สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาตาลโตนด
นรินทร์ พูลเพิ่ม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาตาลโตนด
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Palmyra Palm
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นรินทร์ พูลเพิ่ม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาตาลโตนด 1. การศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ตาลโตนดเพื่อการส่งออกเป็นไม้ประดับ ประกอบด้วย 2 การทดลองย่อย คือ การศึกษาชนิดของ ภาชนะที่ใช้เพาะกล้าตาลโตนด 5 ชนิด และการศึกษาชนิดของวัสดุที่ใช้เพาะกล้าตาลโตนด 10 ชนิด จากการทดลองพบว่า ภาชนะและวัสดุที่เหมาะสมในการเพาะกล้าตาลโตนดมากที่สุดเป็น ถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 5x20 นิ้ว โดยใช้ดินร่วนผสมแกลบดิบ และทราย อัตรา 1:1:1 หรือ ใช้วัสดุขุยมะพร้าวผสมแกลบดำ อัตรา 1:1 ซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถขนส่งไกล ๆ โดยเฉพาะการขนส่งเพื่อการส่งออกได้สะดวก ในแหล่งที่หาภาชนะ และวัสดุที่ใช้ในการเพาะกล้าตาลโตนดตามคำแนะนำไม่ได้ ควรดัดแปลงโดยการใช้กระสอบใส่ปุ๋ยที่เป็นกระสอบป่าน หลังจากใช้ปุ๋ยเคมีหมดแล้ว ให้ล้างน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้ง ใส่ขี้เถ้าแกลบดำ หรือ แกลบดิบเกือบเต็มถุง แล้วนำเมล็ดตาลโตนด ที่แช่น้ำมาแล้ว 1 เดือน เพื่อหยุดการพักตัว นำมาเพาะในถุงปุ๋ยดังกล่าว ถุงละ 10 - 15 เมล็ด ต่อจากนั้นประมาณ 6 - 8 เดือน ให้นำถุงปุ๋ยที่เพาะกล้าตาลโตนดมาเทออก นำต้นกล้าตาลโตนดที่งอก และขึ้นเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ ไปเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 6x12 นิ้ว โดยใช้วัสดุปลูก ดินร่วนผสมแกลบดำ และปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1:1:1 จะได้ต้นกล้าตาลโตนดที่เจริญเติบโตเร็ว และขนย้ายได้สะดวก ขึ้นอีกวีธีหนึ่ง 2. การศึกษาวิธีการขยายพันธุ์ตาลโตนดพันธุ์ดีโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อใบอ่อนส่วนยอดด้วย แอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยคลอร็อกซ์ 15 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 20 นาที แล้วฟอกครั้งที่สอง ด้วยคลอร็อกซ์ เข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ นาน 10 นาที สามารถใช้ฟอกฆ่าเชื้อใบอ่อนได้โดยไม่พบการปนเปื้อน และสามารถใช้เนื้อเยื่อใบอ่อน ในการทดลองเพาะเลี้ยงต่อไปได้ การขยายพันธุ์ตาลโตนดพันธุ์ดี โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นงานที่สำคัญ หากทำสำเร็จจะได้ต้นกล้าตาลโตนดพันธุ์ดี เป็นปริมาณมาก และไม่กลายพันธุ์ เหมือนการเพาะเมล็ด และทราบเพศของต้นที่นำมาขยายสายพันธุ์แน่นอน ตาลโตนดมีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แยกคนละต้น แต่เนื่องจากงบประมาณจำกัด ปี 2553 ไม่ได้ดำเนินการต่อ หากเป็นไปได้ ทางกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีเครื่องมือและห้องปฏิบัติการด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรศึกษาเทคนิคการขยายพันธุ์ตาลโตนดโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อ เพื่อให้ได้ต้นกล้าตาลโตนดพันธุ์ดีมาปลูกเป็นการค้าต่อไป 3. การศึกษาวิธีการจัดการงวงตาลโตนดด้วยวิธีการต่าง ๆ ก่อนการปาดตาล เพื่อให้ได้น้ำตาลสดมากที่สุด พบว่า ในตาลโตนดต้นตัวผู้ หลังจากนวดงวงตาล ด้วยไม้คาบตาล 1-2 วัน วันเว้นวันแล้ว นำงวงตาลดังกล่าวแช่ในน้ำใส เป็นเวลา 1 วัน แล้วปาดตาล ได้น้ำตาลมากที่สุด เฉลี่ย 126 ลิตร ต่องวง ส่วนตาลโตนดต้นตัวเมีย หลังจากนวดปลีตาลด้วยไม้คาบตาล 1-2 วัน วันเว้นวันแล้ว นำดินโคลนพอกปลีตาลเป็น เวลา 1 วัน ก่อนปาดตาล พบว่าได้น้ำตาลสด มากที่สุด เฉลี่ย 120 ลิตร ต่อ 1 ปลีตาล การจัดการงวงตาลและปลีตาล ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ก่อนการปาดตาล 5 กรรมวิธี การจัดการงวงตาลดำเนินการที่พิษณุโลก และการจัดการปลีตาลดำเนินการที่นครสวรรค์ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ควรทำการทดลองซ้ำ ในแหล่งปลูกต่าง ๆ ที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัด เพชรบุรี นครนายก และ สงขลา เพื่อยืนยันผลการทดลอง หรือหาเทคนิคอื่น ๆ ในการจัดการงวงตาล หรือปลีตาล เพื่อผลิตน้ำตาลสดตลอดทั้งปีต่อไป 4. การศึกษาและพัฒนาการผลิตน้ำตาลโตนดเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่าง ๆ อย่างถูกสุขอนามัย จากการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดแบบเข้มข้น (น้ำตาลปึก น้ำตาลแว่น) จากจังหวัด สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบุรี นครสวรรค์ และ สงขลา จำนวน 18 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาคุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนของน้ำตาลโตนด พบว่า ส่วนใหญ่จะผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกเว้นจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่ผ่าน 3 ตัวอย่าง คือ สข.3 พบ.1 และ พบ.2 ส่วนการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ผลิต น้ำตาลโตนด พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งในด้านสถานที่ตั้ง อาคารที่ทำการ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการทำ การควบคุมขบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด บุคลากรและคุณลักษณะผู้ผลิต 5. การศึกษาและพัฒนาจาวตาลเชื่อมเพื่อการส่งออก จากการสุ่มเก็บตัวอย่าง จาวตาลเชื่อม จากจังหวัด นครสวรรค์ เพชรบุรี และ ชัยนาท จำนวน 5 ตัวอย่าง นำไปวิเคราะห์หาคุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของผลไม้เชื่อม พบว่า ส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของผลไม้เชื่อม ส่วนการสำรวจ และสัมภาษณ์ผู้ผลิตจาวตาลเชื่อมในแต่ละแหล่งผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ถูกสุขลักษณะเหมือนการผลิตน้ำตาลโตนด จากปัญหา และอุปสรรค์ในการผลิตน้ำตาลโตนด และจาวตาลเชื่อมดังกล่าว จึงควรส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจในหลักการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สามารถแข่งขันทั้งตลาดใน และต่างประเทศได้ 6. ตาลโตนดเป็นพืชวงค์ปาล์มที่มีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย แยกอยู่คนละต้น ต้นตัวเมียจะเก็บผลผลิตได้ทั้ง ผลตาลอ่อน ผลตาลแก่ และน้ำตาลสด ส่วนต้นตัวผู้จะเก็บผลผลิตได้เฉพาะน้ำตาลสดเท่านั้น ตาลโตนดที่ปลูกด้วยต้นเพาะเมล็ด ใช้ระยะเวลา 10-12 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และจึงจะทราบว่าตาลโตนดต้นนั้น เป็นตาลต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมียซึ่งในทางปฏิบัติเกษตรกรต้องการตาลโตนดต้นตัวเมีย มากกว่าต้นตัวผู้ ถ้าเป็นไปได้ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการคัดแยกเพศตาลโตนด ตั้งแต่ต้นกล้า เกษตรกรจะเลือกปลูกเฉพาะต้นตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายดูแลรักษาตาลโตนดต้นตัวผู้มากเกินจำเป็นได้ 7. จาวตาลเป็นส่วนของเนื้อภายในเมล็ด ซึ่งจะพัฒนาเป็นใบเลี้ยงของต้นตาลในช่วงต่อไป ในการผลิตจาวตาลเชื่อมนั้น ผู้ผลิตจะต้องใช้มีดที่คม และสะอาด เฉาะที่เมล็ดตาล เพื่อนำจาวตาลออกมาเชื่อมตามขั้นตอนการผลิต ซึ้งโดยปกติเมล็ดตาลโตนดจะแข็ง เฉาะยากผู้เฉาะเมล็ดตาลจะต้องมีมีดที่คม สะอาด และใช้ความชำนาญสูงมาก ในการเฉาะจาวตาลมาเชื่อมแต่ละครั้ง ถ้าพลาดอาจได้รับบาดเจ็บได้ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ควรมีการวิจัย และพัฒนา เครื่องมือ ในการปอกจาวตาล ที่มีประสิทธิภาพ ทดแทนแรงงานที่มีความชำนาญ หายากขึ้น และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาตาลโตนด
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2552
การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การพัฒนาแป้งกึ่งสำเร็จรูปจากเนื้อตาลสุก โครงการวิจัยและพัฒนาเบญจมาศ โครงการวิจัยและพัฒนาอ้อยและน้ำตาล ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการวิจัย การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลโครงการหลวง การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของตาลโตนด โดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ. โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วแปยีให้เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก