สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือลอบปูทะเลแบบพับได้ บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด
สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, คณิสร ล้อมเมตตา, อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ, สนธยา กูลกัลยา - มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือลอบปูทะเลแบบพับได้ บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด
ชื่อเรื่อง (EN): Efficiency Study of Mud Crab Collapsible Trap in Trat Bay, Trat province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือลอบปูทะเลแบบพับได้ บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด ดำเนินการโดยใช้ลอบปูทดลองที่มีตาอวนทดลองขนาด 20, 25 และ 35 มิลลิเมตร ดักจับปูทะเลในเขตน้ำลึกไม่เกิน 5 เมตร ในพื้นที่อ่าวตราด จังหวัดตราด ทั้งกลางวันและกลางคืน จำนวน 4 ครั้ง ในช่วงเดือนมีนาคม 2553 ผลการศึกษาพบว่าชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดมี 15 ชนิด 439 ตัว โดยมีสัตว์น้ำเป้าหมายที่จับได้ 2 ชนิด คือ ปูทะเล(ขาว) (Scylla paramamosain) ปูทะเล(ดำ)(Scylla olivacea) ส่วนสัตว์น้ำพลอยถูกจับมีปูม้า(Portunus pelagicus) ปูกะตอย (Charybdis spp.) ปูใบ้ (Sphaerozius sp.) กั้งตั๊กแตน (Oratosquilla neap ) กุ้งกะต่อม (Macrobrachium equidens ) กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) แมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda) ปลาลิ้นหมา(Cynoglossus macrolepidotus ) ปลาอุบ (Batrachus grunniens )ปลาบู่ (Acentrogobius caninus ) ปลาบู่เขือ (Pseudapocryptes lanceolatus) ปลาใบขนุน (Siganus javus) และปลากด (Tachysurus sp.) ตาอวนที่จับสัตว์น้ำได้มากชนิดและจำนวนตัวมากที่สุดคือ ตาอวนขนาด 20 มิลลิเมตร รองลงมาคือ ตาอวนขนาด 25 มิลลิเมตร และขนาดตาอวน 35 มิลลิเมตร ตามลำดับ ขนาดลำตัวของสัตว์น้ำที่จับได้ในลอบที่มีตาอวน 20 มิลลิเมตร มีขนาดเล็กที่สุดยกเว้นปูม้า ส่วนในลอบปูที่มีขนาดตาอวน 25 และ 35 มิลลิเมตร สัตว์น้ำที่จับได้มีขนาดลำตัวใหญ่ขึ้นตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าขนาดตาอวนที่ใช้ในการทดลองที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพลอยถูกจับมากที่สุดคือ ตาอวนขนาด 20 มิลลิเมตร รองลงมาคือ ตาอวนขนาด 25 และ 35 มิลลิเมตร ตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาสามารถแสดงขนาดตาอวนที่เหมาะสมที่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำพลอยถูกจับน้อยที่สุดคือตาอวน 35 มิลลิเมตร แต่อย่างไรก็ตามขนาดตาอวนที่ใหญ่เกินไปส่งผลให้เกิดความสิ้นเปลืองของเหยื่อล่อที่วางไว้ในลอบเนื่องจากถูกสัตว์เล็กสัตว์น้อย ลอดตาอวนเข้าไปแทะเล็มเหยื่อ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจับปูทะเลซึ่งเป็นสัตว์น้ำเป้าหมายได้ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจับของลอบปู เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ ทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวตราดอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างยั่งยืนต่อไป คำสำคัญ : ลอบปูทะเลแบบพับได้ ปูทะเล สัตว์น้ำ และอ่าวตราด
บทคัดย่อ (EN): Study of catching efficiency of the collapsible crab trap in Trat bay, Trat province, was carried out by using collapsible crab trap at different mesh sizes. The mesh sizes of 20, 25 and 35 millimeters were utilized to catch the crabs at sea dept of not more than 5 meters for four times at daytime and nighttime during March 2010. The results show that two species of desired mud crabs including Scylla paramamosain and Scylla olivacea were entrapped. In addition to sea crabs, the other aquatic animals were entrapped including Portunus pelagicus, Charybdis spp., Sphaerozius sp., Oratosquilla neap, Macrobrachium equidens, Penaeus merguiensis, Carcinoscorpius rotundicauda, Cynoglossus macrollepidotus, Batrachus grunniens, acentrogobius caninus, Pseudapocryptes lanceolatus, Siganus javus and Tachysurus sp. The highest amount and type of aquatic animals were achieved by using the mesh size of 20, 25 and 35 millimeters, respectively. The smallest of aquatic animals were catch by using the mesh size of 20 millimeters except for Portunus pelagicus. The bigger size of aquatic animals was catch by using the mesh size of 25 and 35 millimeters. In conclusion, the optimal mesh size for catching the mud crabs were 35 millimeters because the other aquatic animals were less entrapped. However, the bigger mesh size could waste the bait cost and decrease the ability for catching the mud crabs. This study is a fundamental knowledge for other researches to manage the aquatic resources in Trat bay. Keywords : Mud Crab Collapsible, Mud Crab, Aquatic Animals, Trat Bay
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือลอบปูทะเลแบบพับได้ บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
30 กันยายน 2552
การศึกษาชีววิทยาของประชากรปูทะเล Scylla sp.ในอ่าวตราด จังหวัดตราด โครงสร้างประชาคมของสัตว์ทะเลหน้าดิน บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด การประเมินสภาวะคุณภาพน้ำและดินตะกอนบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด ความหลากหลายทางชีวภาพของปูบริเวณหมู่เกาะมัน จังหวัดระยอง ชีววิทยาบางประการของปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskal, 1755) บริเวณอ่าวนครศรีธรรมราช ความหลากหลายทางชีวภาพของปูบริเวณอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ชีววิทยาบางประการปูทะเล Scylla olivacea บริเวณชายฝั่งชุมชน บ้านบางสะเก้า จังหวัดจันทบุรี ประสิทธิภาพการจับและการเลือกจับของลอบปูแบบพับได้ที่ใช้อวนสีเขียวและสีแดงและอวนตาใหญ่กับตาเล็ก แนวทางการฟื้นฟูแหล่งหอยลายบริเวณจังหวัดตราด การพัฒนากระบวนการภายหลังการเก็บเกี่ยวปูทะเลและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก