สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอกบางชนิดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2523
นิวัฒน์ เตชะสาน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอกบางชนิดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2523
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิวัฒน์ เตชะสาน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐาสังคมของเกษตรกร การผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอก คือ กล้วยไม้ กุหลาบ และมะลิ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรประชากรที่ทำการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 136 ราย การรวบรวมข้อมูลโดยการออกแบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าร้อยละ จากการศึกษาเรื่องนี้พบว่า เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40.5 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 อาชีพหลัก คือ การปลูกพืช เกษตรกรส่วนมากไม่มีการประกอบอาชีพรอง แต่มีที่ดินเป็นของตนเอง เนื้อที่ถือครองของเกษตรกรเฉลี่ยมีเนื้อที่ถือครองครอบครัวละ 13.3 ไร่ ส่วนมากใช้ทำการปลูกพืชพวกไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผลสำหรับสมาชิกในครอบครัวของเกษตรกรเฉลี่ยมีจำนวนสมาชิกครอบครัวละ 6 คน ส่วนแรงงานที่ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ยเพียงครอบครัวละ 3 คน เกษตรกรร้อยละ 61.0 ของเกษตรกรที่ทำการศึกษาทั้งหมด ทำการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ส่วนมากปลูกกล้วยไม้ประเภทหวายมาดามปอมปาดัวร์เป็นหลัก ระยะเวลาที่ปลูกเป็นอาชีพ 3-4 ปี เหตุผลที่ปลูกเพราะมีรายได้ดีและมีใจรักในการปลูก เกษตรกรส่วนมากได้พันธุ์กล้วยไม้จากเกษตรกรอื่นในท้องถิ่น เกษตรกรทั้งหมดมีการปลูกสร้างโรงเรือนเพื่อปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ และมีการใช้กาบมะพร้าวเป็นทั้งภาชนะปลูกและเครื่องปลูก ส่วนมากเกษตรกรมีการให้น้ำและให้ปุ๋ยในเวลาเช้า และมีการขยายพันธุ์โดยการแยกตนเองและเงินทุนส่วนมากเป็นของตนเอง เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่าย ดอกกล้วยไม้ผ่านพ่อค้าคนกลางและมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 8,100 บาท เกษตรกรที่ปลูกกุหลาบมีจำนวนร้อยละ 37.5 ส่วนใหญ่ปลูกกุหลาบพันธุ์ดอกสีแดงและสีชมพู ระยะเวลาที่ปลูกเป็นอาชีพ 1-2 ปี เหตุผลที่เกษตรกรปลูกกุหลาบเพราะปลูกตามเพื่อนบ้านเป็นส่วนมาก เกษตรกรส่วนใหญ่มิได้ทำการขยายพันธุ์กุหลาบด้วยตนเองและส่วนมากทำการปลูกโดยการใช้กิ่งชำ สำหรับการให้ปุ๋ยเกษตรกรส่วนมากใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ ส่วนการกำจัดวัชพืชเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน ส่วนความรู้ในการปลูกกุหลาบของเกษตรกรส่วนมากได้จากประสบการณ์ของตนเอง เกษตรกรส่วนมากมีเงินทุนในการปลูกกุหลาบเป็นของตนเอง ส่วนการจำหน่ายดอกกุหลาบ เกษตรกรต้องจำหน่ายโดยผ่านพ่อค้าคนกลางและมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 7,300 บาท มีเกษตรกรร้อยละ 4.5 ของเกษตรกรทั้งหมดที่ทำการปลูกเลี้ยงมะลิ ระยะเวลาที่ปลูกเป็นอาชีพ 1-6 ปี เหตุผลที่ปลูกเพราะมีรายได้ดี มีเพื่อนบ้านแนะนำ และสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับการกำจัดวัชพืชเกษตรกรส่วนมากมีการใช้ทั้งแรงงานคนและสารเคมี ส่วนความรู้ในการปลูกมะลิได้จากประสบการณ์ของตนเอง ส่วนเงินทุนของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นของตนเอง สำหรับการใช้ปุ๋ย เกษตรกรส่วนมากมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอนินทรีย์ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้พันธุ์มะลิจากกรุงเทพฯ สำหรับการจำหน่ายดอกมะลิเกษตรกรส่วนมากจำหน่ายโดยผ่านพ่อค้าคนกลางเช่นเดียวกับดอกกุหลาบ และมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 5,100 บาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2523
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2524
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ปี 2523
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอกบางชนิดในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.2523
กรมส่งเสริมการเกษตร
2524
การศึกษาการผลิตและการตลาดของไม้ตัดดอกบางชนิดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2525 สถานการณ์การผลิตและการตลาดถั่วเหลือง ปี 2527 การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สถานการณ์การผลิตและตลาดถั่วเหลืองปี 2528 การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่งของสมาชิกโครงการเร่งรัดการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2531 ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของดอกกุหลาบ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพการผลิตกุหลาบ การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การผลิตและการตลาดกุหลาบของเกษตรกรใน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปี พ.ศ.2527 ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก