สืบค้นงานวิจัย
การตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
อรพิน แก้วมั่น - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): Marketing of Rice Seed at Mueng District, Pitsanulok Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรพิน แก้วมั่น
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อได้ข้อมูลความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการผลิต และการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยข้อมูลที่ได้จะทำให้ทราบ ชนิดของพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมใช้ปลูก ราคาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ช่องทางการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว และการส่งเสริมการตลาด ทำให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกร การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ เกษตรกร ร้อยละ 89 ทำนาหว่านน้ำตม พื้นที่นาอยู่ในเขตชลประทาน ร้อยละ 55.71 ข้อมูลด้านส่วนประสมการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ปลูกมากที่สุด คือ พันธุ์พิษณุโลก 2 คิดเป็นร้อยละ 40.47 เกษตรกรร้อยละ 69.5 ใช้พันธุ์ข้าวชนิดเดียวในการปลูกทั้งข้าวนาปี และนาปรัง คือ พันธุ์พิษณุโลก 2 คิดเป็นร้อยละ 43.48 เหตุผลที่เลือกใช้พันธุ์ดังกล่าว เพราะทนต่อโรคและแมลง คิดเป็นร้อยละ 27 ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ทั้งก่อนและหลังซื้อ คิดเป็นร้อยละ 86.5 และ 61.5 ตามลำดับ ความถี่ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ยปีละ 1.95 ครั้งๆ ละ 23.54 กระสอบ (1 กระสอบเท่ากับ 25 กิโลกรัม) ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรต้องการ เป็นพันธุ์ข้าวผลิตแบบปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 74.07 เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรซื้อมาส่วนใหญ่ จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ ซื้อมาแล้วจะนำไปใช้เลย คิดเป็นร้อยละ 64.25 ด้านราคา พันธุ์พิษณุโลก 2 ถ้าซื้อเป็นเงินสดกระสอบละ 470 บาท ถ้าซื้อเป็นเงินเชื่อ กระสอบละ 520 บาท ด้านช่องทางการตลาด เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ปลูกส่วนใหญ่ ซื้อจากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ข้าวต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 49.37 แหล่งจำหน่ายพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมไปซื้อมากที่สุด คือ ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว เพราะคุณภาพเมล็ดพันธุ์ดี คิดเป็นร้อยละ 38.07 ด้านการส่งเสริมการตลาด ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ ไม่ได้รับส่วนลด คิดเป็น ร้อยละ 81.25 ไม่มีบริการขนส่ง เกษตรกรต้องไปขนเอง คิดเป็นร้อยละ 54.75
บทคัดย่อ (EN): Marketing of Rice Seed at Mueng District, Pitsanulok Province The objective of this research is to get the demanding information of agriculturalist about rice seed’s marketing mix in Muang district, Phitsanulok province area. This is for being general information in developing production system and rice seed marketing. The receiving information consists of the popularity rice seed that agriculturalist preferred, the price of rice seed, channel of rice seed’s distribution and marketing promotion which the result from this research will assist agriculturalists in deciding of producing rice seed and in promoting agriculturists’ seed producing association for trading and earning more income. Questionnaire that researchers created was used as a tool in gathering data from representative sample in the study. The result revealed that 89% of agriculturist farmed in paddy-sown field style. Their farm was in irrigation area 55.71%. From the information of marketing mix, it was found that; In production factor:the prominent rice seeds that farmers/agriculturists preferred are Phitsanulok 2 which counts in 40.47% and 65.9% of agriculturists used only one rice seeds in farming both in-season rice field and double-crop field and they preferred Phitsanulok 2 which count as 43.48%. The reason in using Phitsanulok 2 was because they were strongly stood to diseases and insects which counted as 27%. Typically, there is no quality check of rice seed both before and after selling which count as 86.5% and 61.5% respectively. The frequency in purchasing rice seed per year was 1.95 and each time was 23.54 sack (1 sack is 25 kilogram equally.) The requirement characteristics of rice seed that agriculturists preferred are safety in rice production, counted as 74.07%. Mostly, agriculturists had not preserved rice seed after buying which counted as 64.25% In pricing factor: Phitsanulok 2 - sell in sack 470 baht and 520 baht in credit. In distribution channel factor: The rice seed that agriculturists used was bought from many distribution channels, counts as 49.37%. The distribution channel that agriculturist’s preferred was rice research center because the quality of rice seed which counted as 38.07%. In marketing promotion: In buying rice seed, there is no discount for agriculturists, counted as 81.25% and there is no transportation service, counted as 54.75%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
30 กันยายน 2553
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว การวิเคราะห์ระบบการตลาดปลาช่อนในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร ปัจจัยในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก