สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ
สุดาวรรณ มีเจริญ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Porcupine Orange Production for Quality Product
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุดาวรรณ มีเจริญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดเลือกสายต้นมะกรูดจากแหล่งปลูกต่างๆ ที่ให้ผลผลิตสูง รวบรวมไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร ผลการทดลองพบว่า สายต้นมะกรูดที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ใบใหญ่ ยาว และให้ผลผลิตสูง คือ สายต้นจากแหล่งปลูกนครปฐมที่มีลักษณะประจำพันธุ์และให้ผลผลิตของใบที่ดี คือ ใบรูปมนไข่ ขอบใบหยัก ปลายใบมนเว้า และให้ผลผลิตใบที่ 5.78 กิโลกรัมต่อต้น สายต้นจากแหล่งปลูกจันทบุรีให้ผลผลิตใบรองลงมา คือ 3.67 กิโลกรัมต่อต้น สายต้นจากแหล่งปลูกพิจิตร01 พิจิตร02 สุโขทัย พิจิตร03 พิจิตร04 และกาญจนบุรี ให้ผลผลิตใบที่ 2.88, 2.72, 1.63, 1.20, 0.85 และ 0.80 กิโลกรัมต่อต้น ตามลำดับ ได้มีการศึกษาต้นตอที่เหมาะสมในการผลิตมะกรูดเชิงพาณิชย์ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอทรอยเยอร์ โวลคาเมอเรียน่า คลีโอพัตรา มะนาวพวง ส้มโอ และกิ่งตอนพบว่า มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอทรอยเยอร์ให้ผลผลิตสูงสุด 561.60 กรัมต่อต้น ไม่แตกต่างจากกิ่งตอนซึ่งให้ผลผลิต 523.33 กรัมต่อต้น แต่แตกต่างจากมะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอโวลคาเมอเรียน่า คลีโอพัตรา และมะนาวพวงที่ให้ผลผลิต 318.66, 304.33 และ 228.33 กรัมต่อต้น ตามลำดับ มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอส้มโอให้ผลผลิตน้อยที่สุด 203.33 กรัมต่อต้น มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอทรอยเยอร์มีความยาวใบ 7.04 เซนติเมตร ความกว้างใบ 2.85 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 10.55 เซนติเมตร และมีความยาวรอบโคนต้น 4.98 เซนติเมตร มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอต้นตอโวลคาเมอเรียน่ามีความยาวใบ 7.28 เซนติเมตร ความกว้างใบ 2.85 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 9.92 เซนติเมตร และมีความยาวรอบโคนต้น 4.02 เซนติเมตร มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอคลีโอพัตรามีความยาวใบ 4.40 เซนติเมตร ความกว้างใบ 4.18 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 8.77 เซนติเมตร และมีความยาวรอบโคนต้น 4.47 เซนติเมตร มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอมะนาวพวงมีความยาวใบ 8.64 เซนติเมตร ความกว้างใบ 3.73 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 13.32 เซนติเมตร มีความยาวรอบโคนต้น 4.57 เซนติเมตร มะกรูดที่เสียบยอดบนต้นตอส้มโอมีความยาวใบ 7.91 เซนติเมตร ความกว้างใบ 3.53 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 11.78 เซนติเมตร มีความยาวรอบโคนต้น 4.70 เซนติเมตร และกิ่งตอนมะกรูดมีความยาวใบ 8.42 เซนติเมตร ความกว้างใบ 3.89 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 11.75 เซนติเมตร ความยาวรอบโคนต้น 3.97 เซนติเมตร ด้านรอยต่อพบว่า รอยต่อระหว่างมะกรูดกับต้นตอทรอยเยอร์ โวลคาเมอเรียน่า มะนาวพวง ส้มโอ และคลีโอพัตรา เชื่อมสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน การศึกษาการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตมะกรูดเชิงพาณิชย์ วางแผนการทดลองแบบ 3x3 Factorial in RCB มี 4 ซ้ำ 9 กรรมวิธี ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 ได้แก่ Nitrogen 1, 3 และ 5 ส่วน ปัจจัยที่ 2 ได้แก่ Potassium 1, 3 และ 5 ส่วน และกรรมวิธีการใส่ Phosphorus คงที่ ใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร จากการทดลองพบว่า การใส่ N:P:K ที่สัดส่วนต่างๆ ทำให้ความยาวใบ ความกว้างใบ และความยาวก้านใบ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ในด้านผลผลิตพบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติ การใส่ N:P:K ที่สัดส่วน 5:1:3 และ 5:1:5 ให้ผลผลิตสูงสุดที่ 13.52 และ 13.38 กิโลกรัม ตามลำดับ และการใส่ N:P:K ที่สัดส่วน 1:1:3 ให้ผลผลิตน้อยสุด คือ 5.21 กิโลกรัม
บทคัดย่อ (EN): The selection Porcupine Orange clone from various sources at high yield. Collected Porcupine Orange clone at Phichit agricultural research and development centre, the spacings 3x3 m. The studies found that Porcupine Orange clone from Nakhon Pathom was growing fast, big leaf, long leaf and higher yield potential. The Nakhon Pathom clone had characterization of the oval leaf shape, lobed leaf margin and obtuse leaf apex. The Nakhon Pathom clone had highest leaf yield of 5.78 kg. per plant. The Porcupine Orange clone from Chanthaburi had the leaf yield on the followed by 3.67 kg. per plant. The Porcupine Orange clone from Sukhothai, Kanchanaburi, Phichit01, Phichit02, Phichit03 and Phichit04 had the leaf yield of 1.63, 0.80, 2.88, 2.72, 1.20 and 0.85 kg. per plant respectively. Study rootstock in the production of Porcupine Orange. The experimental design was in randomized complete block design with 3 replications that is, Porcupine Orange which grafting on the rootstocks of the Troy citrange, Volkamer lemon, Cleopatra, puang lime, Pomelo and layer of Porcupine Orange. The results found that, the Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Troy citrange to the highest leaf yield of 561.67 g. per plant, not different from the layer of Porcupine Orange had leaf yield of 523.33 g. per plant, but different from Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Volkamer lemon, Cleopatra and Puang lime had leaf yield of 318.67, 304.33 and 228.33 g. per plant respectively. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Pomelo had lowest leaf yield of 203.33 g. per plant. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Troy citrange had long of leaf of 7.04 cm. wide of leaf of 2.85 cm. long of leaf petiole of 10.55 cm. and long stem circumference of 4.98 cm. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Volkamer lemon had long of leaf of 7.28 cm. wide of leaf of 2.85 cm. long of leaf petiole of 9.92 cm. and long stem circumference of 4.02 cm. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Cleopatra had long of leaf of 4.40 cm. wide of leaf of 4.18 cm. long of leaf petiole of 8.77 cm. and long stem circumference of 4.47 cm. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Puang lime had long of leaf of 8.64 cm. wide of leaf of 3.73 cm. long of leaf petiole of 13.32 cm. and long stem circumference of 4.57 cm. The Porcupine Orange grafting on the rootstocks the Pomelo had long of leaf of 7.91 cm. wide of leaf of 3.53 cm. long of leaf petiole of 11.78 cm. and long stem circumference of 4.70 cm. and layer of Porcupine Orange had long of leaf of 8.42 cm. wide of leaf of 3.89 cm. long of leaf petiole of 11.75 cm. and long stem circumference of 3.97 cm. Investigated surrounding of the scion and roostocks that found, Porcupine Orange which grafting on the rootstocks of the Troy citrange, Volkamer Lemon, Puang lime Pomelo and Cleopatra that resulted in the successful grafting. Fertilizer management suitable for the production of Porcupine Orange. The experimental design was in 3x3 factorial in randomized complete block with 4 replications including, Factor 1 were Nitrogen ratio 1, 3 and 5 part, Factor 2 were Potassium ratio 1, 3 and 5 part, for stable Phosphorous. The spacings 3x3 m. The results showed that N:P:K in ratio various found wide of leaf, long of leaf and long of leaf petiole not significant different, but In terms of yield had significant different. N:P:K in ratio of 5:1:3 and 5:1:5 had the highest yield of 13.52 with 13.38 kg. The N:P:K in ratio of 1:1:3 had lowest yields of 5.21 kg.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตไม้ผลในพื้นที่โครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามหวานอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการข้าวเปลือกเพื่อรักษาคุณภาพ โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก การผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายข้าว โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตการเกษตรในความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก