สืบค้นงานวิจัย
การประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ของเรือไทย บริเวณซายา เดอ มาฮา แบงก์ มหาสมุทรอินเดีย
ทิราภรณ์ โยธะคง - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ของเรือไทย บริเวณซายา เดอ มาฮา แบงก์ มหาสมุทรอินเดีย
ชื่อเรื่อง (EN): Otter Board Trawl Fishery of Thai Vessel in the Saya de Malha Bank, Indian Ocean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิราภรณ์ โยธะคง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Tirabhorn Yothakong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สาวิตรี ยาวะโนภาส
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Sawitre Yawanopas
คำสำคัญ: อวนลากแผ่นตะเฆ่, ซายา เดอ มาฮา แบงก์, มหาสมุทรอินเดีย, ทรัพยากรประมง, นอกน่านน้ํา
คำสำคัญ (EN): otter board trawl, Saya de Malha Bank, Indian Ocean, fisheries resources, overseas
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ซายา เดอ มาฮา แบงก์ เป็นแหล่งทำการประมงนอกน่านน้ำของกองเรือไทยที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตก จากการรวบรวมข้อมูลมาตรการที่ใช้ในการควบคุมการทำประมงสำหรับเรือไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในช่วงที่ 1 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558–เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559) และช่วงที่ 2 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559–เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560) พบว่า มาตรการในช่วงที่ 2 มีกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ มากกว่าในช่วงที่ 1 โดยเฉพาะในส่วนของผู้สังเกตการณ์บนเรือและความเป็นอยู่ที่ดีของคนประจำเรือระหว่างการทำงานบนเรือ ลักษณะเครื่องมือทำการประมงที่ใช้เป็นอวนลากแผ่นตะเฆ่ ส่วนใหญ่คร่าวล่างมีความยาว 40–50 เมตร ขนาดตาอวนก้นถุง 4 เซนติเมตร ทำการประมงวันละ 1–4 ครั้ง ครั้งละ 4–5 ชั่วโมง การทำประมงของกองเรือประมงไทยมีเรือขนถ่ายสัตว์น้ำเดินทางไปสนับสนุนเสบียงอาหาร น้ำดื่ม ตลอดจนเครื่องมือประมง อุปกรณ์ต่าง ๆ ไปให้เรือประมง รวมถึงนำลูกเรือไปสับเปลี่ยน และรับสัตว์น้ำจากเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือประเทศไทย แหล่งทำการประมงอยู่ในบริเวณละติจูด 09 องศา 00 ลิปดา ถึง 11 องศา 30 ลิปดา ใต้ และลองจิจูด 060 องศา 00 ลิปดา ถึง 062 องศา 00 ลิปดา ตะวันออก จากการรวบรวมข้อมูลการทำประมงของเรือตัวอย่างที่ทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่จำนวน 16 ลำ ระหว่าง พ.ศ. 2558–2560 พบว่า มีการลากอวนทั้งสิ้น 4,579 ครั้ง ซึ่งมีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยเท่ากับ 2,233.29±779.99 กิโลกรัม/ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มปลาหน้าดินร้อยละ 59.50 กลุ่มปลาผิวน้ำร้อยละ 30.78 กลุ่มปลาเศรษฐกิจอื่น ๆ ร้อยละ 6.47 กลุ่มปลาเป็ดร้อยละ 2.65 กลุ่มปลาหมึกร้อยละ 0.48 และกลุ่มสัตว์น้ำอื่น ๆ ร้อยละ 0.12 โดยสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ปลาปากคม (Saurida spp.) ปลาทูแขก (Decapterus spp.) ปลาทรายแดง (Nemipterus spp.) ปลาสีกุนตาโต (Selar spp.) และปลาแพะ (Parupeneus spp.) คิดเป็นองค์ประกอบของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดร้อยละ 40.06 20.62 10.08 6.33 และ 5.81 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลา ช่วงลมมรสุม และขนาดเรือ พบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยในช่วงที่ 1 (1,920.88±1,038.00 กิโลกรัม/ครั้ง) และในช่วงที่ 2 (2,333.93±531.77 กิโลกรัม/ครั้ง) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (2,354.92±736.68 กิโลกรัม/ครั้ง) ช่วงเปลี่ยนผ่านลมมรสุม (2,163.95±765.13 กิโลกรัม/ครั้ง) และช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ (2,088.17±666.54 กิโลกรัม/ครั้ง) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) และอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของเรือที่มีขนาดต่ำกว่า 200 ตันกรอส (1,992.17±443.74 กิโลกรัม/ครั้ง) เรือที่มีขนาด 200–400 ตันกรอส (2,585.59±807.02 กิโลกรัม/ครั้ง) และเรือที่มีขนาดมากกว่า 400 ตันกรอส (1,695.71±902.36 กิโลกรัม/ครั้ง) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05)
บทคัดย่อ (EN): The Saya de Malha Bank, which is located in the western Indian Ocean is an important oversea fishing ground for Thai fishing fleet. The collection of measures used to control Thai oversea fishing fleet during the first period (June 2015–February 2016) and the second period (June 2016–February 2017) found that the management measures and regulations during the second period were more than the first period, particularly regulations related to observer onboard and crew’s well-being during working onboard. The fishing gear used was otter board trawl with 40 – 50 metres ground rope and 4 centimeters codend mesh size. Fisheries operation was found 1-4 hauls/day and 4-5 hours/haul. Carrier vessels were used to support food, water, fishing gears, crew transfer and transshipment of fish back to Thai port. The fishing ground was between latitude 09° 00′–11° 30′ S and longitude 060° 00′–062° 00′ E. The collection of fisheries data from 16 otter board trawlers with a total of 4,579 hauls found that, during 2015–2017, the average catch per unit effort (CPUE) was 2,233.29±779.99 kg/haul which consisted of 59.50% demersal fish, 30.78% pelagic fish, 6.47% miscellaneous economic fish, 2.65% trash fish, 0.48% cephalopod and 0.12% other. The top five fish species caught were lizardfish (Saurida spp.), round scad (Decapterus spp.), threadfin bream (Nemipterus spp.), bigeye scad (Selar spp.) and goatfish (Parupeneus spp.) which were 40.06% , 20.62% , 10.08% , 6.33% and 5 . 81% of the total catch respectively. The comparisons of average CPUE among periods, monsoons and vessel sizes were conducted. The average CPUE between the first period (1,920.88±1,038.00 kg/haul) and the second period (2,333.93±531.77 kg/haul) were not significant difference (p>0.05). The average CPUE among southeast monsoon (2,354.92±736.68 kg/haul), inter monsoon (2,163.95±765.13 kg/haul) and northwest monsoon (2,088.17±666.54 kg/haul) were not significant difference (p>0.05). The average CPUE among <200 GT vessel (1,992.17±443.74 kg/haul), 200-400 GT vessel (2,585.59±807.02 kg/haul) and >400 GT vessel (1,695.71±902.36 kg/haul) were not significant difference (p>0.05) as well.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 63 3 9902 63005
ชื่อแหล่งทุน: ไม่มี
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: ไม่มี
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 0
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: ไม่มี
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: มหาสมุทรอินเดีย
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2558-2560
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 0
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ของเรือไทย บริเวณซายา เดอ มาฮา แบงก์ มหาสมุทรอินเดีย
กรมประมง
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Ninety East Ridge แหล่งประมงทางเลือกของการประมงไทยในมหาสมุทรอินเดีย สภาวะการประมงอวนลากในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ปี 2556 ผลจับปลาทูน่าจากเรืออวนล้อมจับของไทยบริเวณมหาสมุทรอินเดียระหว่างปี 2548-2550 ผลจับปลาทูน่าของเรือประมงอวนล้อมจับของไทยในมหาสมุทรอินเดีย การศึกษาการประเมินปริมาณการจับสัตว์น้ำและการลงแรงทำการประมงเครื่องมือทำการประมงอวนลาก โดยใช้ข้อมูลการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง สมุดบันทึกการทำการประมงและองค์ประกอบสัตว์น้ำ องค์ประกอบชนิดและอัตราการติดเบ็ดของสัตว์น้ำจากเครื่องมือเบ็ดราวปลาทูน่าบริเวณ Ninety East Ridge ในมหาสมุทรอินเดีย การประมงและการควบคุมเฝ้าระวังการประมงอวนลากที่แจ้งเข้าออก ผ่านศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภูเก็ต ปี 2562 การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก