สืบค้นงานวิจัย
การรอดชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวแดงบางชนิดในสภาพน้ำขัง
อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การรอดชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวแดงบางชนิดในสภาพน้ำขัง
ชื่อเรื่อง (EN): Waterlogging effects on survival of rice and some red rice seeds
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anchalee Prasertsak
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อ่วม คงชู
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Uom Khongchoo
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการรอดชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวในสภาพน้ำขัง เพื่อหาแนวทางในการกำจัดข้าวเรื้ออย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีการเปลี่ยนพันธุ์ปลูก ดำเนินงานที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปี 2544-2546 แบ่งออกเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังมีการพักตัว ในสภาพน้ำขังระยะเวลาต่างๆกัน และการทดลองที่ 2 เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พีนพักตัวแล้ว งอกอายุ 0,3 และ 10 วัน ในสภาพน้ำขังระยะเวลาต่างๆ กัน โดยเมล็ดข้าวอยู่บนดิน และลึก 5 ซม. จากผิวดินที่ระดับน้ำลึกประมาณ 5-10 ซม. ใช้เมล็ดข้าวแดง 6 ชนิด และข้าวพันธุ์รับรอง 8 พันธุ์ เก็บตัวอย่างข้าวทุก 7 วันจนถึง 49 วัน สำหรับงานทดลองในกระถาง(ข้าวแดง) และ 63 วัน สำหรับงานทดลองในแปลงนา(ข้าวพันธุ์รับรอง) จากนั้นนำมาเพาะศึกษาความงอก การรอดชีวิต และการพักตัวโดยการติดสีของสารละลายเตตระโซเลียม ตลอดจนบันทึกการตายของข้าว จากผลการทดลองพบว่า ข้าวแดงที่ยังมีการพักตัวสามารถรอดชีวิตในสภาพน้ำขังได้นานกว่าข้าวพันธุ์รับรองทั่วไป แม้จะอยู่ในสภาพน้พขังนานถึง 49 วัน เมล็ดข้าวตายเพียงประมาณ 50% โดยยังคงมีการพักตัวประมาณ 20% ส่วนอีกประมาณ 30% สามารถพัฒนาเป็นต้นสมบูรณ์ได้หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์รับรองที่ยังมีการพักตัว มีเปอร์เซ็นการงอก และเปอร์เซ็นต์การพักตัวลดลง ตามระยะเวลาของการขังน้ำ แต่เปอร์เซ็นต์การตายเพิ่มขึ้น เมื่อขังน้ำนานขึ้น เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังมีการพักตัว(หลังจากเก็บเกี่ยว 7 วัน) และอยู่ในสภาพบนดิน ตาย 51 และ 57% ในสภาพน้ำขัง 7 และ 14 วันตามลำดับ แต่เมื่ออยู่ลึก 5 ซม. จากผิวดินตาย 44 และ48% ในสภาพขังน้ำ 7 และ 14 วันตามลำดับ ส่วนที่ยังรอดชีวิตอยู่ พบว่า เมื่อเอามาเพาะในสภาพปกติ สามารถงอกได้ประมาณ 30-40% และที่เหลือยังมีการพักตัวประมาณ 10-20% นั่นคือ ข้าวหลังเก็บเกี่ยว(7 วัน) แล้วขังน้ำ 7-14 วัน โอกาสที่ทำให้ข้าวตายมีเพียงประมาณ 50% และแม้จะขังน้ำนานถึง 56-63 วัน ก็ยังไม่สามารถทำลายความมีชีวิตได้หมด(ตายเพียง 70-80%) เมื่อเอามาเพาะในสภาพปกติสามารถงอกได้ประมาณ 10-20% และที่เหลือยังมีการพักตัวประมาณ 10% นอกจากนี้ยังพบว่า เปอร์เซ็นต์การพักตัวของเมล็ดข้าวไม่ว่าเมล็ดอยู่บนดินหรือลึกจากผิวดิน 5 ซม. ในสภาพน้ำขังมีค่าใกล้เคียงกัน แต่เมล็ดที่อยู่ลึก 5 ซม. มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การพักตัวมากกว่าเมล็ดที่อยู่บนดินเล็กน้อย สำหรับเมล็ดข้าวที่พ้นการพักตัวแล้ว กลบลึก 5 ซม. จากผิวดิน ตายในสภาพน้ำขังได้มากและเร็วกว่าข้าวที่ยังมีการพักตัว เมล็ดข้าวที่พ้นการพักตัวแล้วแต่ยังไม่งอก(0 วัน) และอายุ 3 วัน กลบลงดินลึก 5 ซม. ขังน้ำ 7 วัน ตาย 56% และ 86% ตามลำดับ และเมื่อขังน้ำนานขึ้นเป็น 14 วัน เปอร์เซ็นต์การตายเพิ่มขึ้นเป็น 93% และ100% ตามลำดับ ส่วนเมล็ดข้าวที่ปล่อยให้งอกประมาณ 10 วัน แล้วกลบลงดินจากนั้นขังน้ำประมาณ 7 และ 14 วัน จะทำให้เมล็ดข้าวตายเฉลี่ย 99-100% สำหรับเมล็ดข้าวที่พ้นการพักตัวแล้วอยู่บนดิน เปอร์เซ็นต์การตายมีความแปรปรวน เนื่องจากบางส่วนสามารถรอดชีวิตได้
บทคัดย่อ (EN): Survial of rice seed during waterlogging was studied in order to find out the approaches to eliminate volunteer plant or off types efficiently in case of changing plant variety in seed production. This study was conducted at Pathumthani Rice Research Center from 2001 to 2003. There are two experiments in this studies. First, dormant seeds were exposed to waterlogging soil condition. For waterlogging soil, seeds were either 0 or 5 cm depth below soil surface and water level was maintained at about 5-10 cm above the soil surface with 4 replications. Secondly, non dormant seeds(the seeds after releasing dormancy) were used in the same condition as above. Non dormant seeds were germinated 0,3,and 10 day before treatments. Six types of red rice seeds and 8 recommended variety of foundation seeds were used in the experiment. Red rice experiment was carried in pot condition but recommended rice seed experiment was carried in field condition. Germination (ability of seed to develop a normal seeding), dormancy after survival including dead seeds were recorded. Red rice seeds can survived longer than recommended variety rice seeds. Red rice died only 50% after 49 day waterlogging. Survived seeds could germinate only 20% and the remaining 10-17% was still dormant. Germination and dormancy percentage of recommended variety rice seeds after survival decreased but dead seed percentage increased during waterlogging. Rice seeds on the soil surface died 51% and 57% after 7 and 14 day waterlogging respectively but the seeds at 5 cm. depth below soil surface died 44% and 48% after 7 and 14 day waterlogging respectively. Survived seeds can germinate approximately 30-40% under favorable condition and the remaining 10-20% was still dormant. Rice seeds approximately died 70-80% after 56-63 day waterlogging and survived seeds were able to germinate 10-20% under favorable condition and the remaining 10% was still dormant. There is only small different of dormant seed percentage between seeds at 0 and 5 cm depth under waterlogging soil. Moreover, it was found that non dormant seeds with 0 and 3 day old seedlinf which were buried 5 cm depth under soil surface died 56% and 86% respectively after 7 day waterlogging and increased to 93% and 100% death respectively after 14 day waterlogging. Furthermore, 10 day old seedlings which were buried 5 cm depyh under soil surface died 99-100% after 7-14 day waterlogging. For non dormant seed on the soil surface, there is variation of seed death due to germinability of some seeds.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328820
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรอดชีวิตของเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวแดงบางชนิดในสภาพน้ำขัง
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การใช้พันธุ์ข้าวและอัตราเมล็ดพันธุ์ร่วมกับการจัดการข้าวแดงในนาหว่านน้ำตม การศึกษาสาเหตุการเกิดข้าวแดงปนในเมล็ดพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อหนอนกอในสภาพธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก