สืบค้นงานวิจัย
การใช้สารแคลเซียมในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพและการเก็บรักษาของผลลองกอง
สุรกิตติ ศรีกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้สารแคลเซียมในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพและการเก็บรักษาของผลลองกอง
ชื่อเรื่อง (EN): Preharvest Apoplication of calcium on quality an dPostharvest Life of Longkong Fruits
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรกิตติ ศรีกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surakitti Srikul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของช่อลองกอง พร้อมกับการศึกษาความเข้มข้นของแคลเซียมระดับต่าง ๆ กันคือ 0.0, 0.10 , 0.25 , 0.50 และ 0.75% ฉีดพ่นช่อผลลองกองในช่วงการพัฒนาผล ที่สวนเกษตรกร 2 แห่ง คือ อ. บ้านนาสาร จ. สุราษฎร์ธานี และ อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช ในฤดูกาลให้ผลผลิตประจำปี พ.ศ. 2538 พบว่าระยะเวลาการพัฒนาของช่อผลลองกองนับจากระยะเริ่มพัฒนาดอกจนถึงเก็บเกี่ยว (physiological maturity) เท่ากับ 139+-7 วัน และการพัฒนาของผลใช้เวลา 91+-5 วัน การใช้แคลเซียมความเข้มข้น 0.50 และ 0.75% สามารถลดการหลุดร่วงและการแตกของผลได้ 30.20% (อ. บ้านนาสาร) และ 16.00% (อ. ท่าศาลา) เมื่อเปรียบเทียบกับช่อผลที่ไม่ได้ฉีดพ่น และการใช้แคลเซียที่ความเข้มข้น 0.50 และ 0.75% ทำให้มีจำนวนผลต่อช่อ และน้ำหนักผลเพิ่มขึ้นจาก control อย่างไรก็ตามสภาพของแหล่งปลูก และความสมบูรณ์ของต้นตลอดจนสภาพแวดล้อมในช่วงการพัฒนาช่อผลจะมีผลต่อเปอร์เซ็นต์การติดผลของลองกองมากกว่าการฉีดพ่นแคลเซียม แคลเซียมมีผลต่ออายุการเก็บรักษาคือ ทำให้อายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น สำหรับการเก็บรักษาช่อผลลองกอง พบว่า การเก็บรักษาแบบใช้พลาสติก film wrapping ร่วมกับอุณหภูมิ 17 ซ. สามารถเก็บรักษาผลลองกองได้ยาวนานที่สุด คือ 18-21 วัน ในขณะที่ช่อผลลองกองที่เก็บรักษาในสภาพห้อง มีอายุการเก็บรักษาเพียง 6-8 วัน และพบว่าการใช้อุณหภูมิมีอิทธิพลต่ออายุการเก็บรักษาผลลองกองมากกว่าการใช้พลาสติก และระดับแคลเซียมที่ฉีดพ่นในช่วงการพัฒนาผล
บทคัดย่อ (EN): The studies on fruit growth and development of longkong (Lansium domesticum Corr.) together with calcum concentration levels (0.00 , 0.10, 0.25, 0.50 and 0.75%) applied on the fruits during fruit development were conducted. The experiments were conducted at Ban Na San district. Surat Thani Province and Tha Sa La district, Nakhon si Thammarat Province longkong orchards during sesons of 1994-1995. The rsults showed district, Nakhon Si Thammarat Province longkong orchards during seasons of 1994-1995. The results showed district, Nakhon Si Thammarat Province longkong orchards during sesons of 1994-1995. The results showed that fruit cluster development from bud burst to physiological maturity was 139+-7 days and fruit development (from fruit set to harvest) was 91+-days. The application of 0.50% and 0.75% of calcium solution decreased fruit detachment and fruit cracking 30.20 and 16.00 % at Ban Na San and Tha Sala respectively, compared with control (0.00% Ca), In addition, the calcium treatments could increase fruit number per cluster and fruit weight compared with control. However, the conditions of each orchards, trees healthy and micro-climate during fruit development were more influence to percentage of fruit attachment than calcium application. Calcium application during fruit development increased fruit storage life. In the storage conditions, the fruits were kept for 18-21 days by plastic film wrapping (PVC) at 18C whereas stored the fruits in ambient conditions could be kept for 6-8 days. In addition, the results were found that temperature was more effective on storage life than using plastic and calcium application.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2541
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2541
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้สารแคลเซียมในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มคุณภาพและการเก็บรักษาของผลลองกอง
กรมวิชาการเกษตร
2541
เอกสารแนบ 1
การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ระยะที่ 2) การประยุกต์ใช้ Ethanol Vapor Releasing Pad ในการควบคุมคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของผลลองกอง ปัจจัยก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อการส่งออกลองกองไปประเทศจีนโดยทางเรือ การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง ผลของเมทิลจัสโมเนตร่วมกับสารเคลือบผิวไคโทซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาลองกอง ผลของสารต้านการเกิดสีน้ำตาล ต่อคุณภาพของผลลองกองหลังการเก็บเกี่ยว ระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ. นครศรีธรรมราช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก