สืบค้นงานวิจัย
การอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน
นงค์เยาว์ มณี, ทิพย์สุดา ต่างประโคน - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Growth of Stripped Catfish Thai Panga (Pangasius hypophthalmus x Pangasius bocourti ) Cultured in Cage at Different Stocking Densities
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังขนาด 2 x 2 x 1.5 เมตร ในบ่อดิน ขนาด 800 ตารางเมตร ด้วยระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 150, 300 และ 600 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ให้อาหารผงสำเร็จรูปและอาหารปลาดุกเล็ก ให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร ระหว่างเดือนกันยายน 2550 – มกราคม 2551 เป็นเวลา 61 วัน ปลาทดลองมีความยาวตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 1.01 + 0.02 นิ้ว น้ำหนักตัวเริ่มต้นเฉลี่ย 0.32 + 0.02 กรัม ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลาสวายโมงมีความยาวตัวเฉลี่ย 4.86 + 0.22, 5.25 + 0.05 และ 5.01 + 0.08 นิ้ว น้ำหนักตัวเฉลี่ย 15.27 + 0.95, 19.42 + 1.05 และ 17.98 + 0.86 กรัม น้ำหนักเพิ่มต่อวันเฉลี่ย 0.24 + 0.02, 0.31 + 0.02 และ 0.29 + 0.02 กรัม/วัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะทางด้านน้ำหนัก 6.37 + 0.05, 6.68 + 0.09 และ 6.62 + 0.16 เปอร์เซ็นต์/วัน ตามลำดับ โดยการเจริญเติบโตทางด้านความยาว พบว่าลูกปลาที่อนุบาลระดับความหนาแน่น 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตรไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการอนุบาลลูกปลาที่ระดับความหนาแน่น 600 ตัว/ลูกบาศก์เมตร (p>0.05) แต่มีความแตกต่างกับลูกปลาที่อนุบาลระดับความหนาแน่น 300 ตัว/ลูกบาศก์เมตร อย่างมีนัยสำคัญ (p0.05) ส่วนการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก น้ำหนักเพิ่มต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะทางด้านน้ำหนักของลูกปลาสวายโมงที่อนุบาลระดับความหนาแน่น 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตรแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) อัตราการรอดตายเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 96.94 + 1.27, 87.19 + 0.13 และ 85.28 + 0.13 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งอัตราการรอดตายเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกระดับความหนาแน่น ต้นทุนในการผลิตตัวละ 2.60, 2.14 และ 1.79 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิ 1,395.40, 2,990.01 และ 6,569.03 บาท/กระชัง ตามลำดับ ผลตอบแทนต่อการลงทุน 115.03, 148.71 และ 188.75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นผลการทดลองในครั้งนี้ สรุปได้ว่าการอนุบาลลูกปลาสวายโมงจากขนาด 1 นิ้ว จนได้ขนาด 5 นิ้ว ในกระชังขนาด 2 x 2 x 1.5 เมตร ในบ่อดินขนาด 800 ตารางเมตร ควรอนุบาลที่ระดับความหนาแน่น 600 ตัว/ลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโต กำไรสุทธิและผลตอบแทนต่อการลงทุน
บทคัดย่อ (EN): The experiment of optimum density on growth of thai panga was carried out in cage 2x2x1.5 m of 800 m2 earthen pond. It was conducted during September 2007 – January 2008 at Yasothon Inland Fisheries Research and Development Center. Fry have length 1.01 + 0.02 inch and 0.32 + 0.02 g weight, were nursed at different stocking densities 150, 300 and 600 fry/m3. Fish were fed to satiation 2 time/day with powder feed and pellet feed for small catfish. The end of experiment; It was found that the average lengths were 4.86 + 0.22, 5.25 + 0.05 and 5.01 + 0.08 inch , average weights were 15.27 + 0.95, 19.42 + 1.05 and 17.98 + 0.86 g, daily weight gains were 0.24 + 0.02, 0.31 + 0.02 and 0.29 + 0.02 g/day, specific growth rates were 6.37 + 0.05, 6.68 + 0.09 and 6.62 + 0.16 percent/day, respectively. The average lengths were not significant difference between 150 and 600 fish/m3 (p? 0.05) but they were significant with 300 fish/m3 (p? 0.05) but stocking densities 300 and 600 were not significant (p? 0.05).The average weights, daily weight gains and specific growth rates were significant difference between 150 with 300 and 600 fry/m3 (p? 0.05) but stocking densities 300 and 600 were not significant (p? 0.05). Survival rates at stocking densities 150, 300 and 600 fry/m3 were 96.94 + 1.27, 87.19 + 0.13 and 85.28 + 0.13 %, respectively, which all of them were significant difference (p? 0.05). Cost, net profit and cost benefit of stocking densities 150, 300 and 600 fry/m3 were 2.60, 2.14 and 1.79 bath/fish 1,395.40, 2,990.01 and 6,569.03 bath/cage and 115.03, 148.71 and 188.75 %, respectively. It was concluded from this study growth of thai panga in cage of 800 m2 earthen pond in term of growth rate, net profit and cost benefit were at 600 fish/m3 was the optimum stocking densities.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-02-28
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การอนุบาลลูกปลาสวายโมงในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน
กรมประมง
28 กุมภาพันธ์ 2552
กรมประมง
การเลี้ยงปลาสวายโมงในกระชังด้วยอาหารที่ใช้กากถั่วเหลืองทดแทนปลาป่นในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน การผลิตปลาสวายโมงขนาด ๑ นิ้วด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน ในรางระบบน้าหมุนเวียน การศึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการเลี้ยงปลาสวายโมงเพื่อการส่งออก การศึกษาเชิงบูรณาการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการเลี้ยงปลาสวายโมงเพื่อการส่งออก การพัฒนาและเพิ่มผลผลิตปลาสวายโมง (Thai Panga) เพื่อการส่งออก การเพิ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในปลาสวายโมงสำหรับการส่งออกต่างประเทศ ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสวายโมงขนาดเล็ก การอนุบาลลูกอ๊อดกบนาในกระชังที่อัตราความหนาแน่นแตกต่างกัน ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก การใช้กากยีสต์แห้ง (dried brewer’s yeast) และกากสาโท (rice wine residual) เป็นแหล่งโปรตีนเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาสวายโมง (Thai Panga)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก