สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกอินทรีย์
ธีระพัศธ์ ศิลปสมบูรณ์, ธนะชัย พันธ์เกษมสุข, วรัญญู แก้วดวงตา, พัชราภรณ์ สุทนต์, สุรินทร์ ดีสีปาน, ศุภนาลี ณ มา - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): DEVELOPMENT OF ORGANIC SEED PRODUCTION TECHNOLOGY
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกอินทรีย์ ได้ดำเนินการใน 4 กิจกรรม ได้แก่การศึกษาผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเมล็ดพริก ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือวัสดุปลูกสูตร A (ใช้ดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1) และวัสดุปลูกสูตร B (ขุยมะพร้าว:ทราย:ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1:1) การศึกษาผลของระบบปลูกต่อการเจริญเติบโต การควบคุมศัตรูพืช และคุณภาพเมล็ดพันธุ์พริก ประกอบด้วย 3 กรรมวิธีคือ ปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่าย โรงเรือนตาข่ายมุงหลังคาพลาสติก และปลูกในสภาพเปิด การศึกษาผลของสารสกัดพืชและไตรโคเดอมาต่อการควบคุมโรคพริก และการศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดด้วยไคโตซานและสารสกัดพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ผลการศึกษา พบว่า การปลูกพริกในวัสดุปลูกสูตร A ให้ผลส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มน้ำหนักผลผลิตดีที่สุด การปลูกในสภาพโรงเรือนมุ้งตาข่ายให้ผลดีที่สุดในการส่งเสริมการเจริญเติบโต การควบคุมโรคและแมลง ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การใช้สารสกัดขมิ้น (0.5%) ร่วมกับไตรโคเดอมาให้ผลดีที่สุดในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อ Fusarium spp. และ Sclerotium spp. เท่ากับ 36.7 และ 21.10 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการใช้ไคโตซาน(0.8%) ร่วมกับสารสกัดขมิ้น(0.5%) เคลือบเมล็ดพันธุ์ มีผลช่วยเพิ่มคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้านเปอร์เซ็นต์การแทงรากโผล่พ้นเมล็ด และความเร็วในการงอกของเมล็ดระหว่างการเก็บรักษาได้ดีที่สุด คำสำคัญ: วัสดุปลูก สารสกัดพืช การเคลือบเมล็ด
บทคัดย่อ (EN): The development of organic seed production in chili was studied on the effect of growing media, chili culture under net-house condition, pest control by plant extracts, and the effect of seed coating, on growth, the inhibition of pest damage and seed quality of chili. The results showed that the using of soil-organic fertilizer (1:1) as growing media gave the best result on growth and fresh weight of yield. Chili culture under net-house condition could be increased plant growth, yield, percentage of pest damage inhibition, and seed quality with the best result when compared with the plastic net-house and open field conditions. The application of turmeric rhizome extract (0.5%) plus Trichoderma spp. was able to control the occurrence of Fusarium spp. and Sclertium spp. diseases under field condition with 36.7 and 21.1 percent, respectively. In addition, the using of chitosan (0.8%) plus turmeric rhizome extract (0.5%) could be increased the percentage of radicle emergence and seed germination with the best result when compared with non- seed coating method. Key word: growing media, plant extract, seed coating
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พริกอินทรีย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 กันยายน 2557
เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ใหม่ Kwsx 107 และ Kwsx 91 เพื่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูงเพื่อการค้า การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริก การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (ส่วนไบโอเทค) เทคโนโลยีบางประการที่มีผลต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ แตงกวา และฟักทอง ที่เหมาะสม การพัฒนาเทคนิคการผลิตเมล็ดสังเคราะห์พริกหวาน โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพริก ความเป็นไปได้ในการผลิตงาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ชั่วรุ่นที่ 2 และ 3 ที่เก็บต่อจากเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก