สืบค้นงานวิจัย
การประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของหม่อนเพื่อการจำแนกพันธุ์
กานดา ฉัตรไชยศิริ1, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต3, สมชาย ลือมั่นคง2, สรัตนา เสนาะ3, สมภพ จงรวยทรัพย์1, และสุธิรา ผลเจริญ1 - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของหม่อนเพื่อการจำแนกพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Phenotype Evaluation of Mulberry Plant for Identification
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยา (phenotype) ของหม่อนพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำ พันธุ์ต่างประเทศและพันธุ์ดีเด่น จำนวน 50 พันธุ์ ซึ่งเก็บรวบรวมไว้ ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2551 เพื่อประเมินลักษณะประจำพันธุ์ของหม่อนแต่ละพันธุ์และมีการจำแนกที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาลักษณะสัณฐานภายนอกของหม่อนรวม 27 ลักษณะ เมื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลความใกล้ชิดทางพันธุกรรมโดยการจัดกลุ่มแบบ UPGMA พบว่าสามารถจัดกลุ่มหม่อนได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่ม A ประกอบด้วยหม่อน 15 พันธุ์ ได้แก่ หม่อนพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 1 พันธุ์ คือ คุณไพ หม่อนพันธุ์ต่างประเทศ จำนวน 9 พันธุ์ คือ ทองกิ้น S18 S30 S36 S54 หลุนเจียว 44 ไคเรียวอิชิโนเซ่ มัลติคาบูเร่ และ K2 หม่อนพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำ จำนวน 5 พันธุ์ คือ เชียงใหม่ บุรีรัมย์ 51 บุรีรัมย์60 ศรีสะเกษ 33 และนครราชสีมา 60 โดยหม่อนในกลุ่มนี้มีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.755 - 0.887 สำหรับกลุ่ม B มีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.795 - 0.930 ประกอบด้วยหม่อนพันธุ์พื้นเมือง 13 พันธุ์ ได้แก่ หม่อนพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 12 พันธุ์ คือ มี่ สร้อย เครือ สีดา โพธิ์ แม่ลูกอ่อน ไผ่อุบล ขี้ไก่ จาก ไผ่ ส้ม และส้มใหญ่ หม่อนพันธุ์ต่างประเทศ คือ S11 โดยหม่อนพันธุ์เครือและสีดา มีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนใกล้เคียงกันมากที่สุดมีค่า 0.930 ส่วนกลุ่ม C ประกอบไปด้วยหม่อน 22 พันธุ์ ได้แก่ หม่อนพันธุ์พื้นเมือง จำนวน 16 พันธุ์ คือ ตาดำ ใบโพธิ์ แก้วสะตึก ตาแดง คำ ใหญ่บุรีรัมย์ แก้วชนบท น้อย ใหญ่ศรีสะเกษ เชียงคำ หยวก ใบมน ปล้อง หางปลาหลด แก้ว และแก้วกระสัง หม่อนพันธุ์ต่างประเทศ จำนวน 5 พันธุ์ คือ โคเซ็น มอเร็ตติ มอเร็ตติอาโน S41 และลุน 40 หม่อนพันธุ์ดีเด่น คือ S1โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.795 - 0.915
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2551-7.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของหม่อนเพื่อการจำแนกพันธุ์
กรมหม่อนไหม
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของมะแว้งต้น การประเมินและคัดเลือกหม่อนลูกผสมชั่วที่หนึ่งเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ เครื่องตรวจวัดและประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นข้าว การประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง การจำแนกพันธุ์ข้าวก่ำ (Oryza sativa L.) พื้นบ้าน ด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะเนื้อสัมผัส และฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ การสร้างหม่อน Tetraploid จากหม่อนที่มีความต้านทานโรครากเน่า การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา การเปรียบเทียบพันธุ์หม่อน การสร้างหม่อนผลสดพันธุ์ใหม่จากหม่อนพันธุ์จีน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก