สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วชิระ จิตจำสี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วชิระ จิตจำสี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ สภาพการเลี้ยงผึ้งพันธุ์และการได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งพันธุ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.9 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.5 คน โดยมีการใช้แรงงานเฉลี่ย 3.0 คน มีการทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากการเลี้ยงผึ้ง เป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมผู้เลี้ยงผึ้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความรู้และการอบรมวิชาการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ โดยเกษตรกรเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 92.8 รัง มีรายได้รวมต่อปี เฉลี่ย 408,067.80 บาท โดยมีรายได้จากการเลี้ยงผึ้งเฉลี่ย 143,044.44 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับความรู้การเลี้ยงผึ้งจากการติดตามแนะนำ การอบรมหลักสูตรการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ และจากการศึกษาดูงานฟาร์มผึ้ง ได้รับการคัดเลือกและการชี้แจงโครงการ ตลอดจนได้รับพันธุ์ผึ้ง อาหารและอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เกษตรกรมีการเลี้ยงผึ้งมาแล้วเฉลี่ย 5.9 ปี โดยเลี้ยงผึ้งพันธุ์อิตาเลียน ใช้รถปิกอัพในการเคลื่อนย้ายรังผึ้งเข้าหาแหล่งอาหาร มีการย้ายผึ้งไปเก็บน้ำหวานทางภาคเหนือ โดยใช้เงินทุนของตนเอง เกษตรกรสามารถผลิตนางพญาได้เองและเปลี่ยนในเวลาไม่เกิน 2 ปี มีการตรวจสุขภาพผึ้ง ให้น้ำตาลแก่ผึ้งเฉลี่ย 11.2 กิโลกรัมต่อรัง มีค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ย 76,850.40 บาท พบการทำลายของโรคและแมลงศัตรูผึ้ง เกษตรกรได้ผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 20.9 กิโลกรัมต่อรัง มีปฏิบัติตามวิธีการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง น้ำผึ้งที่ได้มีคุณภาพดี มีการสกัดไขผึ้ง และเก็บเกสรผึ้งจำนวนเล็กน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายน้ำผึ้งแบบบรรจุขวดขายปลีกในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.58 บาท ปัญหาในการเลี้ยงผึ้งของเกษตรกร พบว่ามีปัญหามากในด้านพืชอาหารในท้องถิ่น วัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง การขนย้ายผึ้ง การจัดการรัง โรคและศัตรูผึ้ง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การจำหน่ายน้ำผึ้งให้กับผู้ซื้อรายย่อยและการจำหน่ายน้ำผึ้งทั่วไป ความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง พบว่ามีความต้องการมากในด้านความรู้ การรับการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง การสนับสนุนปัจจัยการผลิต และการรับบริการอื่นๆ ในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การประเมินพันธุ์อ้อยดีเด่นในพื้นที่แปลงเกษตรกร และสร้างเครือข่ายการทดสอบพันธุ์ของนักวิจัยและเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมการเลี้ยงหมูหลุม ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สภาพการผลิตและการใช้ประโยชน์จากนุ่นของเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดมะเขือเทศส่งโรงงานอุตสาหกรรมของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้สารกำจัดวัชพืชในหอมแดงของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก