สืบค้นงานวิจัย
บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
รองศาสตราจารย์สุกัญญา มหาธีรานนท์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Technology for Improvement of Production and Quality of Thai Hom Mali Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์สุกัญญา มหาธีรานนท์
คำสำคัญ: ข้าวหอม
คำสำคัญ (EN): Fragrant rice
บทคัดย่อ:  บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย   โครงการวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อการปรับปรุงคุณภาพความหอมของข้าวหอมมะลิไทยโดยอาศัยการบูรณาการเทคโนโลยีจากหลายด้าน เริ่มจากการศึกษาวิจัยเพื่อทราบองค์ความรู้ทางเคมีเกี่ยวกับชีวสังเคราะห์ของสารหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ซึ่งเป็นสารหอมสำคัญในข้าว โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่พัฒนาขึ้น ข้อมูลจากผลที่ได้นำมาเป็นพื้นฐานในการจัดการสภาวะการเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมเฉพาะสำหรับการปลูกข้าวหอมและเน้นการได้ผลผลิตข้าวที่มีความหอมสูง  วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของสารหอมและสารเมทาบอไลท์ที่เกี่ยวข้องที่พัฒนาขึ้นและประยุกต์ใช้ ได้แก่ เทคนิคการวิเคราะห์สารหอมในใบข้าวโดยระบบ automated HS-GC-NPD และเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยระบบ GC-MS และ GCxGC-MS เพื่อศึกษากระบวนการสังเคราะห์และขนถ่ายสารหอม ทำให้สามารถทราบข้อมูลการสร้างสารหอมในใบข้าวระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว เมื่อนำมาประยุกต์กับการวิจัยต่อเนื่องในเรื่องอิทธิพลของปัจจัยในการเพาะปลูกที่เน้นผลของธาตุอาหารชนิดที่ส่งเสริมการสร้างสารหอม 2AP จะให้ผลวิจัยที่นำไปสู่ผลผลิตข้าวหอมที่มีคุณภาพความหอมสูงเด่นได้ นอกจากนี้ได้ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพสูงจากข้าวพันธุ์กลายจากการอาบรังสีที่ไม่ไวแสงจำนวน 251 สายพันธุ์จากพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 เพื่อการพัฒนาต่อยอดเป็นพันธุ์ข้าวหอมใหม่ โดยใช้ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารหอม 2AP รวมถึงปริมาณสารออกฤทธิ์กลุ่มวิตามินอี (tocopherol และ tocotrienol) แกมม่าออริซานอล (g-oryzanol) และสารต้านปฎิกิริยาไกลเคชั่น (anti-glycation agents) ด้วยเทคนิค automated HS-GC-NPD และ HPLC ตามลำดับ พบว่ามีความแปรปรวนของปริมาณสารดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างข้าวที่นำมาทดสอบ โดยปริมาณสารหอม 2AP มีความแปรปรวนในตัวอย่างข้าวอาบรังสีจำนวน 251 สายพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวในฤดูนาปีอยู่ในช่วง 0.60-5.07 ppm และฤดูนาปรังอยู่ในช่วง 0.37-4.66 ppm เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปริมาณสารหอม 2AP ที่ตรวจวัดได้ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในสภาวะเดียวกัน (4.75 ppm) พบสายพันธุ์ข้าวอาบรังสีจำนวน 6 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารหอมในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า และในสายพันธุ์ข้าวที่มีความหอมสูงนี้ มีจำนวน 4 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ด้านสุขภาพกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้นในระดับสูงเด่นด้วย เนื่องจากข้าวพันธุ์กลายจากการอาบรังสีทั้งหมดที่นำมาศึกษานี้มีลักษณะไม่ไวแสง จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์ปลูกได้ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-04-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 เมษายน 2556
บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย โครงการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย ยุทธศาสตร์การแข่งขันเพื่อการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปจีน การจัดการเพื่อรักษาคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิในห่วงโซ่การผลิต การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมเพื่อผลผลิตสูงและไม่ไวต่อช่วงแสง การตรวจสอบการปนของข้าวอมิโลสสูงในข้าวหอมมะลิไทย การสำรวจความแปรปรวนของคุณภาพข้าวหอมมะลิ พัฒนาการผลิตและแปรรูปข้าวหอมมะลิของจังหวัดแพร่ตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าวหอมนิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก