สืบค้นงานวิจัย
การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม
นงนุช เลาหะวิสุทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of protein hydrolysate obtained from Tilapia visceral waste to replace fishmeal in hybrid catfish (Clarias macrocephalus x C. gariepinus) diets
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nongnuch Laohavisuti
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุบผา จงพัฒน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Buppha Jongput
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นใน อาหารปลาดุกลูกผสม แบ่งเป็น 4 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาการทดแทนปลาป่นด้วยโปรตีน ไฮโดรไลเสตในรูปแบบต่างกันต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ค่าโลหิตวิทยาและภาวะ เครียดของปลา โดยเลี้ยงปลาดุกด้วยอาหารผสมโปรตีนไฮโดรไลเสต 5 ระดับคือ 0, 25, 50, 75 และ100% เป็นเวลา 90 วัน พบว่าปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมโปรตีนไฮโดรไลเสต 50% มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด ปริมาณเม็ดเลือดแดงมีค่าลดลงแปรผกผันกับปริมาณโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ปริมาณเม็ดเลือดขาวที่ได้รับโปรตีนไฮโดรไลเสต 50% มีค่าน้อยที่สุด ปริมาณเม็ดเลือดแต่ละชนิดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ค่า Lysozyme พบว่า ปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมโปรตีนไฮโดรไลเสต 50% มีค่า lysozyme สูงที่สุด ค่า Hepatic Index พบว่า ไม่มีแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ปริมาณ Malondialdehyde (MDA) ในตับ เนื้อ และเลือด พบว่า ปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมโปรตีนไฮโดรไลเสตมีปริมาณ MDA ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาการใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตเพื่อดึงดูดการกินอาหารของ ปลาดุกโดยผสมโปรตีนไฮโดรไลเสตในอาหารต่างกัน 4 ระดับ คือ 0, 5, 10 และ 15% เป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่าปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารทั้ง 4 ระดับ มีผลทำให้น้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่ม อัตราการรอด และ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาดุกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การทดลองที่ 3 ศึกษาการเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสต อาร์จีนีน และโปรลีนในอาหารต่อการเจริญเติบโต ค่าโลหิตวิทยา ของปลาดุกลูกผสม เป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า ปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมอาร์จีนีน โปรตีนไฮโดรไลเสต และโปรลีนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนค่าทางโลหิตวิทยา การต้านอนุมูลอิสระ (DPPH) เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ catalase และกรดไทโอบาร์บิวทูริก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และการทดลองที่ 4 ศึกษาการเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสต ไทโรซีนและไลซีน ในอาหารต่อการเติบโต ค่าโลหิตวิทยา และการต้านอนุมูลอิสระของปลาดุกลูกผสม เป็นเวลา 90 วัน พบว่า ปลาดุกที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมไลซีน มีอัตราการเติบโตจำเพาะสูงสุดแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนค่าโลหิตวิทยาและค่าของการต้านอนุมูลอิสระไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
บทคัดย่อ (EN): The studied on to the utilization of protein hydrolysate obtained from Tilapia’s visceral waste to replace fishmeal in hybrid catfish (Clarias macrocephalus x C.gariepinus) diets by four experiments were conducted. The first experiment was determined the effects of protein hydrolysate on the growth, haematological and stress index of hybrid catfish. Five different protein hydrolysate levels were 0, 25, 50,75 and 100%. After 90 day, the result of diet containing protein hydrolysate 50% had the growth and lysozyme higher than the other treatments (p<0.05). Number of red blood cell was decreased as the protein hydrolysate levels increased, while hematocrit value showed no significant differences among treatments (P>0.05). The second experiment was conducted to evaluate the effects of protein hydrolysate as attractant feed to fish. Four different levels of protein hydrolysate were 0, 5, 10, 15 and 20%. After 60 day, the result showed significant differences in growth performance among treatments (P<0.05). The third experiment aimed to determine the effects of protein hydrolysate Arginine and Proline in diets on growth, haematological and antioxidant activity of fish. After 90 day, the result of feed containing arginine had influence on total weight gain and specific growth rate (SGR) but no significant differences performance among treatments (P>0.05). The hematocrit, inhibition activity of DPPH, catalase and TBARS were no significant differences among treatments (P>0.05). And the fourth experiment was determined the effects of protein hydrolysate compare to Tyrosine and Lysine in diets on growth, hematological index and antioxidant activity of fish. After 90 day, the result of diet which contain Lysine had total weight gain and SGR higher than the other treatments but no significant differences among treatments (P>0.05). Hematocrit, Inhibition activity of DPPH, catalase and TBARS were no significant differences among treatments (P>0.05).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/181540/3a44cf5e59d5a8f7b069b5d8a006453a?Resolve_DOI=10.14457/KMITL.res.2012.60
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล การผลิตและการศึกษาคุณลักษณะของโปรตีนไฮโดรไลเสตจากกล้ามเนื้อปลาแป้นเขี้ยวโดยใช้ส่วนสกัดจากเครื่องในปลาดุกบิ๊กอุย การแทนที่ปลาป่นด้วยของเหลือใช้จากสัตว์บกในอาหารสำหรับปลานิลแปลงเพศ การใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตจากเศษทิ้งกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) สำเร็จรูป การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม การใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ (เปลี่ยนชื่อโครงการ การใช้โปรตีนจากกากถั่วเหลืองทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาเทโพ) การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก