สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว
มนต์ทิพย์ กระจ่างเวช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มนต์ทิพย์ กระจ่างเวช
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศึกษาศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรและ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยเก็บข้อมูลจากชุมชนที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสัมภาษณ์กรรมการและสมาชิกที่ร่วมบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 28 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ และประเมินศักยภาพ ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 30 คุณลักษณะจัดหมวดหมู่ได้เป็น 3 ด้าน คือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร การดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้ พบว่าโดยภาพรวมคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ดี ส่วนใหญ่มีคุณลักษณะครบ 3 ด้าน คือ เรื่องเอกลักษณ์ และจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตร เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับดี ด้านการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าคุณลักษณะที่การส่งเสริมควรให้ความสนใจ คือการมีส่วนร่วมดำเนินงานและกิจกรรมของสมาชิกและชุมชน ซึ่งการประเมินศักยภาพของชุมชน ในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการนำผลการศึกษาคุณลักษณะในส่วนที่ 1 มาวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพของแต่ละชุมชนที่ดำเนินการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยว พบว่า กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีศักยภาพดี มีจำนวน 8 แหล่ง ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม สงขลา สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช เลย ขอนแก่น(หมู่บ้านผึ้ง) จันทบุรี และ จังหวัดน่าน และกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีศักยภาพปานกลาง มีจำนวน 20 แหล่ง ประกอบด้วย จังหวัดพัทลุง สุพรรณบุรี พิษณุโลก อ่างทอง ระนอง ขอนแก่น(ภูผาม่าน) สุราษฎร์ธานี(เกาะสมุย) เชียงราย นครนายก สุราษฎร์ธานี(เกาะพงัน) เพชรบุรี นนทบุรี ภูเก็ต สุรินทร์ อุตรดิตถ์ ตราด พังงา ชุมพร อุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ด้วยขีดจำกัดด้านการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การรองรับของพื้นที่ การให้บริการ สภาพภูมิทัศน์ สิ่งอำนวยความสะดวก ความคาดหวัง หรือความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย การค้นหาศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเขาไชยราช การค้นหาศักยภาพเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเขาไชยราช การศึกษามาตรฐานธุรกิจสปาฮาลาลเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน การศึกษาเบื้องต้นสภาพเศรษฐ-สังคมและตลาดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ การศึกษาชนิดไรอ่อน ชนิดหนู และอัตราการพบเชื้อก่อโรคสครับไทฟัส ในหนูในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่ภาคใต้ ประเทศไทย กลยุทธ์การบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ การประยุกต์ใช้งานเว็บบล็อก(webblog) เพื่อการส่งเสริมการตลาดในธุรกิจท่องเที่ยว กรณีศึกษาธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ กลยุทธ์การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านเมืองกื้ด ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2558A17002035 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม    ในเขตเทศบาลตำบลกลางเวียง จังหวัดน่าน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก