สืบค้นงานวิจัย
ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมในประเทศไทย
วรางคณา กิจพิพิธ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic parameters for fertility traits of dairy cows in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรางคณา กิจพิพิธ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Warangkana Kitpipit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าอัตราพันธุกรรมและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่โคนมที่เลี้ยงในประเทศไทย ข้อมูลจำนวนวันตั้งแต่คลอดจนถึงผสมครั้งแรก (days from calving to first service, DTFS) วันท้องว่าง (days open; DO) ช่วงห่างการให้ลูก (calving interval; CI) และจำนวนครั้งที่ผสม จนตั้งท้อง (number of service per conception; NOS) ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บโดยเจ้าหน้าที่ผสมเทียม สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง 2554 จากแม่โคนมจำนวน 4,527 ตัวที่ให้นมครั้งที่ 1 และ 2 วิธี Restricted Maximum Likelihood (REML) ถูกนำมาใช้เพื่อประมาณหาค่าองค์ประกอบความ แปรปรวนอัตราพันธุกรรมและค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราพันธุกรรม ของลักษณะจำนวนวันตั้งแต่คลอดจนถึงผสมครั้งแรก วันท้องว่าง ช่วงห่างการให้ลูก และจำนวนครั้งที่ผสมจนตั้งท้อง มีค่า เท่ากับ 0.02, 0.07, 0.07 และ 0.12 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ทุกลักษณะมีค่าเป็นบวก (0.29 ถึง 0.99) ยกเว้นลักษณะจำนวนวันตั้งแต่คลอดจนถึงผสมครั้งแรก กับจำนวนครั้งที่ผสมจนตั้งท้องมีค่าเป็นลบ (-0.02)
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigate the heritability and correlation between fertility traits in dairy cows raised in Thailand. Data of days from calving to first service (DTFS), days open (DO), calving interval (CI) and number of service per conception (NOS) were used in the study. Data were collected by the artificial insemination technician from the bureau of Biotechnology in Livestock Production, Department of Livestock Development (DLD) during 1996 to 2011. Total 4,527 first and second lactation cows were used to analyze. In this experiment. The Restricted Maximum Likelihood (REML) algorithm was used to estimate variance component of heritability and genetic correlation among studied traits. The result found that the heritabilities of DFTS, DO, CI and NOS were 0.02, 0.07, 0.07 and 0.12 respectively. The genetic correlations among reproductive traits were found to be medium to high estimates (0.29-0.99). Although, those correlations were small and negative of DTFS and NOS (-0.02).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P38 Ani27.pdf&id=3079&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมในประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลสำเร็จของการย้ายฝากตัวอ่อนโคนมพันธุ์แท้ในประเทศไทย ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพและสถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมในฟาร์มสุกรและโคนมทั่วประเทศไทย ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวเหนียวในเขตภาค-เหนือของประเทศไทย พันธุกรรมกับอาหารโคนม ค่าอัตราพันธุกรรมและค่าการผสมพันธุ์สำหรับการให้ผลผลิตน้ำนมของกระบือนมที่เลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมของประเทศไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมและโครงสร้างประชากรของเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบในประเทศไทยด้วยเทคนิค SRAP ความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมลงวันผลไม้ Bactrocera latifrons ในภาคกลางของประเทศไทย พันธุกรรมเชิงโมเลกุล ความหลากหลายทางชีวภาพ และนิเวศวิทยาของไลเคนในประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก