สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์
อรทัย สมใส - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรทัย สมใส
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษารูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านโคกตะเคียน ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการของหน่วยงานภาคีในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธี การสังเกต การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การจัดเวทีเรียนรู้และการศึกษาจากเอกสาร และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลในการสรุปผลการวิจัย ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จาก รายงานการประชุม ระเบียบข้อตกลงกลุ่ม รายงานการเงินประจำปี การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ข้อมูลพื้นฐานตำบล ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การประชุม การจัดเวทีเรียนรู้ การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจในเหตุและผล การเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบูรณาการของหน่วยงานภาคีในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน สู่แหล่งเรียนรู้ หน่วยงานภาคีให้การส่งเสริมสนับสนุน ดังนี้ 1.1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1.2) ด้านวิชาการและเทคโนโลยี 1.3) ด้านวัสดุและอุปกรณ์ 1.4) ด้านแหล่งทุน 1.5) ด้านการตลาด โดยแต่ละหน่วยงานที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา จะปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจของหน่วยงานเป็นหลัก และเข้าถึงกลุ่มโดยตรง การประสานงานระหว่างหน่วยงานยังมีน้อย 2) กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ จากจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ชีวิตและความเป็นอยู่ที่ผูกพัน กับการทำนา แต่การสีข้าวและจำหน่ายข้าวเปลือก ต้องไปสีและจำหน่ายนอกชุมชน นอกจากเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งข้าวไปจำหน่ายแล้ว ยังถูกเจ้าของโรงสีใช้กลโกงเอาเปรียบ และชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อจำหน่ายข้าวเปลือกจนหมดก่อนถึงฤดูการเก็บเกี่ยว ต้องซื้อข้าวสารเพื่อบริโภค เพื่อช่วยเหลือกันกลุ่มจึงร่วมกันประกอบกิจการโรงสีข้าวชุมชนขึ้น และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 รหัสทะเบียน 4-32-05-15/1-0001 ได้ดำเนินกิจกรรมโรงสีข้าวชุมชน และเพิ่มกิจกรรมตามความต้องการของสมาชิก เช่น ปุ๋ยหมักชีวภาพ ร้านค้าสวัสดิการชุมชน การเลี้ยงสัตว์ปีก การเลี้ยงโค การบริการรถเกี่ยวนวด และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ 3.1) ด้านการบริหารจัดการ คณะกรรมการบริหารสูงอายุและตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบมาก การแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารของกลุ่มน้อย ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อปริมาณสูงและต่อเนื่อง สมาชิกต้องการเพิ่มการส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 3.2) ด้านการผลิต กำลังการผลิตโรงสีเพียงพอเฉพาะการบริการในชุมชน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ไม่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก 3.3) ด้านการเป็นวิทยากร การเป็นแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านโคกตะเคียน สมาชิกกลุ่มเกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกร ดังนั้นเพิ่มศักยภาพในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจ สมาชิกยังคงต้องทำการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้จังหวัดสุรินทร์
อรทัย สมใส
กรมส่งเสริมการเกษตร
2553
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ แนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองยางไคล ตำบลทาทุ่งหลวง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเอง ปี 2550 วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนศิลา ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สีเขียวของวิสาหกิจชุมชนสู่ตลาดสากล ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนสง่า อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารบ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก