สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้
ยุพิน รามณีย์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้
ชื่อเรื่อง (EN): Rice yield improvement with production potential zoning in southern part
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพิน รามณีย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yupin Rammani
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้ ดาเนินการในจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ระนอง และชุมพร ตั้งแต่ปี 2545 ถึง 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการผลิตข้าว การดาเนินงานในแต่ละจังหวัดใช้เวลา 3 ปี โดยในปีแรกเริ่มจากสารวจเทคโนโลยี การผลิตข้าวโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร และสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตข้าวฤดูนาปีของเกษตรกร โดยให้กระจายตามศักยภาพของดิน ในพื้นที่ที่เหมาะสมสาหรับการปลูกข้าวระดับต่างๆ ส่วนในปีที่ 2 และปีที่ 3 ทาแปลงทดสอบเทคโนโลยีโดยเปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกร และจัดทาแผนที่แสดงศักยภาพ การผลิตพร้อมคาแนะนาเฉพาะพื้นที่ ผลการสารวจเทคโนโลยีการผลิตข้าวในภาคใต้ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยใช้พันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีความหลากหลายของพันธุ์ ได้แก่พันธุ์เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง เข็มทอง แก่นจันทร์ กาบดา ไข่มดดา ไข่มดริ้น สังข์หยด เตี้ยแดง ขาวมาเลย์ หอมจันทร์ มาเลย์แดง เบาแดง นางเอก ช่อขวัญ นางแก้ว ข้าวเมล็ดแดง ข้าวช่อพร้าว เบาดา ดาดูหมูด อัลฮัม เบาเหลือง ช่อไม้ไผ่ ช่อมะลิ เหลืองปะทิว และนางนวล เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบพันธุ์แนะนาได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 และสุพรรณบุรี 90 วิธีการปลูกข้าวส่วนใหญ่ปลูกแบบหว่านน้าตม ฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปีอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงมีนาคม การเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ใช้รถเกี่ยวนวด ผลผลิตข้าวของเกษตรกรอยู่ระหว่าง 203-656 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินนา พบว่าดินส่วนใหญ่เป็นกรด ปริมาณอินทรียวัตถุส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่า การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวในภาคใต้ ดาเนินการจังหวัดละ 2 ครั้ง ใน ฤดูนาปี โดยคัดเลือกพื้นที่ทดสอบให้ครอบคลุมตามศักยภาพของดิน คือเขตพื้นที่ที่เหมาะสมสาหรับ การปลูกข้าวมาก (L1) ปานกลาง (L2) น้อย (L3) และไม่เหมาะสม (L4) อย่างน้อยจังหวัดละ 4 ราย ๆ ละ 3 ไร่ กรรมวิธีทดสอบ มี 3 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามคาแนะนา กรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และกรรมวิธีของเกษตรกร พบว่า กรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามคาแนะนาและกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตได้ตามศักยภาพของดิน อีกทั้งกรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตสูงสุด และมีต้นทุนต่ากว่ากรรมวิธีการใช้ปุ๋ยตามคาแนะนา ส่วนกรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตต่าสุด เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในเขตภาคใต้ สามารถเพิ่มผลิตข้าวได้ตามศักยภาพ ของดิน เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุดร้อยละ 30.74 รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวโดยรวมของภาคใต้ ได้ร้อยละ 30.82
บทคัดย่อ (EN): Rice yield improvement with production potential zoning in Southern part was conducted in 10 provinces during 2002-2010. The procedure of working has three steps as soil fertility and rice yield investigation, application of appropriate technology to compare with farmers’ practices and confirmation, then production potential mapping had been made in which taking three years time consuming for each province. Result from soil fertility investigation showed that most rice soil is acid soil with moderate fertility with 4 levels of soil suitability. Most farmers grew local rice varieties in which more than 25 varieties have been found during July-March which was wet season. After applying appropriate fertilization technology, rice yield from fertilization based on soil analysis and recommendation were higher than those of the farmer. In addition, fertilization based on soil analysis showed the highest yield which was 30% yield increased compared with those of farmer’s practices leading to approximately 30% income increased from rice in Southern part.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329724
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การเพิ่มผลผลิตข้าวตามเขตศักยภาพการให้ผลผลิตของพื้นที่ปลูกข้าวของไทย การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์ในภาคใต้ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของประเทศไทย การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก