สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตพริกแบบผสมผสานของเกษตรกรตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
สิทธิเดช โสภา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตพริกแบบผสมผสานของเกษตรกรตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิทธิเดช โสภา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องความรู้ของเกษตรกรนำร่องโครงการพัฒนาผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อการแปรรูปและบริโภคสดโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพลักษณะบางประการทางเศรษฐกิจของเกษตรกรปลูกพริก (2) ศึกษาความรู้ของเกษตรกรนำร่องโครงการผลิตพริกแบบผสมผสามเพื่อการแปรรูปและบริโภคสดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยศึกษาเกษตรกรนำร่องใช้ระบบวิธีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในการปลูกพริก พื้นที่ตำบลนาดินดำ จำนวน 25 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุดสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีการปลูกพริกร่วมกับการทำนา มีพื้นที่ปลูกพริกร่วมกับอาชีพหลักเฉลี่ย 3.6ไร่ มีรายได้จากการปลูกพริกเฉลี่ย17,094.24 บาทต่อปี มีรายจ่ายในการปลูกพริกเฉลี่ย 3,219.24 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีเครื่องพ่นสารเคมีไว้ใช้ในแปลงปลูกพริก เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกมาก่อน เฉลี่ย 12.1 ปี ส่วนใหญ่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง และทำการปลูกพริกหลายพันธุ์อยู่แปลงเดียวกันซึ่งปลูกในสภาพไร่ โดยอาศัยน้ำฝน เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมี เกษตรกรมีการเข้าร่วมเวทีชุมชนในการปลูกพริก และเข้ารับการฝึกอบรมความรู้วิชาการ มีการผลิตพริกเฉลี่ย 5.2 ครั้ง/ปี มีเกษตรกรนำผลผลิตพริกไปตรวจสอบสารเคมีตกค้างเฉลี่ย 1.7 ครั้ง และไปตรวจสารพิษตกค้างในร่างกาย เฉลี่ย 1.6 ครั้ง เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมความรู้วิชาการเรื่องการผลิตพริกเฉลี่ย 4.2 เรื่อง โดยนำวิธีการใส่ปุ๋ยไปปฏิบัติมากที่สุด การให้คำแนะนำความรู้วิชาการเพิ่มเติมส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลและ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานวิจัยการเกษตรเขตที่ 3 หลังจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความสามารถในการจำแนกศัตรูพริกและศัตรูธรรมชาติได้ 8-10 ชนิด สามารถจำแนกอาการเชื้อสาเหตุและลักษณะการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูพริกได้ 5-7 ชนิด ระดับการนำไปใช้ประโยชน์เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญความรู้วิชาการจาก กิจกรรมการให้คำแนะนำเพิ่มเติมของเจ้าหน้าที่ไปใช้ในแปลงปลูกพริก และระดับความพึงพอใจเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในกิจกรรมการไปทัศนศึกษาและกิจกรรมการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มีการแสดงปัญหาด้านการฝึกอบรมความรู้วิชาการและคำแนะนำเพิ่มเติมของ เจ้าหน้าที่ บางเรื่องไม่สามารถนำตัวอย่างมาสาธิตได้ มีเวลาจำกัด และห่วงเวลาว่างของเกษตรกร ไม่ตรงกัน การนัดหมายไม่ทั่วถึง เกษตรกรยังให้ความสำคัญในการจดบันทึกของการเข้าร่วมกิจกรรมน้อยและเกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ กำหนดเรื่องที่จะมาฝึกอบรมและติดตามให้ชัดเจน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตพริกแบบผสมผสานของเกษตรกรตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร การผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก