สืบค้นงานวิจัย
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย
บุปผา มงคลศิลป์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุปผา มงคลศิลป์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานส่งเสริมและการแก้ไขรวมทั้งข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอคือ เกษตรอำเภอ และผู้ช่วยเกษตรอำเภอ ทั้ง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทยได้แก่จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และสมุทรปราการรวมจำนวน 90 รายหรือร้อยละ 84.1 ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอใน 8 จังหวัดดังกล่าว การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ใช้วิธีอธิบายประกอบ แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์แห่งความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอร้อยละ 90.00 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 35.30 ปี ร้อยละ 56.67 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงรองลงมาคือร้อยละ 26.67 จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและมีอายุราชการเฉลี่ย 8.57 ปี วิธีการส่งเสริมทีทเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอทุกคนไดใช้คือ การไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่บ้านและไร่นา ส่วนวิธีการส่งเสริมที่ใช้น้อยที่สุดคือการฉายภาพนิ่งในการส่งเสริมการเกษตรแก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอได้ใช้วิธีการส่งเสริม 2 วิธีขึ้นไปประกอบกัน ในการจัดอันดับวิธีการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอเห็นว่า ให้ประโยชน์ในการส่งเสริมมากที่สุด และรอง ๆ ลงมาเป็นดังนี้ การส่งเสริมแบบรายบุคคลได้แก่ 1)การเยียมเยียนเกษตรกรที่บ้าน-ไร่นา 2)การสอนทักษะ 3)เกษตรกรมาพบเจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน และ 4)การเขียนจดหมายติดต่อกับเกษตรกร การส่งเสริมแบบกลุ่มได้แก่ 1)การสาธิตวิธี 2)การประชุมกลุ่ม 3)การสาธิตผล 4)การบรรยาย 5)การฝึกอบรม 6)การจัดศึกษาและดูงานและ 7)การปภิปราย การส่งเสริมแบบมวลชนได้แก่ 1)การแสดงนิทรรศการ 2)การจัดงานวันเกษตร 3) การสาธิตผล 4)การแจกเอกสารเผยแพร่ 5)การฉายภาพยนต์ 6)การใช้หนังสือเวียนแจ้งข่าวสารต่าง ๆ 7)การฉายภาพนิ่ง 8)การใช้แผ่นโฆษณา 9)การจัดทำกำแพงข่าว การจัดอันดับวิธีการส่งเสริมแบบรายบุคคลของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอจากแต่ละจังหวัดในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกันอย่างสูงที่ระดับนัยสำคัญ .01 ส่วนการจัดอันดับวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่มและแบบมวลชน มีความสอดคล้องกันพอสมควรที่ระดับนัยสำคัญ .01 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การใช้วิธีการส่งเสริมหลายวิธีประกอบกันจะกระตุ้นความสนใจของเกษตรกรได้ดีกว่าการใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้นและแม้ว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอจะรู้จักใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ เป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังต้องการเรียนรู้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกและเห็นว่าการส่งเสริมที่ผ่านมามีการใช้โสตทัศนูปกรณ์น้อยมาก ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานส่งเสริมแบบต่าง ๆ นั้นปรากฎว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเกษตรกร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ รวมทั้งตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอเองด้วย ผลการวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม จากวิธีการอก้ไขปัญหาที่เจ้าหน้าที่ตอบมาได้แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มิได้นิ่งนอนใจในปัญหาที่เกิดขึ้นและได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มความสามารถและตามโอกาสที่เจ้าหน้าที่เองกระทำอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอได้เสนอแนะแนวทางปรับปรุงที่จะทำให้การส่งเสริมได้ผลดีคือ การส่งเสริมการเกษตรควรให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ อย่างเพียงพอ และควรจัดการอบรมทางวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ที่ทันสมัยแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภออยู่เสมอ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแก่กรมส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการจัดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ และกรมฯ ควรจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ ที่เหมาะสมตามความจำเป็นแก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้น ส่วนในการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าควรใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการส่งเสริมให้มากขึ้นด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2524
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2524
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออก
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2524
การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ จังหวัดบุรีรัมย์ เทคนิควิธีการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ความต้องการฝึกอบรมของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอจังหวัดมหาสารคาม ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานส่งเสริมการเกษตรของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก การพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรกับระบอบการเมืองช่วง พ.ศ. 2557-2561 : กรณีศึกษาโครงการเกษตรแปลงใหญ่ในภาคตะวันออก ประเทศไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก