สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดพริกสด กรณีศึกษาตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ประเสริฐ ถ่ายสูงเนิน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดพริกสด กรณีศึกษาตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประเสริฐ ถ่ายสูงเนิน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดพริกสด(กรณีศึกษา ตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาดพริก ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ผลิตพริกสด ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกพริก จำนวน 284 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 167 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.80 ของประชากร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น(Probability Sampling) แบบหลายขั้นตอน(Muti-stage Random Sampling)ใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WIN 8 (Statistical Package for Social Sciences for Windows Version 8) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test,F-test ผลการศึกษามีดังนี้ เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.9 อายุเฉลี่ย 46.1 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษามีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน และแรงงานเฉลี่ย 3 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 18.1 ไร่ มีรายได้ทั้งในและนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 83,327.40 บาทต่อครอบครัวต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ธกส.และสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์การปลูกพริกเฉลี่ย 11.4 ปี ส่วนใหญ่ใช้พันธุ์พื้นเมือง โดยเพาะกล้าเอง อายุกล้าเฉลี่ย 36 วัน ระยะปลูกระหว่างต้น 30-45 เซนติเมตรระหว่าแถว 100 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเคมีอัตราเฉลี่ย 249.7 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยวครั้งแรกเฉลี่ย 81 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,413 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 12,289.10 บาทต่อไร่ ปัญหาอุปสรรคมากตามลำดับดังนี้ตลาดรับซื้อไม่แน่นอน ราคาจำหน่ายผลผลิตต่ำ ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ขาดแหล่งพันธุ์ดี ต้นทุนการผลิตพริกสูง โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด ผลผลิตคุณภาพต่ำ ขาดความรู้ในการเพาะกล้าพริก มีความต้องการมากตามลำดับดังนี้ ตลาดจำหน่ายพริกที่แน่นอน แหล่งพันธุ์พริกคุณภาพดี ความรู้ในการเพาะกล้าพริก การติดตามแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ความรู้ในการปลูกพริก ปัจจัยการผลิตราคาถูก แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การศึกษาดูงานการปลูกพริกนอกจากนี้พบว่าเกษตรกรที่มีพื้นฐานแตกต่างกันด้านรายได้นอกภาคการเกษตรและรายได้รวมมีความต้องการการพัฒนาการผลิตและการตลาดพริกสดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนวิชาการด้านการผลิตและการตลาดพริกการรวมกลุ่มจัดหาแหล่งปัจจัยการผลิต แหล่งเงินทุนและแหล่งพันธุ์พริก จัดให้มีการศึกษาดูงานของเกษตรกรการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดพริกปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกพริกของเกษตรกร วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตพริกและแนวทางการลดต้นทุนการผลิตพริก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดพริกสด กรณีศึกษาตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริก : กรณีศึกษาอำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก