สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
จำรัส พิสุราช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำรัส พิสุราช
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบล หลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐานทั่วไป สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 316ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรอายุเฉลี่ย 48.25 ปี ร้อยละ 67.72 เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 แต่งงานแล้ว สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5.41 คน แรงงานเฉลี่ย 3.27 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.25 ไร่ ร้อยละ 90.51ถือครองพื้นที่เป็นของตนเอง ร้อยละ 50 ประกอบอาชีพรอง คือ ทำไร่ เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และ ธ.ก.ส. พื้นที่นาเป็นนาลุ่มสลับนาดอน ดินเป็นดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝนอย่างเดียว มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ เตรียมดิน 2 ครั้ง มีการปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยคอก พื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 13.34 ไร่ เก็บพันธุ์ข้าวไว้เอง ทำนาหว่านข้าวแห้ง อัตราเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 19.75 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ศัตรูข้าวที่พบ โรคไหม้ และโรคเมล็ดด่าง ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว 1 ครั้ง จ้างแรงงานคน ตากข้าวเฉลี่ย 3.18 ครั้ง ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 5,127.09 กก. เก็บข้าวเปลือกโดยแยกเก็บไว้ในยุ้งฉาง ขายข้าวเปลือกเฉลี่ย 1,475.76 กก. ราคาจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 7.38 บาท ร้อยละ 52.53 ขายข้าวให้กับโรงสีในอำเภอ ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ 1,797.55 บาท ปัญหาในการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระดับมาก ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง ขาดแหล่งน้ำ ภัยธรรมชาติ(ฝนแล้ง) ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดปุ๋ย ยาเคมี ราคาถูก ขาดเงินทุน และราคาผลผลิตต่ำ มีความต้องการในระดับมาก ด้านความรู้การผลิต ด้านปัจจัยการผลิต ด้านการเตลาด ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนความรู้วิชาการและปัจจัยการผลิตราคาถูก จัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียน การตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 การจัดหาแหล่งรวบรวมผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตสู่ตลาด การศึกษาครั้งต่อไป การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร และความต้องการรับความรู้การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลตะโก อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในตำบลกงรถ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในเขต ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตำบลงิ้ว อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก