในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นดินรวมเพิ่มขึ้น โลหะหนักในดิน น้ำหมัก และน้ำ ไม่เกินค่ามาตรฐาน จุลินทรีย์ E. Coli และ Salmonella spp. ในผลผลิต ไม่เกินค่ามาตรฐาน และไม่พบสารพิษตกค้างในน้ำและในพืชผัก คำสำคัญ: เกษตรอินทรีย์ ไม้ผลอินทรีย์ พืชผักอินทรีย์ สิ่งแวดล้อม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292794
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชและการผลิตพืชอินทรีย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับชาติและระดับภูมิภาค
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยการศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองพืชผัก การศึกษาสภาพการผลิตมะนาวในจังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การศึกษาการผลิตและผลตอบแทนการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่ โครงการวิจัยพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานการผลิตพืชและสินค้าพืช พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก