สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โอภาส ชามะสนธิ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่อง (EN): Structure of Demersal Marine Resources from the Inner Gulf of Thailand to Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โอภาส ชามะสนธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: คณิต เชื้อพันธุ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Kanit Chuapun
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: ประมง หรือ สัตว์น้ำ
หมวดหมู่ AGRIS: M การประมงและการเพาะเลี้ยงพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquatic sciences and fisheries)
บทคัดย่อ: การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ด้วยเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ในเวลา กลางวัน โดยเรือสำรวจประมง 2 จำนวน 11 สถานี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม และกรกฎาคม ปี 2559 รวมทั้งสิ้น 66 ครั้ง มีอัตราการจับเฉลี่ย 13.452 กก./ชม. โดยมีอัตราการจับปลาผิวน้ำ ปลาหน้าดิน หมึก กุ้ง ปู สัตว์น้ำอื่น ๆ และปลาเป็ดแท้ เท่ากับ 0.331 7.482 3.037 0.005 0.092 0.322 และ 2.182 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละขององค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำ เท่ากับ 2.46 55.62 22.58 0.04 0.69 2.39 และ 16.22 ตามลำดับ อัตราการจับรายสถานี พบว่า สถานี 007 มีอัตราการจับสูงสุด 34.235 กก./ชม. และ สถานี 024 มีอัตราการจับต่ำสุด 5.654 กก./ชม. ส่วนอัตราการจับรายเดือน พบว่าเดือนเมษายนมีอัตราการจับสูงสุด 17.937 กก./ชม. และเดือนกรกฎาคมมีอัตราการจับต่ำสุด 10.420 กก./ชม. โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินด้วยค่าดัชนีความคล้ายคลึงแบบ Bray-curtis similarity index พบว่าการจัดกลุ่มทรัพยากรสัตว์น้ำเชิงพื้นที่จัดได้ 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บริเวณกลางอ่าวไทยตอนใน (สถานี 036) กลุ่มที่ 2 บริเวณใกล้ฝั่งเกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (สถานี 011) กลุ่มที่ 3 บริเวณก้นอ่าวไทยระหว่าง ปากอ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม (สถานี 002) กลุ่มที่ 4 เป็นบริเวณห่างฝั่งอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ถึงอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สถานี 009 014 และ 024) กลุ่มที่ 5 บริเวณห่างฝั่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (สถานี 016 และ 026) และบริเวณใกล้ฝั่งอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สถานี 034) กลุ่มที่ 6 บริเวณใกล้ฝั่งอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (สถานี 005) และกลุ่มที่ 7 บริเวณใกล้ฝั่งเกาะล้าน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (สถานี 007) การจัดกลุ่มเชิงเวลาจัดได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง เดือนพฤษภาคม กลุ่มที่สอง เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และเมษายน กลุ่มที่สาม เดือนมีนาคมและกรกฎาคม โดยมีระยะห่างฝั่ง ความลึก อุณหภูมิ ความเค็ม และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของสัตว์น้ำหน้าดิน บริเวณนี้
บทคัดย่อ (EN): Marine resource survey in the Inner Gulf of Thailand was conducted in 2016 by otter board trawling using research vessel Pramong 2. The total of 66 hauls in 11 stations was done daytime in January, February, March, April, May and July. It was found that the average CPUE was 13.452 kg/h, with those of pelagic fish, demersal fish, cephalopods, shrimp, crabs, miscellaneous and true trash fish were 0.331, 7.482, 3.037, 0.005, 0.092, 0.322 and 2.182 kg/h, resulting in the composition of 2.46% 55.62% 22.58% 0.04% 0.69% 2.39% and 16.22%, respectively. The highest CPUE were found at 34.235 kg/h in station 007 and 17.937 kg/h in April, whereas the lowest ones were found at 5.654 kg/h in station 024 and 10.420 kg/h in July. Fish assemblages were arranged by cluster analysis (Bray-curtis similarity index) showing 7 groups by area, i.e. group 1: central of Inner Gulf of Thailand (st.036), group 2: nearshore area of Koh Khram, Sattahip District, Chon Buri Province (st.011), group 3: nearshore area from Meklong river mouth, Samutsongkhram Province (st.002), group 4: offshore area from Cha-am District, Phetchaburi Province to Pran Buri District, Prachuap Khiri Khan Province (st.009, 014 and 024), group 5: offshore area of Sattahip District, Chon Buri Province (st.016 and 026), group 6: nearshore area of Ban Laem District, Phetchaburi Province (st.005) and group 7: nearshore area of Koh Larn, Bang La Mung District, Chon Buri Province (st.007). The three temporal groups were classified, i.e. group 1: May, group 2: January, February and April, and group 3: March and July. It was found that distance, depth, temperature, salinity and environment conditions were the factors of demersal marine resource distribution in this area.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ: การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: -
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 61-3-0209-61089
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: -
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: มกราคมถึงกรกฎาคม 2559
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by จิดาภา ตะเวทีกุล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล (epinny@gmail.com) on 2020-06-26T08:58:27Z No. of bitstreams: 1 4-2562 โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โอภาส.pdf: 346072 bytes, checksum: 40fc4c3d4b2dd904653883e7fba8928c (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2561
เอกสารแนบ 1
การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การเปลี่ยนแปลงสภาวะทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงลอบหมึกบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนล้อมจับปลากะตักบริเวณอ่าวไทยตอนใน การศึกษาการจัดทำธนาคารปูม้า บริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก