สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ศรีประเสริฐ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่อง (EN): Varietal screening for drought resistance in rain-fed lowland rice in the Loa PDR
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีประเสริฐ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sipaseuth
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ภัยแล้งเป็นปัญหาพื้นฐานในการผลิตข้าว ศูนย์วิจัยเกษตรได้ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวจำนวนมากเพื่อจำแนกสายพันธุ์ที่ทนทานต่อดวามแห้งแล้งในเขตนาลุ่ม ที่กำแพงนครเวียงจันทร์ และศูนย์วิจัยและขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวทำละโน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยสายพันธุ์ข้าวจำนวน 66 สายพันธุ์ นำไปปลูกภายใต้ระตับน้ำ 2 ระดับ ดีอ การให้น้ำเต็มที่ (เป็นตัวเปรียบเทียบ) และการปลูกภายใต้สภาวะขาดน้ำ (สภาพแล้ง) ตกกล้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 และปักดำ วันที่ 25 สิงหาคม 2548 ทั้งนี้เป็นการปักตำช้ากว่าการปลูกข้าวตามปกติ เพื่อให้เกิดความแห้งแล้งในระยะการสร้างเมล็ด การทดสอบในสภาพการขาดน้ำจะทำการปล่อยน้ำออก หลังจากปักตำไปแล้ว 25 วัน เพื่อให้เกิดความแห้งแล้ง เพื่อทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวเหล่านั้น ภายใต้สภาพที่มีน้ำอย่างสมบูรณ์และภายใต้สภาพที่ขาดน้ำ โดยกำหนดระยะเวลาของการทำให้ขาดน้ำ ช่วงเวลาและความรุนแรงของการขาดน้ำ ผลการศึกษาพบว่าภายใต้สภาพที่ขาดน้ำ ผลผลิตข้าวที่กำแพงนตรเวียงจันทน์ และท่าสะโนจะลดลง 80 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากใบข้าวมีค่าศักย์ของน้ำในใบ (LWP) ลดลง และข้าวออกดอกล่าช้ากว่าปกติในทั้ง 2 แห่งที่ทำการทดลอง ค่าความแปรปรวนของ LWP อยู่ในช่วง -0.73 ถึง -2.43 MPa สำหรับใบข้าวที่ปลูกภายใต้สภาพที่มีน้ำอย่างสมบูรณ์ และ -1.65 ถึง -3.88 MPa สำหรับใบข้าวที่ปลูกภายใต้สภาพขาดน้ำของแปลงทดลองที่กำแพงนครเวียงจันทน์ และมีค่าระหว่าง -0.80 ถึง -1. 70 MPa สำหรับใบข้าวที่ปลูกภายใต้สภาพที่มีน้ำอย่างสมบูรณ์ และมีค่าระหว่าง - 1.53 ถึง -2.73 MPa สำหรับใบข้าวที่ปลูกภายใต้สภาพขาดน้ำของแปลงทดลองที่ท่าสะโน พบว่า มีข้าวบางสายพันธุ์ที่สามารถรักษาระดับ LWP ให้มีค่าสูงและมีต่ำดัชนีตอบสนองต่อดวามแห้งแล้งต่ำของลักษณะผลผลิต ซึ่งอยู่ในช่วง -0.01 ถึง -1.92 และ 0.01 ถึง 1.71 ที่กำแพงนครเวียงจันทร์และท่าสะโนตามลำดับ และพบว่าดัชนีความทนทานต่อความแห้งแล้งจะสัมพันธ์กับลักษณะทางการเกษตรบางลักษณะ เช่น เมื่อเกิดสภาวะแห้งแลังขึ้น ข้าวจะชะลอการออกดอกแต่พันธุ์ข้าวที่ถือว่าทนแล้งจะชะลอการออกดอกเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
บทคัดย่อ (EN): Drought is recognized as a primary constraint for rainfed rice production. A series of experiments were conducted in rainfed lowland conditions to identify drought resistant rice varieties at the Agricultural Research Center (ARC) in Vientiane municipality and Tasano Research and Seed Multiplication center (Tasano) in Savannakhet province in Lao PDR. The study consisted of sixty-six rice genotypes grown under two water treatments, well water (WW/Irrigated control), and water-stress (WS/ imposed drought) conditions. The rice seed were sown on July 25th 2004 and transplanted on August 25th 2004 which is somewhat later than the normal sowing date. The late sowing aimed to increase the likelihood of drought occurring during grain filling. The water was drained from the WS field 25 days after transplanting (DAT) to impose the drought treatment. A large genotypic variation existed for grain yield under both WW and WS conditions, depending on timing, duration and severity of plant water deficit. Grain yield of rice genotypes under WS, in relation to that under WW conditions was reduced approximately 80%, and 60% at ARC and Tasano, respectively. Rice grown under WS reduced leaf water potential (LWP) and delay in flowering at both locations. The genotypic variation in LWP ranged from -0.73 to -2.43 MPa in WW and -1.65 to -3.88 MPa in WS at ARC and -0.80 to -1.70 MPa in WW and -1.53 to -2.73 MPa in WS at Tasano. Some genotypes were able to maintain high LWP and low drought response index (DRI) of grain yield ranged from -0.01 to -1.92 at ARC and 0.01 to 1.71 at Tasano are also an indicator of drought tolerance and associated with other drought tolerance traits during the drought stress period that developed just before flowering produced higher grain yield, and yield components. When water stress occurred prior to flowering, the onset of flowering was delayed. A long delay in flowering is generally considered a disadvantage for rice genotypes grown under WS environments. Therefore, genotypes have a short delay in flowering during WS are one indication of drought tolerance in rice.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=84-103.pdf&id=185&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งภายใต้สภาพอาศัยน้ำฝนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ศรีประเสริฐ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2548
เอกสารแนบ 1
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานแล้งระหว่างชาติ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การคัดเลือกข้าวนาสวนอาศัยน้ำฝนที่ทนทานแล้งปลายฤดูฝน เทคโนโลยีบางประการที่มีผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน การแสดงออกของยีน CIPK15 ในพันธุ์ข้าวไทยภายใต้สภาพน้ำท่วม การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์โดยการทดสอบเสถียรภาพภายใต้สภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน ผลจากลักษณะความต้านทานแล้งของข้าวต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตในสภาพขาดแคลนน้ำ การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวบาร์เล่ย์โดยการทดสอบเสถียรภาพภายใต้สภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน อัตราการเจริญเติบโตและศักยภาพการให้ผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ภายใต้วันปลูกและสภาพน้ำที่ต่างกัน การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์หลักในสภาพภายใต้ผ้าพลาสติกทาร์พอลีนในภาคใต้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก