สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือ
วิทยา อภัย - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Development of the Postharvest Technologies on Litchi in Northern Region
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิทยา อภัย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ลิ้นจี่เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่เก็บรักษาได้เพียง 2-3 วันเนื่องจากสีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าเสีย เทคโนโลยีการยืดอายุลิ้นจี่ในปัจจุบันได้แก่ 1) การลดอุณหภูมิด้วยน้ำเย็นช่วยยืดอายุได้ ~10 วันที่อุณหภูมิ 0-5 ?C แต่ปัญหาที่พบคือ การปนเปื้อนในน้ำเย็นจากจุลินทรีย์ ดังนั้นวิธีการลดการปนเปื้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็น และ 2) การรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สามารถยืดอายุการเก็บรักษาระหว่างส่งออกได้นาน 30-40 วัน แต่พบปัญหา คือ การกำหนดมาตรฐานการตกค้างของ SO2 ในเนื้อผลต่ำของสหภาพยุโรป (EU) เพียง 10 ppm และมาตรฐานโคเดกซ์กำหนดค่าการตกค้างทั้งผลเพียง 50 ppm และมีบางประเทศไม่ยอมรับผลไม้ที่ผ่านการรมก๊าซ SO2 ทำให้เป็นข้อจำกัดในการส่งออกลิ้นจี่ของไทย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (สวพ.1) จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือระหว่างปี 2557-2558 โดยวิจัยหาเทคโนโลยีใหม่ทดแทนการรม SO2 เช่น การแช่กรดเกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ผสมโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 3% นาน 5 นาที พบว่า การตกค้างของ SO2 ในเนื้อต่ำกว่า 10 ppm และต่ำกว่าค่าการตกค้างทั้งผล 50 ppm เมื่อเปรียบเทียบกับการรม SO2 ปกติ การวิจัยหาเทคโนโลยีทดแทนที่ไม่มีองค์ประกอบของสารประกอบ SO2 กรณีบางประเทศไม่ยอมรับ พบว่า การแช่ผลในกรดไฮโดรคลอริก 5% นาน 5 นาทีมีประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมา คือ แช่คลอรีนไดออกไซด์ 0.6% นาน 5 นาที ทำให้เก็บรักษาลำไยที่ 2-5 oC และความชื้นสัมพัทธ์ 85-90% ได้นาน 28 วัน มีการตกค้างต่ำและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ส่วนเทคโนโลยีการลดการปนเปื้อนในน้ำเย็นสำหรับลดอุณหภูมิผลลิ้นจี่นั้นพบว่าการผสมคลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) 300 ppm ช่วยลดการปนเปื้อนได้ คณะวิจัยจึงได้ทดสอบพัฒนาเครื่องต้นแบบสารทดแทน คือ การแช่กรดเกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ผสมโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ 3% นาน 5 นาที ที่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน และเทคโนโลยีการผสมคลอรีนไดออกไซด์ 300 ppm ลดการปนเปื้อนในน้ำเย็นสำหรับลดอุณหภูมิผลลิ้นจี่ทดแทนแรงงานคนที่มีขีดความสามารถ 10 ตะกร้าพลาสติกต่อ 5 นาที ซึ่งผลงานวิจัยและพัฒนานี้ผู้ประกอบการส่งออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งออกลิ้นจี่ได้ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Litchi is one of the important economic for export of Thailand but it is short shelf life by 2-3 days caused by pericarp browning and fruit rotting. There have commercially been two methods for extending shelf life of litchi for export. I) Hydrocooling could prolong shelf life for at least 10 days during storage at 0-5 ?C but it could not protect the problem of cooling water contamination caused by microorganism thus the solution to solve this problem was needed. II) Fruit fumigated with sulfur dioxide (SO2) could commercially extend shelf life during export for 30-40 days but it might risk because some imported countries have established too low limit standard of SO2 residue in fruit flesh, i.e. EU set below 10 ppm in fruit flesh including Codex set below 50 ppm in whole fruit. Some restricted countries have not accepted fruit fumigated SO2 thus it limited contents of fresh Thai litchi for export. Office of Agricultural Research and Development Region 1, Chiang Mai province conducted the research and development on postharvest management of litchi for exporting from 2014-2015. The new alternative to SO2 was investigated. The results found that dipping in HCl 1% containing sodium metabisulfite 3% for 5 minutes. The results found that SO2 residue in fruit flesh and whole fruit was significantly less than 10 ppm and 50 ppm respectively as compared with the conventional method. The researches on the alternative to replace SO2 (without SO2 component) due to some restricted countries not accepted were studied. The results found that dipping in HCl 5% for 5 minutes showed the highest efficacy followed by chlorine dioxide 0.6% for 5 min and prolonged shelf life for 28 days at 2-5oC and 85-90% RH. This treatment had low residue in fruit flesh and thus safe for consumer. For technology to decrease contamination in cooling water, it found that disinfectant chlorine dioxide at 300 ppm mixed could decrease this problem. Therefore, original dipping machine was developed with individually 1) HCl 1% containing sodium metabisulfite 3% and safe for the workers and 2) cooling water containing chlorine dioxide 300 ppm in decreasing contamination in order to replace manual dipping. The capacity of this method was 10 baskets per 5 minutes/time and this could be greatly benefited for longan exporters in commercial scale.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292783
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือ
วิทยา อภัย
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งขาว การประเมินผลโครงการศึกษาทางไกลของวิทยาเขตสารสนเทศในเขตภาคเหนือ โครงการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารปลาต้นทุนต่ำสำหรับเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การชะล้างใต้ทรงพุ่มของลิ้นจี่บนชุดดิน Acrisol ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลำไย โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือคว้านเมล็ดลิ้นจี่ การใช้เทคโนโลยีการปลูกงาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ปี 2538 การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร ของแม่บ้านเกษตรกรในภาคเหนือ แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับลิ้นจี่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ความคิดเห็นของผู้ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนระดับอำเภอในเขตภาคเหนือต่อโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อชาวชนบท

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก