สืบค้นงานวิจัย
การประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง
พิมพาพร พลเสน - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง
ชื่อเรื่อง (EN): Nutritive Values Evaluation of Stylosanthes guianensis CIAT 184 Dry Leaves
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิมพาพร พลเสน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pimpaporn Pholsen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง พิมพาพร พลเสน รำไพร นามสีลี สรายุทธ์ ไทยเกื้อ 1/ บทคัดย่อ ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้งที่ได้จากการตัดต้นถั่วที่อายุ 60 วันนำมาผึ่งแดดให้แห้ง และเคาะแยกเอาเฉพาะส่วนใบ โดยได้ทำการศึกษา ส่วนประกอบทางเคมี โภชนะที่ย่อยได้ และพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ ในโคบราห์มันโดยวิธี Total collection และวัดก๊าซจากการหายใจ โดยใช้ที่วัดก๊าซครอบส่วนหัว (indirect ventilated head hood) ประเมินค่าโภชนะที่ย่อยได้ของใบถั่วท่าพระสไตโล จากค่าการย่อยได้ของโภชนะที่เปลี่ยนไป ของโคที่กินหญ้ามูลาโต้แห้ง ซึ่งใช้เป็นอาหารหยาบฐานเพียงอย่างเดียว และกินหญ้ามูลาโต้แห้งร่วมกับใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง ในสัดส่วน 1: 1 โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่นในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2551 ผลการทดลองพบว่าใบถั่วท่าพระสไตโลมีส่วนประกอบทางเคมี ได้แก่ โปรตีน, เถ้า, เยื่อใย NDF ADF และ ลิกนิน เท่ากับ 20.4, 9.3, 43.7, 31.1 และ 5.35 % ของวัตถุแห้ง ตามลำดับ มีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ โปรตีน เยื่อใย NDF และ ADF เท่ากับ 63.1, 66.4, 67.4, 61.8 และ 51.4 % ตามลำดับ โดยมียอดโภชนะที่ย่อยได้ 59.9% และมีปริมาณพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ 8.31 MJ/kg ใบถั่วท่าพระสไตโลจึงจัดเป็นอาหารหยาบที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเนื่องจากมีโปรตีนสูง และโปรตีนสามารถย่อยได้ดี คำสำคัญ : ใบถั่วท่าพระสไตโล คุณค่าทางโภชนะ ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ ยอดโภชนะที่ย่อยได้ เลขทะเบียนวิจัย 51(1) – 0214 - 028 1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ขอนแก่น ต. ท่าพระ อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40260
บทคัดย่อ (EN): Nutritive Values Evaluation of Stylosanthes guianensis CIAT 184 Dry Leaves Pimpaporn Pholsen Rumphrai Namsilee Sarayut Thaikua1/ The study was carried out at Khon Kaen Animal Nutrition Research and Development Center during July to August 2008. The leaves of Stylo (Stylosanthes guianensis CIAT 184) were harvested by cutting the plant at 60 day intervals, dried in sun and beating to separate leaves. The nutrient digestibility and metabolizable energy (ME) content of Stylo dry leaves were determined in Brahman cattle by total collection and respiratory trial using indirect ventilated head hood, respectively. The digestibility of Stylo dry leaves were estimated from the change of nutrient digestibility of cattle fed Mulato (Brachiaria hybrid cv Mulato II) grass hay as basal diet to Mulato grass hay with Stylo dry leaves at the ratio of 1:1. The results revealed that the chemical compositions of Stylo leaves were 20.4, 9.3, 43.7, 31.1 and 5.35% of dry matter for crude protein, ash, NDF, ADF and ADL, respectively. The digestibility of dry matter, organic matter, crude protein, NDF and ADF of Stylo dry leaves were 63.1, 66.4, 67.4, 61.8 and 51.4%, respectively. The total digestible nutrient content in Stylo dry leaves was 59.9% and the metabolizable energy content was 8.31 MJ/kg. Stylo dry leaves could be used as a good source of protein since it contained high protein content with high digestibility. Keywords : Stylosanthes guianensis CAIT 184 dry leaves, nutritive values, metabolizable energy, total digestible nutrient Research Project No. 51(1) – 0214 - 028 1/ Khon Kaen Animal Nutrition Research and Development Center, Thapra, Khon Kaen 40260
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2551
กรมปศุสัตว์
ถั่วท่าพระสไตโล การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ : หญ้ากินนีสีม่วงและถั่วท่าพระสไตโล การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วท่าพระสไตโล การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้ง คุณค่าทางโภชนะของถั่วฮามาต้า การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแห้งที่ระยะเวลาการเก็บรักษาต่างกัน 2 ระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผลต่อคุณภาพของหญ้าซีตาเรียแห้ง การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ (1) หญ้ารูซี่ (2) ถั่วฮามาต้า ผลผลิตพืชอาหารสัตว์และคุณค่าทางโภชนะของถั่วลิสงเถา 11 สายพันธุ์ คุณภาพของหญ้าแพงโกล่าผสมถั่วท่าพระสไตโลหมักในสัดส่วนต่าง ๆ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก