สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรี
ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting the Achievement of the Operation of 4-H Groups in Changwat Prachinburi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duddeaw Wongpak
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อมูลทั่วไป เศรษฐกิจสังคมและจิตวิทยาของกลุ่มยุวเกษตรกร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและจิตวิทยากับความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรและเพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือสมาชิกยุวเกษตรกรอยู่ใน 13 อำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 200 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบ purposive sampling รวบรวมข้อมูลโดลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบียงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบปกติ (multiple regression analysis) ตัวแปรทางด้านบุคคล เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา ที่เลือกมาศึกษรคือ ผลตอบแทนสมาชิกจากการทำงานรวมพื้นที่ทำการเกษตรผู้ปกครองของสมาชิก อายุของสมาชิก การมีส่วนร่วมในงานกลุ่มของสมาชิกการสนับสนุนจากผู้ปกครองของสมาชิก การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและที่ปรึกษากลุ่ม ระยะเวลาการเข้าร่วมกลุ่มของสมาชิกขนาดของกลุ่ม ความรู้ทางด้านการเกษตรของสมาชิกแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของสมาชิก ความต้องการพวกพ้องของสมาชิกกลุ่มและลักษณะความเป็นผู้นำของสมาชิกยุวเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของสมาชิกและขนาดของกลุ่มยุวเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของสมาชิกกลุ่มทำให้สมาชิกเกิดแรงผลักดันและมีความปรารถนาที่จะได้รับผลสำเร็จในการดำเนินงาน ตลอดจนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันสูงสุดตามต้องการ นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่มีขนาดเล็กจะประสบความสำเร็จสูงทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าถ้ากลุ่มมีขนาดเล็กสมาชิกมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม และมีโอกาสที่จะแสดงความสามารถต่าง ๆ ให้กับกลุ่ม ตลอดจนสมาชิกจะเกิดความสมัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันร่วมกันต่อสู้ปัญหาต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายของกลุ่มที่ตั้งไว้ ปัญหาของการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรีได้แก่ ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน บุคลากรไม่เพียงพอและเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ในการดำเนินงานกับกลุ่ม ขาดแรงจูงใจในการทำงานกับกลุ่ม ผู้บริหารและผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญในการดำเนินงานกลุ่ม ฯลฯ ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้ก็คือ ถ้าต้องการให้กลุ่มประสบความสำเร็จ กลุ่มควรมีขนาดเล็ก (ประมาณ 10-15 คน) เพราะจะได้มีความคล่องตัว อีกประการหนึ่งควรส่งเสริมให้สมาชิกมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยการฝึกอบรมลักษณะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นกลุ่ม ให้เห็นความสำคัญของพลังกลุ่ม ฯลฯ เป็นต้น
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to investigate the biographical, socioeconomic and psychological factors of 4-H groups, to determine the relationship between various factors and the achievement of the operation of 4-H groups and to study the problems and needs of the its group members. The population studied was 200 4-H group members in 13 Amphurs of Changwat Prachinburi. Purposive sampling was used and the data was collected and analysed by the use of percentage, means, standard deviation and multiple regression analysis. Independent variables include the return from group projects activities, parents land holding, age of 4-H group members, participation of 4-H group members, support from parents, support from extension workers and groups advisors, duration of participation, size of group, agricultural knowledge, achievement motive, needs of partnerships, and leadership quality of the group members. It was found that achievement motive of the 4-H group members and the size of the group are highly related to the achievement of the operation of the 4-H groups. This is because the achievement motive of the group members has strengthened the inner drive towards the desired goal leading to the success of the groups. In addition, the small group size is another factor affecting the achievement of the operation of the group. The problems of 4-H groups in Changwat Prachinburi are lack of budget, inadequate extension workers, lack of knowledge and motivation to work with group of extension workers and lack of attention from administrators and parents to the groups activities. It is recommended that, if a group to be successful, the group should be kept small (about 10-15 members) and should be encouraged to have achievement motive by ways of leadership quality and group dynamics training.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในจังหวัดปราจีนบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2536
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร จังหวัดสระบุรี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรภาคตะวันตก : กลุ่มยุวเกษตรกร ตำบลช้างแรก อำเภอสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มยุวเกษตรกร จังหวัดกาญจนบุรี รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลทำให้การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรประสบผลสำเร็จ อะไรเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดการความรู้ขององค์กรประสบความสำเร็จ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก